-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Promoting Administration according to the Strategies of The Department of Industrial Promotion
- ผู้วิจัยนางสาวศิริ รุ่งภัทรเศวต
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา07/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50176
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 39
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและ 3. นำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.958 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวน 283 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. การส่งเสริมการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอดโซ่อุปทาน ได้แก่ ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาปัจจัยการผลิตให้มีคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพ SMEs วิสาหกิจชุมชน สร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางการค้าร่วมกัน 2) ด้านการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการประกอบการ ได้แก่ พัฒนากระบวนงานในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้เหมาะสม สนับสนุนสร้างโอกาสและลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ 3) ด้านการพัฒนาสมรรถนะองค์การให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน สนับสนุนให้องค์กรและบุคลากรพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา สนับสนุนให้บุคลากรได้เข้ารับการอบรมสร้างทักษะ ปรับรูปแบบการบริการให้ทันยุคทันสมัย
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบว่า
1) กระบวนการบริหารงานตามหลัก PDCA ส่งผลต่อการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มี 3 ด้าน คือ 1) ด้านวางแผน 2) ด้านปฏิบัติตามแผน และ3) ด้านตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า ตัวแปรทั้ง 3 ด้านสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนหรือทำนายการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ร้อยละ 69.00 ตามลำดับ 2) หลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มี 1 ด้าน คือ ด้านฉันทะ (ความพึงพอใจในงาน) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า ตัวแปร 1 ด้านสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนหรือทำนายการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ร้อยละ 26.60
3. การส่งเสริมการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอดโซ่อุปทาน 2. ด้านการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการประกอบการ 3. ด้านการพัฒนาสมรรถนะองค์การให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง โดยในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีปัจจัยที่ส่งเสริม คือ กระบวนการบริหารงานตามหลัก PDCA นอกจากนั้นยังบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 มีลักษณะดังนี้ 1) ด้านฉันทะ ความพึงพอใจในงาน ได้แก่ สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และรักที่จะแลกเปลี่ยนเพื่อการพัฒนางาน สร้างแรงบันดาลใจในการทำงานแก่บุคลากร สร้างแรงจูงใจให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นบุคคลที่สำคัญต่อการทำงาน 2) ด้านวิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ได้แก่ ให้กำลังใจแก่บุคลากรที่มีความทุ่มเทในการทำงาน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคลากรในการทำงาน มอบค่าตอบที่แก่บุคลากรที่มีความขยันในการทำงาน 3) ด้านจิตตะ เอาใจใส่ในงาน ได้แก่ สนับสนุนให้บุคลากรเอาใจใส่งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ สนับสนุนให้บุคลากรคิดทบทวนแนวทางการทำงาน สนับสนุนให้บุคลากรเอาใจใส่ต่องานอย่างรอบคอบ 4) ด้านวิมังสา ใช้ปัญญา ได้แก่ มีการสร้างบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนให้บุคลากรมีหลักการใช้ปัญญาหาเหตุผลในการทำงาน สนับสนุนให้บุคลากรสรุปบทเรียนจากสิ่งที่ทำหรือให้บริการ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this dissertation were: 1. To study the strategic management of the Department of Industrial Promotion. 2. To study factors affecting the administration according to the strategy of the Department of Industrial Promotion; and 3. To propose an integrated Buddhist model to promote the administration according to the strategy of the Department of Industrial Promotion.
Methodology was mixed. The quantitative research used a questionnaire with a total reliability value of 0.958 to collect data from 283 samples who were personnel of the Department of Industrial Promotion and analyze it using frequency, percentage, average, standard deviation, and stepwise regression analysis. In the qualitative research, data were collected by face-to-face in-depth interviews with 18 key informants and analyzed by content descriptive interpretation. Data were also collected from 9 participants in focus group discussions to confirm knowledge after data synthesis.
Findings were as follows:
1 Administration, according to the strategy of the Department of Industrial Promotion, was overall at a high level. Each aspect consisted of 1) capacity increasing of target industries throughout the supply chain, namely, promotion, support, and development of quality production factors; SMEs efficiency increase; community enterprises; and cooperative and collaborative business networks creation; and 2) Development of supporting factors conducive to entrepreneurship, including: developing the appropriate procedures for personnel operations; supporting opportunities; and reducing obstacles in business operations. 3) Organizational competency development to respond to changes, such as infrastructure and operational environment development; supporting the organization and personnel to continuously develop themselves at all times; encouraging personnel to attend training for skills enhancement; adapting service models to keep up with the modern era.
2. Factors affecting the administration according to the strategy of the Department of Industrial Promotion were found to be: 1) the implementation of PDCA principles affected the administration according to the strategy of the Department of Industrial Promotion in 3 areas with a statistically significant level of 0.01, indicating that all three variables could jointly explain variability or predict the administration according to the strategy of the Department of Industrial Promotion by 69.00 percent, respectively. 2) The Itthipada 4 principle affected the administration according to the strategy of the Department of Industrial Promotion. There was 1 area that had a statistically significant value at the 0.01 level. Indicating that one aspect of the variable could jointly explain variance or predict the administration according to the strategy of the Department of Industrial Promotion by 26.60 percent.
3. Administration according to the strategy of the Department of Industrial Promotion in 3 aspects, which are as follows: 1) capacity building of targeted industries throughout the supply chain; 2) development of supporting factors conducive to entrepreneurship; and 3) development of organizational competencies to respond to changes. The administration according to the strategy of the Department of Industrial Promotion had supporting factors that were the administration according to the principle. PDCA and also integrated Iddhip da as follows: 1) Chanda: Job satisfaction includes encouraging learning and love in exchange for job development. To inspire and motivate personnel to work and feel like they are important to their work. 2) Viriya: Persistence, and diligence: Encouraging personnel to be dedicated to their work and setting a good example for them in their work. Providing rewards to hardworking personnel 3) Chitta: Paying attention to work; encouraging personnel to pay attention to the tasks assigned to them; encouraging personnel to rethink work guidelines; encouraging personnel to pay attention to work carefully. V ma s : Use wisdom: creating an atmosphere for creativity and encouraging personnel to use wisdom to find reasons for work, encouraging personnel to summarize lessons learned from what they did or served.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|