-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์หลักพุทธจิตวิทยาในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเรือนจำ ชั่วคราวดอยฮาง ในจังหวัดเชียงราย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of Buddhist Psychology for Behavior Development of Inmates at Doi Hang Interim Prison in Chiang Rai
- ผู้วิจัยนายโฆษิต ไฝเครือ
- ที่ปรึกษา 1ดร.เสพบัณฑิต โหน่งบัณฑิต
- ที่ปรึกษา 2พระครูศรีรัตนากร, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา11/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50177
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 44
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวดอยฮาง ในจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจิตวิทยากับการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวดอยฮาง ในจังหวัดเชียงราย 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธจิตวิทยาในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวดอยฮาง ในจังหวัดเชียงราย ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญเพื่องานวิจัยครั้งนี้จำนวน 25 คน แยกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ พระสงค์ ผู้บริหาร ผู้ต้องขัง และเจ้าหน้าที่เรือนจำ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Document) และจากการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า หลักพุทธจิตวิทยาที่นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวดอยฮาง จังหวัดเชียงราย ในทางพระพุทธศาสนามีหลักพุทธจิตวิทยาที่นำมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์หลายหลักสามารถเลือกใช้เหมาะสมแก่บุคคล เวลาและสถานการณ์ สำหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ หิริ-โอตตัปปะ ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป และไตรสิกขา หลักธรรมสำหรับการฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาชีวิตคนให้ดีงาม ให้เจริญงอกงาม เป็นหนทางนําไปสู่อิสรภาพทางจิต และก่อให้เกิดสันติสุขอย่างแท้จริง หิริ-โอตตัปปะนี้ สามารถนำมาพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังในเรือนจำชั่วคราวดอยฮาง จังหวัดเชียงรายได้ หากผู้ต้องขังมี “หิริ” จะทำให้ผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวดอยฮาง จังหวัดเชียงราย มีความละอายแก้ใจ ไม่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำความผิดหรือทำชั่วทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น เพราะมีความละอายใจต่อบาปที่จะเกิดขึ้นจนสามารถชะนะใจตัวเอง หยุดความชั่วที่คิดจะกระทำได้ “โอตตัปปะ” จะทำให้ผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวดอยฮาง จังหวัดเชียงราย ทำให้เรารู้จักเกรงกลัวต่อบาป กลัวโทษที่จะเกิดขึ้นจากการทำผิดหรือทำชั่ว ไม่ว่าจะเป็นโทษที่เกิดขึ้นจากทางกฎหมาย และโทษที่เกิดขึ้นจากผลแห่งกรรม ผู้ต้องขังที่มีศีล สมาธิ และปัญญา แล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ จะทำให้อยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study were : 1) to study the behavior of the inmates of Doi Hang Interim prison, 2) to study the principles of Buddhist psychology and behavior development of inmates at Doi Hang Temporary Prison in Chiang Rai Province and 3) to analyze the principles of Buddhist psychology in the development of behavior of the inmates of the Doi Hang Temporary Prison in Chiang Rai. The target group of key informants for this research was 25 peoples, divided into 4 groups : monks, administrators, inmates and prison staff. It is qualitative research. Data collection tools were gathering information from documents and from interviews.
The results showed that the principles of Buddhist psychology applied to behavior development of inmates of Doi Hang Interim Prison Chiang Rai ; in Buddhism, there are many principles of Buddhist psychology that can be used to improve the quality of human life, time and situation for this research study, Hiri-Otappa, Shame and Fear of Sin, and the Tri-Sikkha, (Principles for Practice for Developing Good People's Lives), to flourish the way to spiritual freedom and bring about true peace. This Hiri-Otappa can be used to develop the behavior of inmates in Doi Hang Temporary Prison Chiang Rai Province. If the inmates have “Hiri”. It will make the inmates of Doi Hang Temporary Prison, Chiang Rai to be ashamed to repent, not think evil, speak evil, do wrong or do bad things, small or large, both in front of or behind others because he would so ashamed of his sins that he was able to control himself. Stop the evil that you can think of doing “Otappa” will make the inmates of Doi Hang Temporary Prison Chiang Rai and makes us aware of the fear of sin, punishment for doing wrong or doing evil whether it is a penalty arising from the law or the consequences of Karma, Inmates who have morality, concentration and wisdom will refrain from doing evil, know how to control oneself, being in goodness and not harass oneself and others and behaving, speech and mind will make them live happily with others in society.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|