โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSangahavattu Dhamma Application for Public Service Enhancement of Wangtonglarng District office, Bangkok
  • ผู้วิจัยพระมหาจักรพันธ์ คุณงฺกโร
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ประสิทธิ์ พุทธศาสน์ศรัทธา
  • วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50178
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 129

บทคัดย่อภาษาไทย

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาระดับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้มาใช้บริการของสำนักงานเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ คำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ทำการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X bar= 4.27 S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปิยวาจา (วาจาอ่อนหวาน) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.29 S.D. = 0.68) รองลงมา ด้านสมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) มีค่าเฉลี่ย ( X bar= 4.28 S.D. X bar= 0.68) รองลงมา ด้านอัตถจริยา (ประพฤติประโยชน์) มีค่าเฉลี่ย ( X bar= 4.26 S.D. = 0.70) และด้านทาน (การให้) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( X bar= 4.25 S.D. = 0.76)

2. หลักสังคหวัตถุธรรมมีความสัมพันธ์กับการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง กล่าวคือ เมื่อเจ้าหน้าที่ประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเข้ากับการให้บริการประชาชน การให้บริการก็จะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

3. ปัญหาและอุปสรรคต่อการประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร พบว่า 1) ขาดความรวดเร็ว จากระบบขั้นตอนการให้บริการทำให้บางครั้งประชาชนต้องรอนาน 2) การติดต่อใช้บริการไม่เสร็จสิ้นในครั้งเดียว ทำให้ต้องมาติดต่อใช้บริการหลายครั้ง ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ควรมีการแนะนำเกี่ยวกับวิธีการ ขั้นตอนในการรับบริการได้อย่างชัดเจนเพื่อจะได้สะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น 3) ควรนำหลักสังคหวัตถุธรรมมาปรับใช้ในการให้บริการมากยิ่งขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

       Objectives of this Research were: 1. To study the level of public service rendering of Wang Tonglang District, Bangkok Metropolis, 2. To study relationship between Sanghavattu-dhamma and public service rendering of Wang Tonglang District, Bangkok Metropolis, and 3. To study the methods of Sanghahavattu-dhamma application for public service rendering promotion of Wang Tonglang District, Bangkok Metropolis. Methodology was the mixed methods. The qualitative research collected data by in-depth-interviewing 10 key informants, analyzed data by content descriptive interpretation. The quantitative research used questionnaire to collect data from 398 samples using Taro Yamane's formula from the people who used public service of Wang Tonglang District, Bangkok Metropolis Data were analyzed by statistics of frequency, percentage, mean and standard deviation and analyzing the correlations between Sanghavattu-dhamma and public service rendering of Wang Tonglang District, Bangkok Metropolis with Pearson’s Correlation Coefficient

Findings were as follows:

1. Sanghahavattu-dhamma application for public service rendering of Wang Tonglang District, Bangkok Metropolis, the public service rendering, by overall, was at high level (X bar= 4.27 S.D. = 0.64). Each aspect was also found that;Piyavaca, sweet words, had the highest mean, at the heist level (X bar= 4.29 S.D. = ๐0.68). Secondly, Samanattata, appropriate behavior, had the mean at the high level (X bar= 4.28 S.D. = 0.68). Atthacariya, beneficial practice, had the mean at high level (X bar= 4.26 S.D. = 0.70) and Dana, giving, had the lowest mean but still at high level (X bar= 4.25 S.D. = 0.76)

2. Sanghahavattu principle had positive correlation with public service rendering of Wang Tonglang District, Bangkok Metropolis at statistically significant level at 0.01, the modared correlation. That is to say the more the officers apply Sanghahavattu principle, the more public service rendering will be effective.

3. Problems, obstacles of the application of Sanghahavattu-dhamma for public service rendering of Wang Tonglang District, Bangkok Metropolis was found that; 1) lack of agility, because of steps and process, sometimes, people must wait for service very long. 2) contact for service was not finished in one time, people had to come to contact for services many times.

Recommendations: There should be clear advice about procedure, process and step in service rendering for the conveniences for people, 2) there should be more application of Sanghahavattu-dhamma for public service at the higher level.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ