-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) ในประเทศไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAnalysis of the Method of Practising Vipassana Mediation of Phra Sopana Mahathera (Mahasi Sayadaw) in Thailand
- ผู้วิจัยนางสาวปรียานุช ปานประดับ
- ที่ปรึกษา 1พระครูกิตติพัฒนานุยุต, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูศรีรัตนากร, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา09/07/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50179
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 189
บทคัดย่อภาษาไทย
วิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือ (1)เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) ในประเทศไทย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) และวิเคราะห์เอกสาร (Document) มีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 20 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
การเจริญวิปัสสนาตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร คือ กระบวนการพัฒนาปัญญาชั้นสูง เพื่อใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาความเป็นจริงของกาย เวทนา จิตและสภาวธรรมที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะปัจจุบันโดยความเป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า เป็นทางสายเอกที่นำไปสู่การบรรลุถึงอริยมรรค - ผล ซึ่งประกอบด้วย 4 ฐาน ได้แก่ (1) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (2) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (3) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ (4) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การสอนและการปฏิบัติในสำนักกรรมฐานของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) แนวการเจริญวิปัสสนาภาวนาด้วยการกำหนดรู้แบบพองยุบ เป็นการกำหนดพิจารณาจิตที่เกิดขึ้น และต้องมีสติกำหนดรู้ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของกระแสจิตดูการทำงานของจิตทางทวารทั้ง 6 และกลับมาอยู่ที่อาการของท้องพอง ท้องยุบตามเดิม การปฏิบัติวิปัสสนา โดยใช้คำบริกรรมว่า “พองแด เปงแด” ซึ่งมีความหมายเดียวกับที่ภาษาไทยใช้ “พองหนอ ยุบหนอ” เป็นคำภาวนา โดยพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) เมื่อพิจารณาการปฏิบัติในหมวดอื่นๆ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานมีความสอดคล้องกับมหาสติปัฏฐานสูตรทุกประการ คือ อิริยาบถหลัก ได้แก่ การยืน การเดินการนั่ง การนอน ในหมวดอิริยาบถบรรพ มีปรากฏในหมวดสัมปชัญญะปัพพะ กล่าวในอิริยาบถนั่งได้สอนให้พิจารณาในส่วนของร่างกายที่เคลื่อนไหวของท้องที่เคลื่อนไหวของวาโยโผฏฐัพพะรูป เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับพระไตรปิฎก เพราะถือได้ว่าเป็นการกำหนดรู้ในธาตุกรรมฐาน และยังเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักปฏิบัติธรรมในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This qualitative research of an analytical study of guidelines for practice of Vipassana Meditation by Phra Sophon mahathera (Maha Si Sayadaw). The study employs in-depth interviews and document analysis to achieve the following objectives: (1) to examine the practice of Vipassana Meditation in Thailand and (2) to scrutinize and analyze the Vipassana Meditation practice of Phra Sophon Maha Thera (Maha Si Sayadaw) in Thailand. The research findings reveal that
the guidelines for practicing Vipassana Meditation in Thailand emphasize the cultivation of heightened awareness, enabling practitioners to employ mindfulness to observe the actuality of the body, sensations, mind, and objective states. This process serves as the principal pathway to attaining the Noble Eightfold Path, comprising the four foundations of mindfulness: (1) Kāyānupassanā Satipaññhāna, (2) Vedanānupassanā Satipaññhāna,(3) Cittānupassanā Satipaññhāna, and (4) Dhammānupassanā Satipaññhāna.
The meditation teachings and practices of Phra Sophon Maha Thera (Maha Si Sayadaw) emphasize the development of Vipassana meditation through the establishment of rising and falling awareness. It involves a dedicated contemplation of arising thoughts and maintaining mindfulness, observing the fluctuations of mindfulness, and employing the observation of the six sense to the body while reverting to the sensation of the abdomen rising and falling. The meditation practice is underscored by the usage of the phrase "Phongtae Pentae." Phra Sophon Maha Thera (Maha Si Sayadw) emphasizes the practice of the four foundations of mindfulness, which are intricately aligned with the Maha Satipaññhāna Sutta. The guidance provided various postures of body that appear in clear comprehension section (sampaja¤¤pabhbha), with a focus on the seated posture. It instructs practitioners to observe the bodily movements, particularly the subtle movements of the abdominal region (vayophoññhaphpharåpa). This approach is considered a framework for establishing insight into the meditative elements and serves as a widely acknowledged practice guideline for Meditation center in Thailand.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|