โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการเสริมสร้างความสุขตามหลักจิตวิทยาแนวพุทธของผู้สูงอายุ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-๑๙
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Enhancing the Happiness according to Buddhist Psychology of the Elderly during the Covid-19 Situation
  • ผู้วิจัยนางสาวศุภรกาญจน์ ธนิกกุล
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ประสิทธิ์ แก้วศรี
  • วันสำเร็จการศึกษา07/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาชีวิตและความตาย
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50184
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 65

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัย เรื่องแนวทางการเสริมสร้างความสุขตามหลักจิตวิทยาแนวพุทธของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะและองค์ประกอบความสุขของผู้สูงอายุในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 2) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักจิตวิทยาแนวพุทธเพื่อเสริมสร้างความสุขของผู้สูงอายุในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-๑๙ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) แบบเจาะจง โดยสรุปผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย พระสงฆ์จำนวน 6 รูป จิตแพทย์และนักจิตวิทยา จำนวน 5 คน และตัวแทนผู้สูงอายุจำนวน 5 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic Induction)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะและองค์ประกอบความสุขของผู้สูงอายุในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ความสุขของผู้สูงอายุในวิกฤตโควิด-19
นั้นมีลักษณะสำคัญ คือ ความรู้สึกสบายคลายกังวล และมีบรรยากาศที่ดีของครอบครัวและเพื่อน ห่างไกลโรคภัย มีโอกาสได้สั่งสมบุญกุศลตามความเชื่อ จำแนกเป็น 4 ลักษณะ คือ 1) สุขกาย ได้แก่ การมีสภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย การมีปัจจัย 4 เพียงพอ ร่างกายแข็งแรง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลง และมีความมั่นคงปลอดภัยห่างไกลจากเชื้อโรค 2) สุขใจ ได้แก่ มีสภาวะที่สมบูรณ์ทางด้าน จิตใจ มีความสุขและสงบยอมรับการเปลี่ยนแปลง สุขภาพจิตดี อารมณ์มั่นคง 3) สุขสัมพันธภาพ ได้แก่ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ 4) สุขสั่งสมบุญ ได้แก่ การได้เติมเต็มชีวิตให้มีความงอกงามทางจิตวิญญาณ 2) แนวทางการประยุกต์ใช้หลักจิตวิทยาแนวพุทธเพื่อเสริมสร้างความสุขของผู้สูงอายุในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยใช้หลักภาวนา 4

เป็นแนวทางสามารถสร้างความสุขแบบองค์รวม 4 แนวทาง ได้แก่ 1) ใส่ใจสุขภาพ 2) ดูแลใจให้เข้มแข็ง 3) รักษาความสัมพันธ์ 4) หมั่นสั่งสมบุญกุศล

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Research on the guidelines for creating happiness for the elderly during
the COVID-19 according to Buddhist psychology it is aimed to 1study the characteristics and components of happiness of the elderly during the COVID-19 crisis, 2study
the guidelines to apply Buddhist Psychology to create happiness in the elderly during the crisis of COVID-19The research used qualitative research using in-depth interviewsThe research selected the key informants specificallyIn summary, the key informants consist of six monks, one psychiatrist, four psychologists, and five representatives of the elderlyThe qualitative data analysis used content analysis and analytic induction.

The results showed that 1The characteristics and components of happiness of the elderly during the crisis of COVID-19, the researcher who analyzed the data from the interviews found that the happiness of the elderly during the crisis of COVID-19 characterized by a feeling of comfort and anxiety and having good atmosphere surrounding by family and friends, far from disease and having an opportunity to gain merit upon their belief which can be categorized into four characteristics which are
1Physical good health means having a state of complete physical health, having
a sufficiency of four basic needs, physically strong health, have a simple lifestyle and be able to adapt to the environment and changes, stability, safety, and far away from disease2Happiness means having a complete state of mind in peace and happiness, accepting all changes, having good mental health, and being emotionally stable.
3Relationship Happiness is to live with others happily 4Happy with a way of accumulating merit, which means fulfilling life with spiritual growthFor clause number 2 of the study, the guidelines to apply Buddhist Psychology to create happiness in the elderly during the crisis of COVID-19 needs to apply by using the four meditation principles as
a guideline; this can create four holistic happiness, namely1care for your health
2take reasonable care to your heart to be strong 3maintain the relationship 4keep gaining merit.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ