โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Strategies of Buddhism ‘s Propagation through Radio Stations of Monks in Roi-Et Province
  • ผู้วิจัยนายสนั่น ประเสริฐ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระยุทธนา อธิจิตฺโต, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา15/05/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50187
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 23

บทคัดย่อภาษาไทย

                 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุของพระสงฆ์ (2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด  และ (3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มประชากร 55 รูปคน เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอแบบพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

              ด้านการบริหารจัดการ และรูปแบบรายการสำหรับสถานี ผู้ฟังได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและได้แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการ โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่น มีอิสระในการเผยแผ่บนฐานความถูกต้องดีงาม ในส่วนของการเผยแผ่ ผู้ฟังเข้าถึงกิจกรรมและการเผยแผ่ออนไลน์ มีส่วนร่วมในกิจกรรม สถานีวิทยุมีการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลายและมีความเป็นท้องถิ่น ในส่วนของการพัฒนาคู่มือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุ คู่มือมีความเหมาะสมด้านเนื้อหาสำหรับเผยแผ่ และนักจัดรายการมีวิธีการเผยแผ่ที่เหมาะสม

              สภาพปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด มี 2 อย่าง คือ ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสารสนเทศ และความสนใจของผู้ฟัง คือเทคโนโลยีและสารสนเทศในปัจจุบันมีความทันสมัยและหลากหลาย เช่น เฟสบุ๊คส์ ไลน์ ติ๊ก ตอก เป็นต้น สื่อเหล่านี้สามารถเข้าถึงง่าย มีความหลากหลายและทันสมัย คนปัจจุบันนิยมใช้สื่อเหล่านี้ เป็นเหตุให้สื่อวิทยุไม่ได้รับความนิยมจนถึงแทบไม่มีผู้ฟังในกลุ่มของวัยรุ่นหรือคนหนุ่มสาว กลุ่มผู้ฟังโดยมากเป็นผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งความสนใจของผู้ฟังเกิดจากความสามารถ เทคนิค/วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของนักจัดรายการ/นักเผยแผ่

      กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสถานีวิทยุของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด มี 3 อย่าง ได้แก่ 1) การพัฒนาทักษะการใช้สื่อสมัยใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ปัจจุบันคนนิยมใช้สื่อสมัยใหม่ เช่น เฟสบุ๊คส์ ไลน์ ยูทูบ เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีผลกระทบต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุของพระสงฆ์ เพราะสื่อสมัยใหม่เข้าถึงได้ง่ายและมีความหลากหลายกว่าวิทยุ ดังนั้นสถานีวิทยุต้องมีการปรับรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใหม่โดยอาศัยสื่อสมัยใหม่เป็นเครื่องมือเพื่อ เข้าถึงรายการของสถานีวิทยุ เช่น การถ่ายทอดสด เป็นต้น ในส่วนของผู้บริหารสถานีวิทยุควรได้มีการฝึกอบรมการใช้สื่อสมัยใหม่แก่นักจัดรายการ 2) การพัฒนาทักษะการสื่อสารหรือการเผยผ่ของนักจัดรายการ/นักเผยแผ่ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือการสื่อสารหรือการนำเสนอที่น่าสนใจของผู้เผยแผ่ เช่น วาทศิลป์ เทคนิคการเผยแผ่ รูปแบบหนึ่งที่คนฟังอยากฟังวิทยุคือการที่เขาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ดังนั้นนักเผยแผ่จึงต้องหาวิธีให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมด้วย เช่น การตอบปัญหาธรรมะ เป็นต้น 3) การมีส่วนร่วมของผู้ฟัง นอกจากการเผยแผ่ทางสถานีวิทยุแล้วควรได้มีการทำกิจกรรมให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม เช่น ตลาดนัดธรรมะวันอาทิตย์ การจัดตั้งชมรมคนฟังสถานีวิทยุ เป็นต้น กิจกรรมที่ทำร่วมกัน เช่น การเยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นสมาชิกของชมรม การศึกษาดูงานและทำบุญ เป็นต้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research objectives were (1) to study the propagations of Buddhism through radio stations of Buddhist monks (2) to study Buddhism’s propagation through radio stations in Roi-Et province (3) to present the strategies of Buddhism’s propagation through radio stations of Buddhist monks in Roi-Et province. It is quantitative research. There were 55 key informants for this research. The tools for this research were in- depth interview and focus group discussion for answer the aims of this research. The data analyzed using descriptive methods.

The results of the study found that management and program  schedule model for the radio stations about management. The listeners participated in management and gave their opinions i.e.. organizational structure was flexible. It has the freedom to propagate on the basis of goodness in the propagation aspect, the listeners access online activities and outreach. There were participation in activities. The radio program schedules offered a variety of content and it was local too .Development aspect , the handbook for propagation of Buddhism through radio stations manual was suitable. The contents for propagation and DJ methods were suitable.

The problem state of Buddhist propagation through radio stations of Buddhist monks in Roi-Et province, there were two important problems i,e. changing of information technology and the interesting of listeners that nowadays, there were in advance of information technology and various kinds for such as Facebook, Line and Tiktok etc. These media are easily accessible, diverse and modern. People, in the contemporary, like these media. For these reasons, the radio is not getting attention from a young or young audience ,most of the listeners are elderly people. Another factor that makes listeners interested in radio program schedule caused by the ability techniques method of propagating Buddhism of the Jockey/missionary (Dhamma messengers).

The Buddhist propagation strategy. There were three kinds of strategies for propagating Buddhism through radio stations of monks in Roi-Et province i.e. 1) Development of modern media skill for propagation of Buddhism. Nowadays people prefer to use modern media such as Facebook, line and YouTube etc. For these reasons, it has an impact on the propagation of Buddhism through monk’s radio stations. The modern media is more accessible and diverse than radio. Therefore, the radio station managers must adjust the model of propagating Buddhism by using model media as a tool to access the program schedules of radio stations, such as, live broadcasts etc. In addition, station managers should provide training on the use of modern media for DJs. 2) Improving communicating or missionary skills of the Jockey/Dhamma messengers, one of the key factors is the interesting communication or representation of the Dhamma messengers (missionary), such as, rhetoric, missionary techniques. A modern of people want to listen to the radio is that they get involved in activities, such as, answering Dhamma questions etc. 3) The listeners participation in addition to broadcasting on radio stations. There should be activities for the listeners to participate, such as, the Sunday market, the radio station listeners club for joining activities for example visiting to encourage bedridden patients who are club members, field trip and making merit etc.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ