โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารงานจิตอาสาเพื่อสังคมของสโมสรโรตารี ภาค 3330 โรตารีสากล
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSocial Volunteer Management of Rotary Clubs, Region 3330 Rotary International
  • ผู้วิจัยนางสาวศุภัทรฌา เหมือนแก้ว
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ไพรัตน์ ฉิมหาด
  • ที่ปรึกษา 2ดร. ณิชารีย์ ปรีชา
  • วันสำเร็จการศึกษา15/08/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50191
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 86

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานจิตอาสาเพื่อสังคมของสโมสรโรตารี ภาค 3330 โรตารีสากล 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารงานจิตอาสาเพื่อสังคมของสโมสรโรตารี ภาค 3330 โรตารีสากล การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน โยใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้เทคนิคเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกสโมสรและคณะกรรมการบริหารสโมสร จำนวน 296 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 

          ผลการวิจัย

          ๑) การบริหารงานจิตอาสาเพื่อสังคมของสโมสรโรตารี ภาค 3330 โรตารีสากล ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 (S.D.=.299)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 (S.D.=.441) รองลงมาคือด้านกิจกรรมที่ดำเนินด้านจิตอาสา อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 (S.D.=.372) ด้านการสร้างเครือข่าย อยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 (S.D.=.368) และด้านการประสานงาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 (S.D.=.340) ตามลำดับ

2) แนวทางในการบริหารงานจิตอาสาเพื่อสังคมของสโมสรโรตารี ภาค 3330 โรตารีสากล  ควรมีการประสานงานในการทำงานและการดำเนินกิจกรรมภายในสโมสรให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจถึงนโยบายและวัตถุประสงค์ของหน่วยงานได้ดียิ่งขึ้น การประสานงานเกิดจากความต้องการที่จะให้งานที่จะทำเกิดผลสำเร็จ โดยปฏิบัติอย่างสอดคล้องในจังหวะเวลาเดียวกัน ได้ผลงานที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่เป็นไปตามข้อกำหนด ควรกำหนดความต้องการให้แน่ชัดว่าจะประสานงานให้เกิดอะไรหรือเป็นอย่างไร หรือจะทำให้ได้ผลรับอย่างไร ดังนั้นสโมสรโรตารีจึงควรให้ความสำคัญกับการประสานงานภายในองค์กรมากขึ้น

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study is mixed method and objectives of this research were 1) to study the social volunteer management of the Rotary Club, Region 3330, Rotary International; qualitative research an unstructured interview was used with 21key informants and Descriptive techniques were used for qualitative analysis. For quantitative, the sample consisted of 294 club members and club board members. For quantitative purposes, percentage, mean ( ) and standard deviation (S.D.) statistics were used.

          Result

          1) Opinions on the administration of volunteerism for society of the Rotary Club Region ๓๓๓๐ Rotary International in all aspects were at the highest level overall with a mean of 4.23 (S.D.=.299). When considering each side, it was found that the management within the organization at the highest level with an average of 4.40 (S.D.=.441), followed by volunteer activities at the highest level. The mean was 4.36 (S.D.=.372) at a high level with an average of 4.20 (S.D.=.368) and coordination at a high level The mean was 3.93 (S.D.=.340), respectively.

          2) Suggestions: There should be more coordination in the work and activities within the club due to good coordination Helps work to achieve goals. Coordination is born out of the need for the work to be accomplished by acting in a consistent manner at the same time, obtaining quality work according to the standards that meet the requirements should be clearly defined on what or how to coordinate or how to get results. Therefore, Rotary clubs should pay more attention to internal coordination.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ