-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Mental Health Development of the Elderly in Bangkrathuk Subdistrict Nakhonpathom Province
- ผู้วิจัยนาง มยุรี พลายบัว
- ที่ปรึกษา 1พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, ศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระปลัดประพจน์ สุปภาโต, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา10/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50198
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 77
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงสภาพการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลบางกระทึก 2) เพื่อพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในตำบลบางกระทึก 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสุขภาพจิตผู้สูงอายุในตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ วิเคราะห์เนื้อ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและนำเสนอเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่พึ่งพาตัวเองได้ ไม่ต้องการพึ่งพาผู้อื่น เป็นคนที่มีความพร้อมที่จะเข้าสังคมและเป็นบุคคลที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้มีฐานะมั่นคงมีรายได้เลี้ยงชีพ ผู้สูงอายุที่มีบุตรหลานเลี้ยงดู กลุ่มนี้สภาพจิตใจมีความกังวลเรื่องรายได้ การเป็นภาระต่อครอบครัว สังคม อารมณ์เบื่อหน่าย หงุดหงิด ที่ต้องอยู่บ้าน ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น อาจเป็นความบกพร่องทางร่างกาย ไม่มีรายได้ สภาวะหลงลืมและความช้าลงในการประมวลผลข้อมูลทางสมอง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิต เนื่องจากความไม่สะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจที่เกิด โดยใช้ความเข้าใจ คอยสังเกต พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงที่มีผลมาจากจิตใจ เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง
2. กระบวนการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 1) ด้านสิ่งแวดล้อม มีการจัดการด้านสุขอนามัยที่พักอาศัยให้มีความเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับพวกเขา ตรวจสอบความปลอดภัยในสถานที่อาศัยให้มีการเชื่อมต่อกับชุมชนเพื่อความเหมาะสมในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม 2) ด้านร่างกาย จัดให้มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข กิจกรรมสังคม กิจวัตรประจำวันให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารที่ดี 3) ด้านอารมณ์ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวให้มีการรับรู้และเข้าใจ ช่วยลดความเครียดความกังวล สร้างกิจกรรมให้มีอารมณ์ร่าเริงและมีความสุข 4) ด้านพฤติกรรม การให้ความรู้กับผู้ดูแล คนใกล้ชิด สร้างความเข้าใจและคอยสังเกตุการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของผู้สูงอายุ เพราะอาจเกิดภาวะซึมเศร้า เครียด เหงา เมื่อทราบปัญหาสามารถเข้าช่วยเหลือได้เหมาะสม
3. แนวทางการพัฒนาสุขภาพจิตผู้สูงอายุในตำบลบางกระทึก การเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวการดูแลเอาใจใส่ สร้างการรับรู้ ในการดำเนินชีวิต 1) ด้านร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ความรู้กับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน ความดัน ให้รับประทานอาหารให้ถูกสุขอนามัย ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดบ้าน กิจกรรมที่ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อให้ลดปัญหาความบกพร่องทางกาย 2) ด้านจิตใจ มีการป้องกันและการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ การสวดมนต์ ฟังธรรม ร่วมกับคนในชุมชน 3) ด้านสังคม ได้มีโอกาสเลือกทำกิจกรรมทางสังคมที่ตนเองชื่นชอบกิจกรรมด้านศาสนา กิจกรรมเสริมสร้างรายได้ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to study the lifestyle of the elderly in Bang Krathuk Subdistrict, 2) to study the mental health of the elderly in Bang Krathuk Subdistrict, and 3) to be a guideline for developing the mental health of the elderly in Bang Krathuk Subdistrict. Krathuk, Sampran District, Nakhon Pathom Province The sample group consisted of 16 elders, VHVs, community leaders, government officials, and government agencies by in-depth interviews with 16 peoples.
The results showed that:
1) The lifestyle of the elderly who can rely on themselves, don't want to depend on others. Be a person who is ready to enter society and be a person who can help others. And they have a stable position and have a living income. Elderly people who have children to care for, this group's mental state is concerned about income. Being a burden to family and society, feeling bored and irritated at having to stay at home. Elderly people who depend on others, it can be a physical disability, lack of income, forgetfulness and slowness in processing information in the brain. Affects quality of life and mental health, due to inconvenience in daily life. Elderly people who need special care, disabled people, bedridden patients. Caregivers must cope with both physical and mental changes that occur. By using understanding and observing behavioral changes that come from the mind, to meet your own needs.
2) The process of developing the mental health of the elderly: 1) Environmental aspect Housing hygiene arrangements are made appropriate and safe for them. Check safety in the place of residence to ensure connection with the community for appropriateness in participating in social activities. 2) Physical aspect: arrange activities that promote happiness, social activities, and daily routines to maintain good physical health and eat good food. 3) Emotional aspect: creating relationships between family members to have awareness and understanding. Helps reduce stress and anxiety, create activities to have a cheerful and happy mood. 4) Behavioral aspect: providing knowledge to caregivers and close people, creating understanding and observing changes in the expressions of the elderly. Because depression, stress, and loneliness may occur. When you know the problem, you can get appropriate help.
3) The guideline for developing the mental health of the elderly in Bang Krathuk Subdistrict, is to strengthen family relationships, provide care and attention create awareness in life. 1) Physically, eat nutritious food. Educate people with chronic diseases such as diabetes and high blood pressure to eat hygienically, exercise, do housework, plant trees, and clean the house. Activities that move the body to reduce physical impairment problems. 2) Psychologically, there is appropriate prevention and management of stress. Activities to exchange knowledge, pray, listen to sermons with people in the community. 3) Social aspect: have the opportunity to choose social activities that they like, religious activities Income-building activities with senior citizens' clubs that need support from government agencies.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|