-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCultural Tourism Administration of Chaiyaphum Town Municipality, Chaiyaphum Province
- ผู้วิจัยพระธนิต อธิจิตฺโต (คงเนียม)
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
- วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/502
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,323
- จำนวนผู้เข้าชม 1,428
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศ บาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ และ 4. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.873 สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองชัยภูมิ จำนวน 396 คน จากประชากร 36,919 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สันและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.86, S.D. = 0.781) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านแหล่งท่องเที่ยว (X̅ = 3.89, S.D. = 0.800) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (X̅ = 3.84, S.D. = 0.842) ด้านการบริการ (X̅ = 3.83, S.D. = 0.887) และด้านผลิตภัณฑ์ของแหล่งท่องเที่ยว (X̅ = 3.89, S.D. = 0.866) อยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคลพบว่า ประชาชนที่มี อายุ การศึกษา อาชีพและรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี เพศ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ พบว่าประเภทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับสูง (R=.875**) จำแนกตามรายด้านพบว่า ด้านแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับสูง (r=.850**) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับสูง (r=.796**) ด้านการบริการ อยู่ในระดับสูง (r=.770**) ด้านผลิตภัณฑ์ของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับสูง (r=.805**)
4. แนวทางการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ควรอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมลดการบริโภคที่มากเกินจำเป็น ลดของเสีย ที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความหลากหลายของวัฒนธรรม ประเพณีที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวพัฒนาการท่องเที่ยวให้เข้ากับการพัฒนาท้องถิ่น ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ของแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นต้องมีคุณภาพและราคาไม่แพงเกินไปเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง สร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมมีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอ ระหว่างองค์กร ประชาชนในท้องถิ่นและผู้ประกอบการควรมีการฝึกอบรมบุคลากรด้านแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจัดระบบและแผนงานอย่างเป็นระเบียบ เพื่อยกระดับความพอใจของนักท่องเที่ยวมีการวิจัยและการติดตามตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มผลประโยชน์ต่อแหล่งท่องเที่ยว
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were 1. to study the context of cultural tourism administration of the town municipality, Chaiyaphum Province, 2. To compare the people’s opinions on the cultural tourism administration of the town municipality, Chaiyaphum Province, classified by population data, 3. to study the relationship between cultural tourism and cultural tourism administration of the town municipality, Chaiyaphum Province, and 4. To study the approaches to improve the cultural tourism administration of the town municipality, Chaiyaphum Province,
Methodology was the mixed methods research. The qualitative and quantitative research. For quantitative research, the data were collected by questionnaires with the reliability conficence value at 0.873 from 396 samples, derived from 36,918 people at the Chaiyaphum city municipality area. The data were analyzed by frequency, percentage, means, standard deviation, T-test, and F-test and one-way ANOVA. Regression and Pearson’s Coefficient. For qualitative research, Data were collected from 12 key informants by face-to-face- in-depth-interviewing and analyzed by descriptive interpretation.
Findings of the research were as follows: 1. Level of cultural tourism administration of Chaiyaphum city municipality, Chaiyaphum Province, by overall, were at high level (X̅ = 3.86, S.D. = 0.781), Each aspect of cultural tourism were that the tourism sites was at high level. (X̅ = 3.89, S.D. = 0.800), Facilities was at (X̅ = 3.84, S.D. = 0.842), services was at (X̅ = 3.83, S.D. = 0.887), Products and souvenirs were at (X̅ =3.89, S.D. = 0.866), respectively.
2. The result of comparing people’s opinion on cultural tourism administration of Chaiyaphum town municipality classified by population data were that people with different age, educational level, occupation and incomes did not have different opinion on the cultural tourism administration of Chaiyaphum town municipality, Chaiyaphum Province at the statistically significant level at 0.05 rejecting the set hypothesis.
3. The relationship between cultural tourism and cultural tourism administration of Chaiyaphum town municipality, Chaiyaphum Province was positively correlated at high level (R=.875**) Each aspect, tourism sites were at high level (r=.850**) Facilities were at high level (r=.796**) Services were at high level (r=.770**) Products and souvenirs were at high level (r=.805**)
4. The approaches to improve the cultural tourism administration of Chaiyaphum town municipality, Chaiyaphum Province. Should conserve and use resources economically both natural and cultural resources reduce excessive consumption, reduce waste to destroy the environment. Promote a variety of cultures Traditions that are important to tourism, tourism development to local development Environmental Impact Assessment. Products of local tourist attractions must be of good quality and not too expensive. Increase participation of relevant local people Create appropriate and fair returns. There is a regular consultation meeting. Between organizations Local people and entrepreneurs. There should be personnel training in the concept and practice of tourism development, organizing systems and plans in an orderly manner. To raise the level of tourists' satisfaction with research and effective monitoring to solve problems and increase benefits for tourist destinations.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.49 MiB | 1,323 | 4 มิ.ย. 2564 เวลา 23:26 น. | ดาวน์โหลด |