-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเพื่อการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษ ในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model for Enhancing the Capacity of Disabilities Children for Additional Occupation in the Special Education Center, Sakaeo Province
- ผู้วิจัยนางสาวอุทุมพร เลิศทรัพย์อนันต์
- ที่ปรึกษา 1พระมหาประกาศิต สิริเมโธ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูใบฎีกาธีรยุทธ จนฺทูปโม (ภู่โคกหวาย), ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา10/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50201
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 71
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเพื่อการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะในการประกอบอาชีพของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะในการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะในการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้อำนวยการ คุณครูประจำ และผู้ปกครอง รวมทั้งสิ้นจำนวน 14 รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า (Triangulation Technique) นำเสนอแบบอธิบายและพรรณาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะเด็กพิเศษเพื่อการประกอบอาชีพของศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว มีสมรรถนะด้านความรู้ความเข้าใจจากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและส่งเสริมการทำงานรวมถึงการอาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่น เข้าใจบริบทตนเองในการแสดงออกพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มีทักษะการทำงานอาชีพพื้นฐานจากการประดิษฐ์ชิ้นงานสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้และไม่เป็นภาระผู้อื่น การแสดงออกพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทำให้สามารถปรับตัวและใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้ดี เกิดความสัมพันธ์อันดี เกิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมส่งผลให้เด็กพิเศษเกิดการผ่อนคลาย พักผ่อนหย่อนใจ มีโอกาสได้เรียนรู้ธรรมชาติ ได้ดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายภายในโรงเรียน ในด้านบทบาททางสังคม เด็กพิเศษสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างสะดวก ไม่เป็นภาระกับผู้อื่น สามารถสื่อสารและเกิดการคิดเป็นในทุกด้าน สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้นอกห้องเรียน
2. การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะในการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวันทำให้เป็นกิจวัตร ทำซ้ำ ๆ ฝึกบ่อย ๆ ทบทวนสิ่งเดิม และค่อยเพิ่มเติมสิ่งใหม่ การเรียนรู้เพื่อบรรเทาอาการและลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กพิเศษ โดยการสอนการจับทำและจับให้หยุดเป็นการสร้างพฤติกรรมใหม่ หรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การให้รางวัลช่วยให้เด็กทำพฤติกรรมตามที่เราต้องการมากขึ้น การเพิ่มสิ่งเร้าเป็นการเพิ่มพฤติกรรมที่ต้องการโดยการเพิ่มสิ่งเร้าให้น่าสนใจ ใช้รูปแบบการกระตุ้นที่หลากหลาย การไม่สนใจเป็นการลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยการเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การเบี่ยงเบนความสนใจเป็นการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยการหาสิ่งที่น่าสนใจมากกว่ามาให้เด็กทำ กระบวนการร่วมกันจัดกิจกรรมโดยการจัดกิจกรรมฝึกอาชีพ จัดกิจกรรมระหว่างหน่วยงานและนักวิชาชีพ และจัดกิจกรรมของครอบครัว กระบวนการสร้างเครือข่ายโดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายให้สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นบรรลุเป้าหมาย
3. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะในการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว การประเมินความต้องการ ครอบครัวมีการสนับสนุนการเตรียมทักษะ โดยทำหน้าที่ประเมินความสามารถปัจจุบันและค้นหาสิ่งที่ต้องพัฒนา ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้สนับสนุนและให้คำปรึกษา ทำหน้าที่คัดเลือก กำหนดหน้าที่ และกำกับติดตามครูผู้สอนให้เป็นผู้สอนงานในสถานศึกษา ครูผู้สอนประเมินความสามารถการทำงานร่วมกับผู้ปกครอง และหน่วยงานต่างๆ ภายนอกเป็นผู้สนับสนุนและให้คำปรึกษาครูผู้สอน การออกแบบและดำเนินกิจกรรมการวางแผน ผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ปกครอง การดำเนินการผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแผน การประเมินผลกิจกรรมรวบรวมข้อมูล
จากองค์ความรู้ที่ได้จากการไปลงพื้นที่วิจัย พบว่าสามารถทำให้เด็กพิเศษ ของศูนย์จังหวัดพิเศษสระแก้วได้มีความรู้ ความเข้าใจ ถึงรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะ เพื่อการประกอบอาชีพเสริมได้ เช่น นำไปขายในงานส่งเสริมประจำจังหวัดสระแก้ว จึงเป็นการขยายผลต่อยอดออกสู่ตลาดชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ได้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Research study “The Model for Enhancing Competency for Part-time Occupational Activities of Special Education Children in Sa Kaeo Special Education Center” has three objectives: 1) to study the occupational competencies of special children in Sa Kaeo Special Education Center; 2) to 3) To develop a process for enhancing competency in supplementary occupations of special children in Sa Kaeo Special Education Center; This research is a qualitative research. Key informants were the director, full-time teachers and parents, totaling 14 photographs/person. Data were collected by in-depth interviews. After that, the data were analyzed and linked to create a form of competency building for supplementary occupations of children with special needs in the special education center in Sa Kaeo Province.
The results showed that
1. Competency of children with special needs for occupations of the Special Education Center in Sa Kaeo Province have cognitive competencies from activities to develop students and promote work and living with others understand their own context in expressing desirable behaviors have basic occupational skills from invention, able to help themselves in daily life and not be a burden to others The expression of desirable behaviors enables them to adapt and live well with others. good relationship dependence on each other as well as being able to live independently In addition, the suitable environment results in special children being relaxed. relax have the opportunity to learn nature have health care and exercise within the school in terms of social roles Children with special needs can perform daily activities with ease. Not a burden on others able to communicate and think in all aspects can use technology to learn outside the classroom
2. The development of a process for enhancing the competency of supplementary occupations of children with special needs in the special education center, Sa Kaeo Province. knowledge transfer process Learning to use daily life makes it a routine. Repeat, practice often, review the same things. and gradually adding new things Learning to relieve symptoms and reduce unwanted behaviors of special children By teaching how to catch and catch to stop, it creates a new behavior. or stop unwanted behavior Rewarding helps children to behave more accordingly. Stimulant augmentation is the act of increasing the desired behavior by making the stimuli more attractive. Use a variety of stimulation patterns. Ignoring is reducing inappropriate behavior by ignoring undesirable behavior. Distracting is the act of reducing undesirable behavior by providing the child with more interesting things to do. The joint process of organizing activities by organizing vocational training activities Organize activities between departments and professionals and organize family activities The networking process by the people involved in networking can proceed smoothly and achieve goals.
3. A model for enhancing the competency of supplementary occupations of children with special needs in the special education center, Sa Kaeo Province. needs assessment Families are encouraged to prepare skills. It serves to assess current capabilities and identify areas for improvement. School administrators provide support and advice. Responsible for selecting, assigning duties and supervising teachers to be teachers in educational institutions. Teachers assess their ability to work with parents. and various agencies The outside is a support and mentor for teachers. Designing and executing planning activities Those involved include Educational institution administrators, teachers and parents. Actions related to the plan. Assessment of data collection activities And the findings are compared with the desired goals as specified in the plan and summarized as an overview. The activity of making fancy soaps is a side job for special children in the special education center in Sa Kaeo Province. Because it is a form that can be applied in ancillary occupations, such as body wash soap, souvenir soap for auspicious events. Herbal soaps to decorate the house and add fragrance, etc. Therefore, the results are sold or extended to the community. or various agencies.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|