โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectiveness Development on Elderly Holistic Health Management of Sub-District Health Promoting Hospitals in Phetchabun Province
  • ผู้วิจัยนางเครือวัลย์ มโนรัตน์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
  • วันสำเร็จการศึกษา07/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50203
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 106

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 387 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการเชิงพรรณนา

              ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. ประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบผลการศึกษา คือ ด้านสุขภาวะทางกาย รองลงมา คือ สุขภาวะทางปัญญา ด้านสุขภาวะทางจิตใจ ด้านสุขภาวะทางสังคม ทุกด้านอยู่ในระดับมากตามลำดับ ดังนั้นการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ 4 ด้าน พบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีกระบวนบริหารจัดการเพื่อดูแลเกี่ยวกับสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุ โดยการเอาใจใส่ ให้บริการอย่างทั่วถึง เป็นธรรม เหมาะสม เพียงพอและต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ได้อย่างมีประสิทธิผล

 

              ๒. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ปัจจัยการบริหารส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร้อยละ 50.40 หลักภาวนา 4 สามารถทำนายการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร้อยละ 57.80 และ ปัจจัยการบริหารและหลักภาวนา 4 สามารถทำนายการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร้อยละ 65.50

              ๓. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม พบว่าปัจจัยการบริหารประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ (ด้านบุคลากร) มีความละเอียดรอบคอบ โปร่งใส (ด้านงบประมาณ) เหมาะสม เพียงพอต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ (ด้านวัสดุอุปกรณ์) มีกระบวนการและปรับปรุง แก้ไขด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ (ด้านการบริหารจัดการ) บูรณาการด้วยการปฏิบัติตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย ได้ฝึกพัฒนาของผู้สูงอายุให้อยู่ง่ายกินง่ายในการดำเนินชีวิต (ด้านกายภาวนา) ผู้สูงอายุได้พัฒนาตนเองด้วยการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ลักขโมย พูดจาสุภาพไม่คิดมุ่งร้ายต่อสิ่งอื่น (ด้านสีลภาวนา) ผู้สูงอายุได้พัฒนาจิตใจด้วยการไหว้พระ สวดมนต์ภาวนาและนั่งสมาธิ ทำจิตใจให้มีความสุขในชีวิตประจำวัน (ด้านจิตภาวนา) ผู้สูงอายุใช้สติปัญญาคิดในสิ่งที่มีเหตุและผล มีความรู้สึกตัวขณะคิด ขณะพูด ขณะทำ ใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ (ด้านปัญญาภาวนา) ทำให้ได้แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย การพัฒนาของผู้สูงอายุให้มีสติตั้งอยู่ในความไม่ประมาท (ด้านสุขภาวะทางร่างกาย) การอบรมจิตของผู้สูงอายุให้มีความผ่องใส (ด้านสุขภาวะทางจิตใจ) ทำให้ผู้สูงอายุตั้งอยู่ในกรอบระเบียบข้อประพฤติที่ดีงามของสังคม (ด้านสุขภาวะทางสังคม) ผู้สูงอายุเป็นผู้มีเหตุมีผลดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข (ด้านสุขภาวะทางปัญญา)

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the effectiveness of holistic health management of the Elderly Sub-District Health Promoting Hospitals in Phetchabun Province. 2. To study factors affecting the effectiveness of holistic health management of the Elderly Sub-District Health Promoting Hospitals in Phetchabun Province. 3. To propose guidelines for improving the effectiveness of holistic health management of the Elderly Sub-District Health Promoting Hospitals in Phetchabun Province integrated with Buddha-dhamma principles, conducted by the mixed research methods. The quantitative research used questionnaires to collect data from 387 samples who were elderly people in Phetchabun province and analyzed the data by using frequency, percentage, average, standard deviation and multiple regression analysis. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 18 key informants and 9 participants in focus group discussion. Data were analyzed by content descriptive interpretation.

              Findings were as follows:

              1. Effectiveness of holistic health management of the Elderly Sub-District Health Promoting Hospitals in Phetchabun Province, by overall, was at high level. When considered by aspects according to the average, the results of the study were found to be physical well-being, followed by intellectual well-being, mental well-being, and social well-being. All aspects were at the same level. Therefore, the holistic health management of the Elderly Sub-District Health Promoting Hospitals in Phetchabun Province in 4 aspects was found that the Sub-District Health Promoting Hospitals in Phetchabun Province should manage holistic health or solve problems for the elderly by taking care and providing services thoroughly, fairly, appropriately, adequately and continuously, consistently, efficiently.

              2. Factors affecting the effectiveness of holistic health management of the Elderly Sub-District Health Promoting Hospitals in Phetchabun Province was found that administrative factors affected the holistic health management of the Elderly Sub-District Health Promoting Hospital in Phetchabun Province by 50.40 percent. Păvană 4 principle could predict the holistic health management of the Elderly Sub-District Health Promoting Hospitals in Phetchabun Province by 57.80 percent and Administrative factors and  Pavana 4 could jointly predict the holistic health management of the Elderly Sub-District Health Promoting Hospital in Phetchabun Province by 65.50 percent.

              3.Guidelines for the development of the effectiveness of holistic health management of the elderly in sub-district health promoting hospitals in Phetchabun Province by integrating Buddhist principles It was found that the administrative factors consisted of People with knowledge and competence (personnel), detailed, thorough, transparent (budgetary), appropriate, sufficient for effective use. (Materials) There are processes and improvements. Solved with new innovations (management) Integrated with the practice of the four meditation principles, consisting of training and development of the elderly so that they can live easily, eat easily in their lives. (Physical meditation) The elderly have developed themselves by not harassing others, not stealing, speaking politely, not thinking of maliciousness towards other things. (Silaphavana side) The elderly have developed their minds by paying homage to the Buddha images. Pray and meditate make the mind happy in daily life (Mindfulness aspect) The elderly use their intellect to think about things that are rational and effective. having consciousness while thinking, while speaking, while doing, using wisdom to solve problems (intellectual meditation) As a result, guidelines for developing the effectiveness of holistic well-being management for the elderly of sub-district health promoting hospitals in Phetchabun Province consisted of the development of the elderly to be mindful in their carelessness. (Physical health) Mental training of the elderly to be bright. (Mental well-being) makes the elderly to be in the framework of good behavior in society. (Social well-being) The elderly are rational and live happily. (Intellectual health)

 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ