-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Effectiveness for Environmental Management of Municipalities in Phetchabun Province
- ผู้วิจัยนายปิยวัช ละคร
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา07/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50205
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 67
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3. เพื่อนำการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการประยุกต์ตามหลักอปริหานิยธรรม 7 การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านความพึงพอใจ ด้านการปรับเปลี่ยน ด้านการพัฒนา ด้านประสิทธิภาพ ด้านการผลิต มีคาเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ตอบว่า การผลิตบุคลากรของเทศบาลให้มีความรู้ ความสามารถ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย บุคลากรของเทศบาลปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ได้รับการยอมรับจากชุมชน จึงทำให้เทศบาลได้รับการพัฒนาต่อไป
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ปัจจัยการบริหารส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลได้ร้อยละ 27.6 และการปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ร้อยละ 41.7 แสดงว่าปัจจัยการบริหารและหลักอปริหานิยธรรม 7 ส่งผลร่วมกันต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ และเมื่อพิจารณาแล้วพบว่าทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลได้ ร้อยละ 48.6 โดยมีสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (ß 2 , ß 1) เท่ากับ 0.512 และ 0.295
3. การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านเงินทุน 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ 4) ด้านการบริหารจัดการ และ การใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ได้แก่ 1) บุคลากรประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ 2) บุคลากรเริ่มและเลิกประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน 3) เทศบาลยึดหลักจริยธรรมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 4) เทศบาลรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 5) เทศบาลให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำกับบุคลากร 6) เทศบาลและประชาชนร่วมมือกันจัดการสิ่งแวดล้อมและดูแลสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของชุมชน 7) เทศบาลมีการกำหนดที่ทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลในพื้นที่ที่เหมาะสม และให้การคุ้มครองและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ซึ่งทั้ง 2 แนวทางได้ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ดังนี้ 1) ด้านการผลิต บุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 2) ด้านประสิทธิภาพ เทศบาลมีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ 3) ด้านความพึงพอใจ เทศบาลให้ความสะดวกแก่ประชาชนที่มารับบริการอย่างดี 4) ด้านการปรับเปลี่ยน เทศบาลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้ตรงกับความต้องการของชุมชน มีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามสถานการณ์ที่เหมาะสม 5) ด้านการพัฒนา เทศบาลส่งบุคลากรรับการศึกษา อบรมการจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were:1. To study the effectiveness of environmental management of municipalities in Phetchabun Province, 2. To study factors affecting the effectiveness of environmental management of municipalities in Phetchabun Province, and 3. To propose guidelines for improving the effectiveness of environmental management of municipalities in Phetchabun Province. conducted by the mixed research methods. The quantitative research used questionnaires to collect data from 400 samples. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis. and the qualitative research collected data by in-depth interviewing 19 key informants by using a specific random method. Data were analyzed by content descriptive interpretation. Data were also collected from 9 participants in focus group discussion.
Findings were as follows:
1. Effectiveness of Environmental Management of Municipalities in Phetchabun Province, by overall, the average in all aspects was at a large level. When considering each aspect, it was found to be at a high level in all aspects, and the aspect of satisfaction, adjustment, development, efficiency and production had the highest average and were at high level respectively. According to interviews with key informants; The production of municipal personnel to have knowledge, ability, supply of modern equipment. The municipality's personnel changed their personality, accepted by the community therefore allowing the municipality to be developed forward.
2. Factors affecting the effectiveness of environmental management of municipalities in Phetchabun Province was found that administrative factors affected the effectiveness of environmental management of municipalities by 27.6 percent and compliance with the principle of Aparihăniya-dhamma 7 affected the effectiveness of environmental management of municipalities in Phetchabun Province by 41.7 percent indicating that Aparihăniya-dhamma 7. affected the effectiveness of environmental management of municipalities in Phetchabun Province and the 2 variables could jointly explain variation of effectiveness of environmental management of municipalities in Phetchabun Province at 48.6 percent with standard regression coefficients (ß 2 , ß 1) of 0.512 and 0.295.
3. The development for effectiveness of environmental management of municipalities in Phetchabun Province consisted of 1) personnel, 2) funding, 3) materials, 4) management and application of Aparihăniya-dhamma 7, namely: 1) Personnel met to exchange ideas regularly, 2) Personnel discontinued meetings, 3) Municipalities adhered to ethical principles in management, 4) Municipalities listened to opinions from citizens, 5) Municipalities provided and advice to personnel, 6) Municipalities collaborated to manage the environment and took care of places in the community,7) Municipalities assigned the places for garbage disposal and took good care of the environment. Both approaches affected the effectiveness of environmental management of municipalities in Phetchabun province as follows: 1) Production; personnel developed knowledge. 2) Efficiency; the municipality had effective management. 3) Satisfaction; the municipality provided convenience. 4) Adjustment; Municipalities managed to adjuste the environmental management. 5) Development; technology development for management.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|