-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTrisikkha Integration for Promoting the Elderly Life Quality Development of Local Administrative Organizations in Pathumthani Province
- ผู้วิจัยนางสาวสุมณฑา สุภาวิมล
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมาน งามสนิท
- ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
- วันสำเร็จการศึกษา25/08/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50206
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 103
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 312 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก (=3.57 S.D.=0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้านได้แก่ คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้สูงอายุได้รับการดูแลให้สามารถเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคอย่างสะดวก อยู่ในชุมชนที่เป็นมิตร ได้รับการดูแลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ โดยผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูทางด้านจิตใจ ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนในช่วงอายุวัยเดียวกัน ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ชอบ ได้รับการยกย่อง เคารพ และยอมรับในสังคมอันดับ 3 คือ คุณภาพชีวิตด้านสังคม โดยผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชน ได้รับการใส่ใจจากบุคคลใกล้ชิด และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้านได้แก่ คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย โดยผู้สูงอายุมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ สามารถออกกำลังกาย การเล่นกีฬาที่เหมาะสม และนันทนาการที่เหมาะสมกับวัยได้
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ๑) การพัฒนาผู้สูงอายุส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี 4 ด้าน ประกอบด้วย การส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุ การคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ การพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 โดยการพัฒนาผู้สูงอายุสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 38.9 (Adj. R2=0.389) 2) หลักไตรสิกขาส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานีทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ปัญญา (การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความรู้) สมาธิ (การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ) และศีล (การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านพฤติกรรม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยหลักไตรสิกขาสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 43.6 (Adj. R2=0.746)
3. การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ 1) ด้านศีล (การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านพฤติกรรม) โดย ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุร่วมกันปลูกต้นไม้ ออกกำลังกายและทำกิจกรรมสุขภาวะด้วยกัน จัดกิจกรรมและจัดทำโครงการให้ผู้สูงอายุได้เข้าวัด ฟังธรรม และเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ ใช้หลักการทางพุทธศาสนาหมู่บ้านศีล ๕ เพื่อพัฒนากาย วาจาและจิตใจ 2) ด้านสมาธิ (การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ) โดยส่งเสริมให้ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมพบปะสังสรรค์กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ให้ผู้สูงอายุได้ฝึกสมาธิ ไม่ปล่อยให้ผู้สูงอายุเหงา ไม่ทอดทิ้ง และจัดพื้นที่ทำกิจกรรมกลุ่มศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เหมาะสมเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน 3) ปัญญา (การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความรู้) โดยจัดตั้งศูนย์ดูแลสุขภาพผู้อยู่ในวัยก่อนสูงอายุ เสริมสร้างพัฒนาการทางด้านสมองโดยใช้สื่อโซเชียลยุคดิจิทัลแบบอย่างง่าย ส่งเสริมกิจกรรมทำบุญ เย็บ ปัก ถัก ร้อย เพื่อกระตุ้นความจำ จัดหาพื้นที่สร้างกิจกรรมเล่าเรียน เขียน อ่าน ผ่านจิตอาสา และปราชญ์ชุมชน ให้กับผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีก็ทำการพัฒนาผู้สูงอายุตามขั้นตอนดังนี้คือ การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยผู้สูงอายุ การส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุ การคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ การพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were: 1. To study the elderly’s quality of life of Local Administrative Organizations in Pathum Thani Province, 2. To study factors affecting the elderly’s quality of life of the Local Administrative Organizations in Pathum Thani Province, and 3. To propose the integration of Trisikkha principle to promote the elderly’s quality of life development of Local Administrative Organizations in Pathum Thani Province. Methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected from 312 samples, analyzed by descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. The qualitative research was the field study with the method of in-depth interviewing 18 key informants and 9 participants in focus group discussion to confirm knowledge after data synthesis.
Findings of the research were as follows:
1. Elderly’s quality of life of Local Administrative Organizations in Pathum Thani Province was found that, by overall, was at very high level, There were 3 aspects that were at high level, namely, environmental quality of life, whereby the elderly was taken care of to be able to access utilities conveniently. Living in a friendly community with environmental health care. This was followed by mental quality of life, with the elderly participating in activities for mental rehabilitation, getting to socialize with friends of the same age, participating in activities that were favored, and the elderly was praised, respected, and accepted in society. Social quality of life, whereby the elderly had good relationships with people in the community and had good attention from close people. One aspect was at moderate level that was physical quality of life with the elderly having the ability to carry out daily activities being able to exercise with appropriate sports and age-appropriate recreation.
2. Factors affecting the elderly’s quality of life of Local Administrative Organizations in Pathum Thani Province was found that 1) the development of the elderly affected the quality of life of the elderly in Pathum Thani Province in 4 aspects, namely, promoting the development of the elderly, social protection for the elderly, management for the development of elderly work and personnel development in elderly work. The development and dissemination of knowledge on the elderly had statistically significant level of 0.01 and 0.05, whereby the development of the elderly was able to jointly predict the quality of life of the elderly in Pathum Thani by 38.9 percent (Adj. R2=0.389). 2) Trisikkha principle was able to jointly predict the elderly’s quality of life in Pathum Thani Province in 3 aspects, namely, Panna, knowledge development, Samadhi, mental development, Sila, behavioral development with statistically significant level at 0.01 by Tisikkha principle was able to jointly predict the elderly’s quality of life by 43.6 percent (Adj. R2=0.746).
3. Integration of the Tisikkha principle to promote of the elderly’s quality of life development of Local Administrative Organizations in Pathum Thani Province was as follows: 1) Sila, encouraging the elderly to plant trees exercise and do wellness activities together. Organizing activities and projects for the elderly to attend temples, listen to Dhamma, and participate in activities on important religious days, using the principles of five precepts observing village to develop body, speech and mind. 2) Samadhi, by encouraging Buddhist activities for the elderly to participate in socializing with peers of the same age. Letting the elderly practice meditation. Do not let the elderly be lonely. And organize a space for activities in the center group to improve the quality of life of the elderly that is suitable for enjoyment. 3) Panna, by establishing health care centers for pre-elderly people. Enhance brain development using simple digital social media. Promoting activities of merit, sewing, knitting and stringing to stimulate memory. Providing a space to create narrative activities for learning, writing, reading through volunteers and community wise persons for the elderly and the general public. In addition, local Administrative Organizations in Pathum Thani Province also develop the elderly according to the following steps: Preparing the population for the being elderly. Promoting the development of the elderly’s social protection for the elderly. management for the development of elderly work and personnel development in elderly development and dissemination of knowledge on the elderly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|