โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานชลประทานที่ ๑๑ กรมชลประทาน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Working Efficiency in Regional Irrigation Office 11 Royal Irrigation Department
  • ผู้วิจัยนางสาวจิรัตติกาล สุขสิงห์
  • ที่ปรึกษา 1ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา07/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50208
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 70

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน  2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน  3. เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 255 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล     

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพของงาน  2) ด้านปริมาณงาน 3) ด้านเวลา 4) ด้านค่าใช้จ่าย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านปริมาณงาน รองลงมาคือด้านคุณภาพ ด้านค่าใช้จ่ายและด้านเวลา ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า บุคลากรมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา มีทักษะในการทำงานและใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ อย่างเชี่ยวชาญ มีการบริหารงานและวางแผนงานที่ดีเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน สามารถบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลงานสำเร็จตามเป้าหมายและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย กล่าวคือ สามารถบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า คุ้มประโยชน์ของทางราชการ

                  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน  พบว่า 1) การพัฒนาบุคลากรตามยุทธศาสตร์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน ได้ร้อยละ 67.0  และเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านการมีกรอบแนวคิด ทัศนคติในการปฏิบัติงานไปในแนวทางสร้างสรรค์ (Framework)  ได้ร้อยละ 55.7 และด้านการมีทักษะการปฏิบัติงานเชิงรุก(Skill) ได้ร้อยละ 28.5 ตามลำดับ 2) หลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน ได้ร้อยละ 87.8 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจิตตะ (ความมีใจฝักใฝ่) (Mind of consciousness) ได้ร้อยละ 46.9 ด้านวิมังสา(การใช้ปัญญาหาเหตุผล) (Investigation) ได้ร้อยละ 30.5 และด้านฉันทะ(ความพึงพอใจในงาน) (Passion) ได้ร้อยละ 20.3 ตามลำดับ

                    3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบุคลากรสำนักงานชลประทาน ที่ 11 กรมชลประทาน มีดังนี้ พุทธบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 คือแนวทางอิทธิบาทธรรมที่มุ่งนำพาผู้ปฏิบัติงานที่ยึดถือหลักธรรมนี้ไปสู่ความสำเร็จในงานตามที่ตั้งไว้ได้ ประกอบด้วย 1. ฉันทะ ความพึงพอใจในงาน 2. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร 3. จิตตะ ความมีใจฝักใฝ่  4. วิมังสา การใช้ปัญญาหาเหตุผล  โดยนำเอาหลักการ ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของกรมชลประทาน ทั้ง 4 ด้าน  มาผสานหลักธรรมอิทธิบาท 4 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณงาน  ด้านเวลา และ ด้านค่าใช้จ่าย ดังนั้นแล้ว ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร มากยิ่งขึ้น

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the personnel’s performance efficiency of the Irrigation Office 11 of the Royal Irrigation Department, 2. To study factors affecting the personnel’s performance efficiency of the Irrigation Office 11 of the Royal Irrigation Department, and 3. To propose the Buddhist integration for promoting the  personnel’s performance efficiency of the Irrigation Office 11 of the Royal Irrigation Department, conducted by the mixed research methods. The quantitative research collected data from 255 samples using questionnaires with a total reliability value of 0.987. Data were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.  The qualitative research was a field study using in-depth interview method to collect data from 18 key informants, and 9 participants in focus group discussion to confirm the knowledge after data synthesis.

               Findings were as follows:

              1. The personnel’s performance efficiency of the Irrigation Office  11 of the Royal Irrigation Department was found that, by overall, was at high level. Namely, 1) quality of work, 2) workload, 3) time, 4) cost, all were at high level. The area with the highest average was the workload, followed by quality, cost and time respectively, indicating that the personnel were committed and determined to complete their assigned tasks on time with good working skills and equipment skills in using machine, equipment skillfully.

There was expertise in management and planning of work suitable for the operation, ability to manage time efficiently to achieve the target and reduce costs, i.e., being able to manage the available resources cost-effectively worth the benefits of the government.

 

              2.  Factors affecting the personnel’s performance efficiency of the Irrigation Office  11 of the Royal Irrigation Department was found that 1) the personnel development strategy affected the personnel’s performance efficiency of the Irrigation Office 11 of the Royal Irrigation Department by 67.0 percent. Each aspect was found that the aspect of framework and attitude to work creatively by 55.7 percent, the aspect of proactive skill in working operation by 28.5 percent accordingly.  2) The principle of Itthibăda 4 affected the personnel’s performance efficiency of the Irrigation Office No. 11 of the Royal Irrigation Department by 87.8 percent, and each aspect was found that Citta, aspiration mind affected the case by 46.9 percent, Vimamsă, investigation with wisdom affected by 30.5 percent and Chanda, work satisfaction, affected by 20.3 accordingly.

                    3. Buddhist Integration for promoting the personnel performance efficiency of the Irrigation Office  11 of the Royal Irrigation Department were as follows: The Itthipada-dharma approach that aimed to lead practitioners who adhere to this principle to achieve their set tasks. It consisted of: 1) Chanda, job satisfaction, 2. Viriya, Perseverance, diligence, 3. Citta, determination, 4. Vimamsa, the use of wisdom to reason,  by applying the principles of personnel development strategies of the Royal Irrigation Department in all 4 aspects to integrate with the principles of  Itthibada 4 to increase the performance efficiency of the personnel of the Irrigation Office 11 of  the Royal Irrigation Department in all 4 aspects, namely the quality of work, the amount of work or workload, the time and  the cost. As a result, the personnel’s performance efficiency turned out to be even greater.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ