โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กร ด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Administrative Efficiency Development of Pharmaceutical Organization In the New Normal
  • ผู้วิจัยนางสาววัสยามน จินดานิล
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร. ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. รัฐพล เย็นใจมา
  • วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50209
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 154

บทคัดย่อภาษาไทย

                  มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ และ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพุทธบูรณาการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานขายของบริษัทยาในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ ( Pharmaceutical Research and Manufacturers Association : PREMA ) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 231 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ ทำการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า
    1. พุทธบูรณาการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅  = 3.50 S.D. = 0.30) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅  =3.83 S.D. = 0.22)
    2. ความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ พบว่า ในภาพรวม ไม่มีความสัมพันธ์กัน  เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้ความสำคัญของลูกค้า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (R=.058) ด้านความเป็นผู้นำ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อย (R=.025) ด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยมาก (R=.015) ด้านการบริหารเชิงกระบวนการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อย (R=.025) ด้านการบริหารที่เป็นระบบ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยมาก (R=.137) ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยมาก (R=.110) ด้านการตัดสินใจบนพื้นฐานของความจริง มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อย (R=.044) และด้านความสัมพันธ์กับผู้ขาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยมาก (R=.118)
          3. แนวทางพุทธบูรณาการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ พบว่าด้านฉันทะ ได้แก่ ผู้มีส่วนร่วมต้องพอใจต่อการปฏิบัติงาน ผู้มีส่วนร่วมต้องมีความความเพียร โดยการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และผู้บริหารควรมีความตั้งใจในการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรมีสมรรถนะในการทำงาน ด้านวิริยะ ได้แก่ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดำเนินการการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส หากเกิดปัญหาในการทำงานควรเข้าไปช่วยแนะนำ ร่วมกันแก้ไขในประเด็นที่เกิดปัญหาในการทำงาน และสร้างค่านิยมองค์กรมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ด้านจิตตะ ได้แก่ การนำผลมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ สร้างแรงจูงใจให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร พินิจพิเคราะห์ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับบุคลากร อีกทั้งกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง และสมาชิกทุกคนต้องเอาใจใส่ต่อการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ และด้านวิมังสา ได้แก่ ผู้มีส่วนร่วมต้องพิจารณาใคร่ครวญเหตุผลเเห่งความสำเร็จในการทำงาน ส่งเสริมให้บุคลากรมีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนเองด้านเวชภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมให้บุคลากรมีความเอาใจใส่ในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 Objectives of this research paper were: 1. To study level of pharmaceutical Organizational Management Efficiency in the New Normal 2. To study the relationship between Itthipada-dhamma and pharmaceutical Organization Management Efficiency in the New Normal, and 3. To study the problems, obstacles, and recommendations for pharmaceutical organization management efficiency development in the New Normal. Methodologies were the mixed methods: The quantitative research, data were collected with questionnaires and the qualitative method collected data by in-depth-interviewing 9 key informants and analyzed data by content descriptive interpretation using data to support the quantitative method that collected data from 231 samples who were members of Pharmaceutical Research and Manufacturers Association: PREMA by the mean of Taro Yamane’s formula and analyzed data with descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation and analyzed relationship between Itthipada-dhamma and Pharmaceutical Organizational Management Efficiency in the New Normal,  analyzed correlations between variables by Pearson’s Correlations Coefficient.

                 Findings were as follows:

                 1. Buddhist integration for Pharmaceutical Organizational Management Efficiency in the New Normal, by overall, were at middle level ( =3.50, S.D.=0.30). Pharmaceutical Organizational Management Efficiency in the New Normal by overall, were at high level
(
=3.83, S.D.=0.22)

                 2. The relationship between Itthipada-dhamma and Pharmaceutical Organization

Management Efficiency in the New Normal was found, by overall, there was no relationship. When separated by aspects, it was found that the customers importance had positive relationship at middle level (r=.058), the leadership aspect had positive relationship at least level (r=.025), personnel participation aspect had positive relationship at the less level (R=.015),the systematic management had positive relationship at less level (R=.0137), continuous improvement had positive relationship at the least level (R=.110), realistic decision making had positive relationship at less level  (R=.044) and the relationship with sale persons had positive relationship at the least level (R=.118)   

                 3. Methods of Buddhist integration for Pharmaceutical Organizational Management

Efficiency in the New Normal were found that: Chanda; aspiration, Participants must be satisfied with operation, participants must have patience in motif creation for the work operation satisfaction. The administrators must have intention to promote and support the personnel to have work efficiency. Viriya; patience, the criteria for operation of the Pharmaceutical Organizations must be clear, transparent. Advice and help would be needed in case of problems, collectively work problems solving and devoted organizational value creation. Chitta; attention, using the results to implement working suitably with situations, motif creating to encourage personnel to work diligently and mindfully. Implanting virtues and morality for personnel including closely monitoring and all members must pay close intention to pharmaceutical organizations management. Vimamsa; examination, participants consider the cause of work-success, promoting personnel to have determination to always improve the operation of pharmaceutical organizations as well as promoting personnel to pay attention to develop the organizations continuously.   

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ