-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาช่วงวิกฤตโควิด 19 ในอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe People’s Satisfactions With The State Policy Formulation During Covid-19 Virus Crisis In Mueang District, Sing Buri Province
- ผู้วิจัยพระมหาอรรถนนท์ รตินฺธโร (ตะวันนา)
- ที่ปรึกษา 1ดร.สุมาลี บุญเรือง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50221
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 290
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาช่วงวิกฤตโควิด 19 ในอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาช่วงวิกฤตโควิด 19 ในอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อความพึงพอใจของประชาชนการดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาช่วงวิกฤตโควิด 19 ในอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.663 ประชากรคือประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 29,774 คน และสุ่มตัวอย่าง จากการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ซึ่งใช้ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 395 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาช่วงวิกฤตโควิด 19 ในอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี การดำเนินงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาช่วงโควิด 19 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบผลการศึกษาคือ โครงการไทยชนะ รองลงมาคือ โครงการ ม.33 หรือ ม.40 ประกันสังคม และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ รองลงมาคือโครงการคนละครึ่ง ส่วนโครงการวัคซีนโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ความพึงพอใจตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่าผลการศึกษาคือ ทาน (การให้) รองลงมาคือ อัตถจริยา (ช่วยเหลือกัน) ปิยวาจา (วาจาไพเราะ) ส่วนสมานัตตตา (เสมอต้นเสมอปลาย) อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาช่วงวิกฤตโควิด 19 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานภาครัฐ ในภาพรวม ไม่แตกต่างกันซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานภาครัฐ ในภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานภาครัฐ ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานภาครัฐ ในภาพรวม ไม่แตกต่างกันซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานภาครัฐ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. สรุปด้านปัญหาและอุปสรรค คือ ประชาชนตื่นตระหนก หวาดกลัว ได้แก่ สถานการณ์ไวรัสโควิด 19 เป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และยังไม่สามารถที่จะรับมือกับสถานการณ์ได้ จึงทำให้เกิดความเสียหายในทรัพย์สิน รวมถึงเสียชีวิต ความยุ่งยากซับซ้อนในการเข้าถึงนโยบาย ได้แก่ บางนโยบายมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีการศึกษาน้อย ทำให้หมดโอกาสในการเข้าถึงนโยบาย จากผลสัมภาษณ์สามารถสรุปด้านปัญหาและอุปสรรคใน 3 ลักษณะดังต่อไปนี้คือ 1. ประชาชนตื่นตระหนก หวาดกลัว 2. ความยุ่งยากซับซ้อนในการเข้าถึงนโยบาย 3. การรับมือ การให้ความช่วยเหลือที่ไม่ตรงจุดประสงค์ความต้องการของประชาชน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research paper were: 1. To study the level of people’s satisfaction with the government's problems solving operation during the COVID-19 crisis at Muang District, Sing Buri Province. 2. To compare people's satisfaction with the government's problems solving operation during the COVID-19 crisis at Muang District, Sing Buri Province, classified by personal factors, and 3. To study the problem. obstacles and suggestions for people's satisfaction with the government's problems solving operation during the COVID-19 crisis at Muang District, Sing Buri Province by applying the principles of Buddha-dharma. Research was the mixed methods. The quantitative research using questionnaires with the total reliability value at 0.663 as a tool to collect data. The population was 29,774 people at Muang District, Sing Buri Province, aged 18 years and over. The sample size was calculated using Taro Yamane's formula, which used an error of 0.05 to obtain a sample size of 395 people. Statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean and standard deviation. Hypothesis testing by t-test and F-test. Data from open-ended questionnaires were analyzed by descriptive frequency distribution. The qualitative research, data were collected from 7 key informants and analyzed by content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. People's satisfaction with government’s problems solving operations during the COVID-19 crisis was found that majority by overall government’s problems solving operation during the COVID-19 crisis was at very high level (S.D.=0.551). When considered each aspect sorted by average, the results of the study were Thai Chana Project (S.D.= 0.610), followed by Article.33 or Article .40 of Social Security Project and the Ying Chai Yingdai Project. (S.D.= 0.670), followed by Konlakrueng (Half-half) projects (S.D.= 0.607). The COVID-19 vaccine program (S.D.= 0.636) was at moderate level respectively. The satisfaction according to the principle of Sangahavattu 4 was at high level (S.D.= 0.551). Each aspect, in order of average, the results of the study were Dana, (giving) (S.D.= 0.610), followed by Atthajariyă,(mutual aid) (S.D.= 0.607), Piyavăjă (melodious speech) (S.D.=0.670). Samănattata (consistent) (S.D.= 0.670) were at moderate level respectively.
2. Comparison of people's satisfaction with government operations in solving problems during the COVID-19 crisis by personal factors and public opinion on the implementation of Sangkhavattu 4 at Muang District, Sing Buri Province was as follows: People with different genders, by overall, did not have Satisfaction with government operations which did not meet the set hypothesis People with different ages had satisfaction with government operations by overall, at statistically significant difference of 0.05, which was in line with the set hypothesis. People with different levels of education had satisfaction with government operations, by overall, at statistically significant level of 0.05, which was in line with the set hypothesis People with different occupation did not have satisfaction with government operations, by overall, at not different level, rejecting the set hypothesis. People with different monthly incomes had satisfaction with government operations, by overall, at statistically significant level of 0.05, which was in line with the set hypothesis
3. The conclusion of problems and obstacles was that people were panicking and fearing, namely, that the COVID-19 virus is a new disease that has occurred in Thailand and has not been able to cope with the situation, causing property damage and death. There were difficulties in accessing policies including some policies had complex procedures that were not suitable for the elderly or those with little education, thus eliminating the opportunity to access policies. The findings from interview could by summarized the problems and obstacles in 3 aspects, namely, 1) people were panicked and feared, 2) complexity in access to the policies, 3) Coping with situations, assistance did not meet the people’s needs.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|