-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน กลุ่มชาติพันธุ์อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPolitical Participation of Ethnic People in General Election on Fang District, Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยนางสาวอิสรีย์ วรกุลชัยศรี
- ที่ปรึกษา 1รศ. อนุภูมิ โซวเกษม
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร. สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50222
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 404
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 จำนวน 259 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกันทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการไปใช้สิทธิ์ของประชาชน ด้านการสนับสนุนประชาธิปไตย ด้านการตัดสินใจเลือกตั้ง และด้านการร่วมรณรงค์เลือกตั้ง ตามลำดับ และจากการสัมภาษณ์ พบว่า 1) ด้านการไปใช้สิทธิ์ของประชาชน คือ ต้องการรักษาสิทธิของตัวเองตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2) ด้านการสนับสนุนประชาธิปไตย คือ การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งทำให้คนรุ่นใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ ให้ความสนใจและเกิดความกระตือรือล้นในการออกมาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง เพื่อประโยชน์ของตนเอง 3) ด้านการตัดสินใจเลือกตั้ง คือ เลือกบุคคลที่ตนคุ้นเคยและไว้วางใจ ตลอดจนสามารถช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ได้ และ 4) ด้านการร่วมรณรงค์เลือกตั้ง คือ มีการสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
2. ปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป ประกอบด้วย 1) ด้านความสนใจทางการเมือง 2) ด้านอิทธิพลของสื่อ 3) ด้านประเพณีนิยม และ 4) ด้านนโยบายพรรคการเมืองและหลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
3. แนวทางการนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่” ได้แก่ 1) ด้านฉันทะ (ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น) เพื่อสร้างความพอใจหรือเต็มใจ ในการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ และผลงานของผู้สมัคร ตลอดจนศึกษานโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ 2) ด้านวิริยะ (ความพากเพียรในสิ่งนั้น) เพื่อสร้างความพยายามในการติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมืองในการเลือกตั้ง ตลอดจนกระบวนการขั้นตอนของการเลือกตั้ง 3) ด้านจิตตะ (ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น) เพื่อสร้างความสนใจในการเลือกตั้ง ตลอดจนการพิจารณาคุณลักษณะของผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างจริงจัง และไตร่ตรองนโยบายของพรรคการเมือง เพื่อให้เข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ และ 4) ด้านวิมังสา (ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น) เพื่อสร้างกระบวนการตรวจสอบพฤติกรรมคุณสมบัติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และพรรคการเมือง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to study the overall conditions of ethnic people's political participation in general election in Fang District, Chiang Mai Province; 2) to explore factors related to the political participation of ethnic people in general election in Fang District, Chiang Mai Province; and 3) to investigate the guidelines for applying Iddhipāda (the four paths of accomplishment) in the political participation of ethnic people in general election in Fang District, Chiang Mai Province. The study used a mixed-methods approach that included both quantitative and qualitative methods. A questionnaire was used to collect quantitative data from a sample group of 259 ethnic people in Fang District of Chiang Mai Province who were eligible for the general election on March 24, B.E. 2562. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. The qualitative data were collected via in-depth interview with 9 key informants. The obtained data were examined by descriptive method.
From the study, the following results are found:
1) The political participation of ethnic people in general election in Fang District, Chiang Mai Province is overall at a high level (x̄ = 3.79). When each aspect is examined, all aspects are at a high level, with the following sequence from high to low: exercising people's rights (x̄ = 3.88), supporting democracy (x̄ = 3.81), decision to electoral (x̄ = 3.74), and participating in an election campaign (x̄ = 3.72), respectively. According to the interviews, the findings show as follows: (1) Exercising people's rights refers to defending one's constitutionally guaranteed rights in order to have a better quality of life; (2) Supporting democracy refers to public relations concerning elections that stimulate the interest and enthusiasm of new generations of ethnic people in exercising their voting rights for their own advantage; (3) The decision to electoral refers to selecting a person with whom one is familiar and trusting, as well as providing assistance and resolving current problems; and (4) Participating in an election campaign refers to conversing and exchanging opinions about various community events.
2) Factors related to the political participation in general election: (1) political interest; (2) media influence; (3) tradition; and (4) political party policy and Iddhipāda (the four paths of accomplishment) are correlated with ethnic people's political participation in general election in Fang District, Chiang Mai Province, with a statistical significance of 0.01 level.
3) The guidelines for applying Iddhipāda (the four paths of accomplishment) in the political participation of ethnic people in general election in Fang District, Chiang Mai Province include the following: (1) Chanda (aspiration) to increase willingness or contentment in researching the portfolios of each candidate and policies of each political party; (2) Viriya (effort) to increase effort in following up on election information and procedures; (3) Citta (thoughtfulness) to encourage voter interest in election by considering each candidate's qualities and the policies of each political party in order to understand the benefits that one will receive; and (4) Vīmaṃsā (investigation) to create a process for assessing the qualities of each candidate and their political party, while also giving opportunity for people to participate in a variety of ways.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|