โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ผลของการบูรณาการพุทธจิตวิทยาและโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมต่อสุขภาวะทางจิตในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Effects of Integrating Buddhist Psychology and Neuro - Linguistic Programming on Promoting Psychological wellbeing in Cancer Patients
  • ผู้วิจัยนางสาวปัญนิษา จำรัสธนเดช
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • วันสำเร็จการศึกษา22/07/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50226
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 42

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดการดูแลสุขสภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง 2) เพื่อนำเสนอโปรแกรมการบูรณาการพุทธจิตวิทยาและโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ส่งเสริมต่อสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง 3) เพื่อนำเสนอผลของโปรแกรมการบูรณาการพุทธจิตวิทยาและโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ส่งเสริมต่อสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 15 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ตามหลักยืนยันสามเส้า และเทคนิค 6 Cs การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสูจน์สมมุติฐานด้วยt-test

ผลการวิจัยพบว่า

     1. การศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดการดูแลสุขสภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง พบว่า หลักพุทธธรรมที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งปฏิบัติตามแล้วมีสุขภาวะทางจิตด้านความรู้สึกผ่อนคลาย ความมั่นคงทางจิตใจ ภาวะจิตใจที่เป็นสุข และสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติสุขได้ คือ หลักสติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1) กายานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณากาย 2) เวทนานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณาเวทนา 3) จิตตานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณาจิต และ 4) ธัมมานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณาธรรม ตามเป็นจริง และแนวคิดจิตวิทยาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับสติปัฏฐาน ประกอบด้วย 1) การเห็นคุณค่าในตนเอง  การโปรแกรมจิตให้เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองในการเผชิญกับความยากลำบากที่เกิดขึ้น 2) การควบคุมอารมณ์ความรู้สึก การโปรแกรมจิตให้สามารถจัดการกับอารมณ์ทุกชนิดที่ทำให้สิ้นหวัง 3) การคิดบวก การโปรแกรมจิตให้คิดดีเพื่อเอาชนะความรู้สึกลบที่ทำให้หมดอาลัยในชีวิต และ 4) การปรับจิตใต้สำนึก การโปรแกรมจิตให้คิดในสิ่งที่ดีเพื่อบำบัดจิตใต้สำนึกที่ไม่ดีให้ดีขึ้นจนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

     2. โปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เรียกว่า ปัญนิษา 444 (PANNISA 444 MODEL) เป็นรูปแบบการประยุกต์ใช้หลักสติปัฏฐาน 4 คือ 1) ตั้งสติกำหนดพิจารณาร่างกายด้วยการพิจารณาแยกความรู้สึกจากกาย 2) พิจารณาความรู้สึกหดหู่ เศร้าหมอง กังวล เครียด  3) พิจารณาจิตใจให้แยกความเจ็บป่วยออกจากจิต และ 4) พิจารณาสภาวธรรมที่ไม่ดีที่ครอบงำ บีบคั้น และปรุงแต่งจิตใจให้เกิดความหดหู่ เศร้าหมอง และหมดอาลัยในชีวิต กับแนวคิดจิตวิทยาโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส 4 ด้าน คือ 1) การเห็นคุณค่าในตนเองด้วยการสื่อสารสั่งจิตให้เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง 2)  การควบคุมอารมณ์ความรู้สึกด้วยการสื่อสารเพื่อสั่งจิตให้สามารถจัดการกับอารมณ์เชิงลบ 3) การคิดบวกด้วยการสื่อสารเพื่อสั่งจิตให้คิดในเชิงบวก  4) การปรับจิตใต้สำนึกด้วยการสื่อสารเพื่อสั่งจิตให้คิดดีจนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง 1) มีความรู้สึกผ่อนคลาย 2) มีความมั่นคงทางจิตใจ 3) มีภาวะจิตใจที่เป็นสุข และ 4) มีการดำเนินชีวิตได้ปกติสุข

     3. ผลของโปรแกรมการบูรณาการพุทธจิตวิทยาและโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ส่งเสริมต่อสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง แสดงว่า โปรแกรมได้ช่วยให้สุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงขึ้นและดีขึ้นหลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 และผู้ป่วยโรคมะเร็งกลุ่มทดลองที่เข้าโปรแกรม โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตมหัศจรรย์ มีผลทำให้มีสุขภาวะทางจิตที่สูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           The study aimed 1) to study and analyze the psychological concepts of cancer patients’ mental wellbeing; 2) to present a program integrating Buddhist Psychology and the Neuro Linguistic Program having an effect on the cancer patients’ mental wellbeing; and 3) to present the effects of a program integrating Buddhist Psychology and the Neuro Linguistic Program having an effect on the cancer patients’ mental wellbeing. This study was a quasi-experimental researh in nature, using an in-depth interview to collect data from 18 key informants selected by a purposive sampling and the sample group using the Program of G*Power secured 30 samples divided into the experimental group of 15 participants and control group of 15 participants. A content analysis, triangulation analysis and the 6Cs technique were used for analyzing qualitative data. For the analysis of quantitative data statistics including Percentage, Mean and Standard Deviation (S.D.) was used and hypotheses of the study were proved by t-test.

            The results of the study were as follows:

          1. A study of study and analyze the psychological concepts of cancer patients’ mental wellbeing showed that  the Buddhist doctrines applied by the cancer patients for enhancing their mental wellbeing in terms of relaxation, psychological stability, happiness and normal life consisted of 4 foundations of mindfulness including 1) contemplation of the body, 2)  contemplation of feelings, 3) contemplation of mind, and 4) contemplation of mind-objects; and the psychological concepts of the Neuro Linguistic Program that the cancer patients applied for enhancing their mental wellbeing together with 4 foundations of mindfulness  consisted of 1) self-esteem, 2) emotional control, 3) positive thinking, and 4) subconscious adjustment.

        2. A program integrating Buddhist Psychology and the Neuro Linguistic Program having an effect on the cancer patients’ mental wellbeing is called “PANNISA 444 MODEL” as an application model of four foundations of mindfulness comprising 1) contemplating the body by separating the feeling from the body, 2) contemplating feelings of depression, anxiety and stress, 3) contemplating mind by separating the illness from the mind, and 4) contemplating the unhealthy state of dharma dominating, oppressing and manipulating the mind to cause depression and mourning in life, integrated with 4 psychological concepts of the Neuro Linguistic Program comprising 1) self-esteem through a communication to direct the mind to build confidence in one’s own potential, 2) emotional control through a communication to direct the mind to be able to deal with negative emotions, 3) positive thinking through a communication to direct the mind think positively to overcome negative feelings, and 4) subconscious adjustment through a communication to direct the mind to think well until being able to lead a normal life, resulted in cancer patients’ four aspects of mental wellbeing including 1) relaxation, 2) psychological stability, 3) happiness, and 4) normal life.

          3. The effects of a program integrating Buddhist Psychology and the Neuro Linguistic Program having an effect on the cancer patients’ mental wellbeing showed that the program has helped the cancer patients’ mental wellbeing to be higher and better after participating in activities with a statistical significance of 0.5, and the cancer patients of the experimental group participated in the program “Miraculous Mental Health Promotion Program” resulted in higher mental wellbeing than the control group at a statistical significance of 0.5

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ