-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชนเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeople’s Satisfaction with Government’s Co-Payment Scheme at Sai Mai District, Bangkok Metropolis
- ผู้วิจัยนายศุภกฤต เนียมสอาด
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร. อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร. เติมศักดิ์ ทองอินทร์
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50230
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 286
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อเสนอแนวการปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม โดยระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 399 คน จากประชาชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา จำนวน 9 รูปหรือคน และด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1.ระดับความพึงพอใจที่มีต่อนโยบายรัฐ โครงการคนละครึ่ง ของประชาชนเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านนโยบายรัฐ รองลงมาได้แก่ ด้านเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ ด้านวิธีการเข้าถึงนโยบาย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร ตามลำดับ
2.ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่ง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่งไม่แตกต่างกัน จึงไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3.แนวการปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ ดังนี้ ด้านนโยบายรัฐตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประชาชนเลือกให้ความสนใจนโยบายรัฐ รับรู้และตีความ นโยบายที่ประชาชนได้รับประโยชน์ รัฐมีนโยบายและออกมาตรการเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนช่วงวิกฤติอย่างทั่วถึง และช่วยเหลือร้านค้าย่อย ด้านเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 รัฐกำหนดหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ การจับจ่ายใช้สอยสะดวก รัฐมีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึงผ่านหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชน และมีการติดตามปัญหาต่างๆ ด้านวิธีการเข้าถึงตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยการให้ข้อมูลวิธีการใช้จ่าย มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกประเภท มีหน่วยงานกำหนดอำนวยความสะดวกรองรับการแก้ปัญหาให้แก่ประชาชน ด้านการให้ข้อมูลข่าวสารตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยรัฐให้ข้อมูลผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ไปกระจายต่อท้องที่และส่งถึงประชาชน พร้อมติดตามรายงานปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงโครงการของประชาชนต่อภาครัฐ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกันในมาตรการอื่นๆ ที่รัฐมีแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือประชาชน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research paper were 1. To study the satisfaction with the government’s co-payment scheme of the people at Sai Mai District, Bangkok Metropolis. 2. To compare the satisfaction with government’s co-payment scheme of the people at Sai Mai District, Bangkok Metropolis, classified by individual factors, and 3. To propose guidelines for creating satisfaction with government’s co-payment scheme of the people at Sai Mai District, Bangkok Metropolis by applying Buddha-dhamma. Methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected by using questionnaires with the confidence value at 0.967. The samples were 399 people who had the right to vote at Sai Mai District, Bangkok Metropolis, randomly sampled from a total population of 163,082 people using Taro Yamane's formula with the error level set at 0.05. The statistics used for the data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis was tested by t-test and F-test. The data from the opened questionnaire were analyzed by describing the frequency distribution in the table. The qualitative research, data were collected by In-depth interviewing 9 key informants and analyzed by content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1.Satisfaction level with government’s co-payment scheme of the people at Sai Mai district, Bangkok Metropolis, by overall, was at moderate level ( =3.29) When considered in descending order of average as follows: The aspect with the highest average was state policy. ( =3.46), followed by terms of use ( =3.29), how to access the policy ( =3.25) and the aspect with the lowest average value was information provision. ( =3.17) respectively.
2.The results of the hypothesis testing were found that people with different age, education, occupation and income had different satisfaction with the Half and Half project significantly at the 0.05 level, therefore, the research hypothesis was accepted. People with different genders had not different satisfaction with the Half and Half project. Therefore, the research hypothesis was rejected.
3.Practical guidelines for creating satisfaction with the government’s co-payment scheme of the people at Sai Mai District, Bangkok Metropolis by applying Sangahahavatthu as follows: Regarding the state policy according to the principle of Sangahahavatthu 4, people chose to pay attention to state policy., recognized and interpreted policies that benefited the public The government had policies and measures to thoroughly solve problems during the crisis and helped retailers. The conditions for using rights according to the principle of Sangahahavatthu 4, state determined the criteria for those who were eligible to participate in the project by convenient shopping. The state publicized the project thoroughly through agencies that were close to the people and followed up on various problems. On methods of access according to Sangahavatthu 4 by providing information on how to spend There is public relations through all types of media. There was a designated agency to provide convenience for solving problems for the people. Regarding the provision of information according to the Sangahavatthu 4, the state provided information through local administrative organizations to be distributed to the localities and to the people, including following up with reports on problems and obstacles in accessing public projects to the government sector. as a guideline for resolving and preventing other measures that the state has guidelines to help the people.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|