โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์การสำรวมอินทรีย์ที่ปรากฏในมาคัณฑิยสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Controlling Faculty as Appear in Māgaṇḍiya Sutta
  • ผู้วิจัยนางสาวพรรัตน์ ตั้งธนะพงศ์
  • ที่ปรึกษา 1พระเมธีวรญาณ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาอดิเดช สติวโร, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 3รศ. พิเศษ ดร.จุฑามาศ วารีแสงทิพย์
  • วันสำเร็จการศึกษา06/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50232
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 135

บทคัดย่อภาษาไทย

             วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและสาระสำคัญของมาคัณฑิยสูตร (2) เพื่อศึกษาการสำรวมอินทรีย์ที่ปรากฏในมาคัณฑิยสูตร และ (3)เพื่อวิเคราะห์การสำรวมอินทรีย์ที่ปรากฏในมาคัณฑิยสูตร

       ผลการวิจัยพบว่า พระสูตรนี้เกิดขึ้นที่เมืองกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร เพื่อแสดงธรรมเรื่องการสำรวมอินทรีย์ แก่มาคัณฑิยปริพาชก ด้วยทรงพิจารณาว่า บุคคลนี้มีอุปนิสัยที่จะบรรลุอรหัตตผลสามารถเจริญปัญญาในพระพุทธศาสนา โดยยกอุปมา-อุปไมยขึ้นแสดง 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องที่ 1.เปรียบกามของมนุษย์กับกามทิพย์ เรื่องที่ 2. เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน เรื่องที่ 3.เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด และทรงตรัสพุทธพจน์ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐซึ่งโรคในที่นี้ไม่ใช่โรคาพยาธิ หากแต่เป็นโรคที่มาจากกามคุณ 5 อันเกิดด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสในส่วนที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ

               การสำรวมอินทรีย์ที่ปรากฏในมาคัณฑิยสูตร พบว่า เนื้อหาในพระสูตรกล่าวถึง อินทรีย์ 6 คือ (1) จักขุนทรีย์ มีหน้าที่และความเป็นใหญ่ในการเห็นรูป, สี (รูปะ) (2) โสตินทรีย์ มีหน้าที่และความเป็นใหญ่ในการได้ยินเสียง (สัททะ) (3) ฆานินทรีย์ มีหน้าที่และความเป็นใหญ่ในการได้กลิ่น (คันธะ)(4) ชิวหินทรีย์ มีหน้าที่และความเป็นใหญ่ในการลิ้มรส (รสะ) (5) กายินทรีย์ มีหน้าที่และความเป็นใหญ่ในการสัมผัส (โผฏฐัพพะ) (6) มนินทรีย์ มีหน้าที่และความเป็นใหญ่ในการรับรู้อารมณ์ (ธัมมารมณ์) บุคคลบางคนเคยได้รับการบำเรอด้วยกามคุณ 5 อันเกิดด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ในส่วนที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ต่อมารู้การเกิด การดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากกามคุณ 5 ได้ตามความเป็นจริง สามารถละตัณหาได้ บรรเทาความเร่าร้อนอันเกิดจากกามคุณ 5 ได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบภายในอยู่ ผู้นั้นได้ชื่อว่า การสำรวม อันเป็นธรรมที่ทำให้คนฉลาดรอบรู้ และเป็นอริยะ

          วิเคราะห์การสำรวมอินทรีย์ที่ปรากฏในมาคัณฑิยสูตร พบว่า การสำรวมอินทรีย์ 6 นำพาศีลให้เกิดความบริสุทธิ์ เป็นการสำรวมกาย สำรวมวาจา อันเป็นผลให้เกิดความบริสุทธิ์ของจิต และด้วยอำนาจของอินทรีย์ 5 ที่เกื้อหนุนให้มีพละกำลัง ส่งผลให้อินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีความเข้มแข็งมีความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน รักษาศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป เกิดปัญญาญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริง มาคัณฑิยะเป็นภิกษุในธรรมวินัย โดยมีปฏิปทาของสาวกในพระพุทธศาสนา คือ การสำรวมอินทรีย์ในพระนวกะ 5 การสำรวมอินทรีย์ในสังวร 5 การสำรวมอินทรีย์ในปาริสุทธิศีล 4 ในกาลนั้นมาคัณฑิยปริพาชกบรรลุอรหัตตผลเป็นที่สุด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              The objectives of this thesis were 1) to study the background and essence of Māgaṇḍiya Sutta, 2) to study the controlling faculties (Indriya) as appeared in Māgaṇḍiya Sutta, and 3) to analyze the controlling faculties in Māgaṇḍiya Sutta.

          The result of the study of the first objective found that this sutta occurred in a town of the Kurus named Kammāsadhamma. The Lord Buddha had retired to the five-house of Bhāradvāja to preach the discourse on the restraint of sense-faculties to Māgaṇḍiya Piribhājaka whom one was considered by him that his character can be attained Arahatta-phala by the cultivation of wisdom in Buddhism. The Lord Buddha then used a series of parables to express his teachings; 1) the parable of pleasure of man and divine, 2) the parable of the sensual pleaser as a leper, and 3) the parable of the sensual pleaser as a blind person. And the Lord Buddha concluded his teaching with a stanza in praise of health as the highest gain, which means not subject to disease, it means the five sensual pleasures that arise from form, sound, smell, taste, and touch. 

           The result of the study of the second objective found that the content of sutta has mentioned the six senses-faculties (Indriya); (1) Cakkhundriya: eye-faculty - the capacity to process visual information, (2) Sotindriya: ear-faculty - the capacity to process sound, (3) Ghānindriya: nose-faculty - the capacity to process smells, (4) Jivhindriya: tongue-faculty - the capacity to process tastes, (5) Kāyindriya: body-faculty - the capacity to process touch, and (6) Manindriya: mind-faculty - the capacity to process mind-objects. Some people have indulged in the five sensual pleasures arising from form, sound, smell, taste, and touch in the sensual pleasures. Later, he has known the arising, the falling, the advantage, the disadvantage, and these things might be abandoned. One who is without sensual pleasures, and has a peaceful mind that is called the restraint of sense-faculties which is the principle of Dhamma to make a clever person and be a Noble Person. 

            The result of the study of the third objective found that restraint of the six sense-faculties (Indriya) leads to the purity of morality, it is the control of body and speech which results in the purity of the mind. The power of the five Indriya supports the six sense-faculties having the strength and capacity to process one’s function, observing morality for more purity of mind, having knowledge, and knowing reality. Māgaṇḍiya was a Bhikkhu in Dhamma and Vinaya, he was the conduct of a disciple in Buddhism, that is the control of sense-faculties in a newly ordained Bhikkhu, the control of the five Indriya, the restraint of the four purities of moral behavior (Pārisuddhisīla), at that time he became one of the fruit of the Worthy One (Arahatta-phala) 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ