-
ชื่อเรื่องภาษาไทยมโนทัศน์ว่าด้วยความดี ความชั่วในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Concept of Good and Evil in Dhammapada Atthakathã
- ผู้วิจัยPhra Mony Keo
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสุพัตร์ วชิราวุโธ, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.เกรียงไกร พินยารัก
- วันสำเร็จการศึกษา31/05/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50234
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 74
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง มโนทัศน์ว่าด้วยความดี ความชั่วในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับพุทธจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษามโนทัศน์เรื่องความดี ความชั่วในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท 3) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์เรื่องความดี ความชั่วในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท จากการศึกษา พบว่า
หลักพุทธจริยศาสตร์มีสาระสำคัญของพุทธจริยศาสตร์ คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำกุศลคือความดีให้พรั่งพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว เกณฑ์วินิจฉัยความดี –ชั่วตามทัศนะของพระพุทธศาสนา ใช้เกณฑ์การตัดสินจากมูลเหตุของการกระทำ คือ เจตนาที่เป็นกุศล-อกุศลเป็นหลัก ใช้ผลของการกระทำ และการยอมรับของวิญญูชน เป้าหมายสูงสุดในชีวิตของพุทธจริยศาสตร์ แบ่งได้เป็นสองระดับ คือ ระดับโลกิยะ และระดับโลกุตระ (นิพพาน)
มโนทัศน์ความดีความชั่วที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท เป็นพุทธจริยศาสตร์ที่ควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง มีเนื้อหาเรื่องราวประกอบ ก่อให้เกิดภาพและสำนึกที่ดีสำหรับผู้ศึกษา ได้เห็นถึงพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัวที่แสดงออกในแต่ละเรื่อง เห็นถึงจริยธรรมของตัวละครอย่างชัดเจนมีการจำแนกความดี - ความชั่วแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง เนื้อหาสาระสำคัญมุ่งแสดงเพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงเรื่องราวของพุทธจริยศาสตร์โดยผ่านพฤติกรรมของตัวละคร
วิเคราะห์มโนทัศน์ว่าด้วยความดี ความชั่วในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ความดีหมายถึงการที่จิตประกอบด้วยกุศลธรรมมีเจตนาดีในการกระทำความชั่วซึ่งเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับความดี การวินิจฉัยความดี – ความชั่ว ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท เกณฑ์ตัดสินความดีความชั่วในอรรถกถาธรรมบทใช้เกณฑ์หลักคือเจตนา และเกณฑ์รองได้แก่บัณฑิตชนร่วมในการตัดสิน ในอรรถกถาธรรมบทมีปัญหาเกี่ยวกับความดีความชั่ว มีการยกตัวอย่างบุคคลที่ประกอบความดี และมีตัวอย่างบุคคลที่ประกอบความชั่วอกุศล การยกตัวอย่างความดี ความชั่วในอรรถกถาธรรมบทได้ยกตัวอย่างบุคคลครอบคลุม 3 ด้านคือทางกาย ทางวาจา และทางใจ การยกตัวอย่างทำให้มโนทัศน์เรื่องความดี ความชั่วที่ปรากฎในอรรถกถาธรรมบทชัดเจนมากยิ่งขึ้น สำหรับเป้าหมายสูงสุดมโนทัศน์ว่าด้วยความดีคือ การพ้นจากสิ่งที่เป็นความชั่วคือการได้เข้าถึงนิพพาน ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามทางสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเข้าไปถึงเป้าหมาย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Thesis on Concept of goodness The objectives of evil in the Dhammapada Atthakatha are 1) to study the concept of Buddhist ethics 2) to study the concept of goodness. Evil in the Commentary on the Dhammapada 3) to analyze the concept of goodness Evil in the Dhammapada Commentary from the study found that
Principles of Buddhist Ethics The essence of Buddhist ethics is not to do any evil deeds. Doing good deeds means providing good deeds. Purifying one's mind Criteria for diagnosing goodness –Evil according to the Buddhist viewpoint Use the judgment criteria based on the root cause of the action, which is the intent which is virtuous - virtuous as the main principle. Use the results of your actions and acceptance of reasonable people The highest goal in life of Buddhist ethics It can be divided into two levels: Lokiya level and Lokakutara level (Nirvana).
The concept of good and evil that appears in the Dhammapada Commentary. It is Buddhist ethics that should be studied very much. Contains story content It creates a good image and awareness for the student. Seeing the behavior of each character expressed in each story. The morality of the characters is clearly seen and there is a classification of good and evil inserted into the story. The main content aims to make students aware of the story of Buddhist ethics through the behavior of the characters.
Analyze the concept of goodness Evil in the Dhammapada Commentary Good deeds mean that the mind is composed of good deeds and has good intentions in doing bad deeds, which are the opposite of good. Diagnosis of good and evil in the Dhammapada Commentary The main criterion for judging good and evil in the Dhammapada Commentary is intention. and a secondary criterion includes graduates participating in the judging. In the Commentary on the Dhammapada, there is the problem of good and evil. There are examples of people who have done good deeds. And there are examples of people who commit evil deeds. Example of goodness Evil in the Atthakatha Dhammapada gives examples of people covering three aspects: physical, verbal, and mental. Using examples gives the concept of goodness. The evil that appears in the Commentary on the Dhammapada is even more clear. For the ultimate goal, the concept of goodness is To escape from evil is to attain nirvana. Which must follow the middle path, namely the Eightfold Path, which is an important tool to reach the goal.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|