โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel of Universal Design Management of Monasteries in Ayutthaya Province
  • ผู้วิจัยพระมหาบรรณ์ ปญฺญาธโร (บุตรดี)
  • ที่ปรึกษา 1พระอุดมสิทธินายก, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสุธีกิตติบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา17/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50238
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 69

บทคัดย่อภาษาไทย

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3.เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามจากเจ้าอาวาส ตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หน่วยงานราชการ และนักวิชาการทางการจัดการเชิงพุทธ ด้วยการเลือกแบบเจาะจงตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

               ผลการวิจัย

1.สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัดในจังหวัดอยุธยา พบว่า  มีจุดแข็งด้านความเป็นศูนย์กลางชุมชนทำให้มีความพร้อมในการจัดหาบุคคลากรมาช่วยงาน         ง่ายต่อการจัดหาและขอรับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์ เครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการ  ในขณะเดียวกันมีจุดอ่อนด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง  ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะความชำนาญโดยตรงด้านอารยสถาปัตย์  นอกจากนี้ ผู้มาใช้บริการในวัดยังไม่มั่นใจในระเบียบกฏเกณท์ในการจัดการงานสถาปัตยกรรมของวัด มีปัญหาเกี่ยวกับข้อบังคับ ข้อกำหนด และข้อจำกัดทางกฏหมายโบราณสถาน ทำให้เกิดอุปสรรคในการบริหารจัดการตามบทบาทหน้าที่ของวัด จากนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ  ทำให้วัดมีโอกาสในการพัฒนาการบริหารจัดการสถาปัตย์ของวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมได้

2. กระบวนการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด เกิดขึ้นจากการบูรณาการองค์ความรู้ 3 ประการให้เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติงานด้านอารยสถาปัตย์ของวัด คือ ประการที่ 1. ใช้ระบบการจัดการเชิงคุณภาพ (PDCA) 1) เพื่อวางแผนดำเนินงาน  2) การลงมือปฏิบัติตามแผน   3) การกำกับติดตามงานให้เป็นไปตามกำหนด  และ 4) การปรับปรุงงานเพื่อนำไปปฏิบัติให้ดีขึ้น  ประการที่ 2. หลักการออกแบบอารยสถาปัตย์ 7 ประการ ที่คำนึงถึง 1) ความเสมอภาคทางบุคคล    2) ความยืดหยุ่นในการใช้งาน 3) การใช้ง่าย เข้าใจง่าย  4) การให้ข้อมูลที่ชัดเจน  5) การมีระบบป้องกันอันตราย 6) ประหยัดการใช้แรง  7) ขนาดและพื้นทีเหมาะสมต่อการใช้งาน ประการที่ 3 หลักสัปปายะ 4  คือ 1) การจัดการสถานที่ให้เหมาะสม  2) การให้บริการอาหารเครื่องดื่มตามสมควร 3) การจัดหาบุคลากรให้พร้อมในการปฏิบัติงาน  4) การให้ความรู้ ทักษะและการปฏิบัติที่สมบูรณ์

3. รูปแบบกระบวนการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นการจัดองค์ประกอบการบริหารจัดการ ด้วยรูปแบบย่อย 7 ประการ   คือ     1) รูปแบบการจัดการความเสมอภาคของผู้มาศึกษาท่องเที่ยว อย่างเท่าเทียมกัน 2) รูปแบบ การใช้งานในแต่ละจุดมีความยึดหยุ่น ปรับปรุง ปรับเปลี่ยนได้ตามความจำเป็น  3) รูปแบบ การใช้อุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อนและสร้างความเข้าใจได้ง่าย ในการนำเสนอเรื่องราว ความรู้ 4) รูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่มีความชัดเจน 5) รูปแบบการติดตั้งระบบป้องกันอันตราย ๆต่างๆให้แก่ผู้มาศึกษาท่องเที่ยว 6) รูปแบบของอุปกรณ์ เครื่องใช้ เพื่อการให้บริการ ซึ่งไม่ต้องใช้แรงมาก 7) รูปแบบขนาดและพื้นที่การใช้งาน แต่ละส่วน มีความเหมาะสม ต่อการใช้งาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study the general state of Universal Design management of monasteries in Ayutthaya Province, 2. To study the Universal design managing process of monasteries in Ayutthaya Province, and 3. To propose the universal design managing model of the monasteries in Ayutthaya Province, conducted by the qualitative research method. The field data were collected from 25 key informants who were the abbots, representatives of concerned people, government agencies and academicians in the field of Buddhist management, purposefully selected with the structured-in-depth-interview script that had content validity index for scale (S-CVI) that was equal to 1.00 and the data were analyzed by content descriptive interpretation. Data were also collected from 9 participants who were experts in focus group discussion and analyzed by content descriptive analysis.

          Findings were as follows:

1. The general condition of the universal design management of monasteries in Ayutthaya Province was found to have the strength of being a community center, making it ready to recruit personnel to help with the work. Easy to procure and obtain appropriate technology support, equipment and tools to manage. At the same time, there was a weakness in high operating costs, lack of knowledgeable personnel, direct expertise in the universal design. In addition, those who come to use the monasteries’ services were not confident in the rules and regulations for managing the universal design of the monasteries. There were problems with regulations, requirements, and legal restrictions on ancient sites. This created obstacles in the management according to the roles and responsibilities of the monasteries. From the government's tourism promotion policy, this gave the monasteries an opportunity to develop the architectural management of the monasteries into a religious and cultural tourist attraction.

2. The process of the universal design management of the monasteries arose from the integration of 3 knowledge points into the steps of the universal design management of the monasteries, namely,1) Use the quality management system (PDCA); (1) To plan the work (2) To do of the plan (3) To check and follow up on work to be as scheduled and (4) To act, to improving work for better implementation. 2). the 7 principles of the universal design that take into account are: 1) Equality of persons. 2)Flexibility in use 3) Easy to use, easy to understand 4) Providing clear information 5) Having a system to prevent danger. 6) Save on labor. (7) Size and area suitable for use. 3), The 4 principles of Sappaya are: 1) Proper management of the place. 2)Providing appropriate food and drink services 3)Providing personnel ready to perform work 4) Providing the complete knowledge, skills and practice.

3. Model of Universal Design Management of Monasteries in Ayutthaya Province was an arrangement of management elements with 7 sub-models: 1) Model for managing the equality of those who come to study tourism. equally 2) The format for use at each point is flexible and can be improved and adjusted as needed. 3) The format for using equipment was not complicated and created easy understanding in presenting stories and knowledge 4) The format for presenting information was clear 5)Format of installation of danger prevention system various things for those who come to study and travel 6) Forms of equipment and appliances for providing services which does not require much force 7) The format, size and area of ​​use of each weart are appropriate for use.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ