โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗ ของโรงเรียนเอกชน ในเขตตรวจราชการที่ ๑๒
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA model for Teacher Development in Learning Management through Professional Learning Community Process According to the Seven Kalyāṇamittadhamma of Private Schools in the 12th Official Inspection Area
  • ผู้วิจัยนางสาวนิตยา อาจหาญยิ่ง
  • ที่ปรึกษา 1พระฮอนด้า วาทสทฺโท, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา06/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50240
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 47

บทคัดย่อภาษาไทย

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนเอกชนในเขตตรวจราชการที่ 12 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนเอกชนในเขตตรวจราชการที่ 12 และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนเอกชนในเขตตรวจราชการที่ 12 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ทั้งวิธีเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 539 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความ ต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

       ผลการวิจัยพบว่า

       1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนเอกชนในเขตตรวจราชการที่ 12 พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ทีมร่วมแรงร่วมใจ รองลงมา คือการสนับสนุนและการมีภาวะผู้นำร่วมกัน และ การแลกเปลี่ยนการปฏิบัติงานระหว่างบุคคลตามลำดับ

        2) รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนเอกชนในเขตตรวจราชการที่ 12 ประกอบด้วยชื่อรูปแบบ วัตถุประสงค์ หลักการแนวคิด เนื้อหาและผลลัพธ์ที่คาดหวัง และมีองค์ประกอบ คือการมีค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม การแลกเปลี่ยนการปฏิบัติงานระหว่างบุคคล การสนับสนุนและการมีภาวะผู้นำร่วมกัน และทีมร่วมแรงร่วมใจ

 

       3) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนเอกชนในเขตตรวจราชการที่ 12 พบว่า มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับ มาก

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

       The objectives of this research were: 1) to study the current situation, desirable conditions, and needs of teacher development in learning management through the professional learning community process of private schools in the 12th Official Inspection Area; 2) to develop a teacher development model in learning management through a professional learning community process according to the principles of the Seven Kalyāṅamitta of the private schools and 3) to evaluate the teacher development model in learning management through the professional learning community process as mentioned. This study was carried out by means of mixed-method research both quantitative and qualitative approaches. The sample group included 539 administrators and teachers. Data collection tools included a questionnaire, a semi-structured interview, and an assessment form. The data were analyzed using mean, standard deviation, PINmodified, and content analysis.

       The research results were as follows:

       1) Based on the Priority Needs Index of teacher development in learning management through a professional learning community process of the private schools, the greatest need was a collaborative team, followed by support and shared leadership and exchange of work between individuals, respectively.

       2) The model for teacher development in learning management through the professional learning community process according to the Seven Kalyāṇamittadhamma of the private schools, consisting of name, objectives, principles and concepts, content and expected results and has elements as to have shared values and vision, interpersonal practice exchange, shared support and leadership and the teamwork.

       3) The results of the evaluation of the teacher development model in learning management through the professional learning community process showed that the model’s correctness, feasibility, and usefulness were at a high level.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ