-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSolid Waste Management Model of Monasteries in Ayutthaya Province
- ผู้วิจัยพระสมพล ยสชาโต (คล้ายสุบรรณ)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ธิลาว
- ที่ปรึกษา 2พระครูสุธีกิตติบัณฑิต, รศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา17/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50241
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 41
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการจัดการขยะมูลฝอยของวัด
ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษากระบวนการในการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยภาคสนาม โดยใช้การสัมภาษณ์
เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ คือ เก็บรวบรวมด้วยการลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพทั่วไปในการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า มีจุดแข็ง คือ วัดส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการวัด ประชา รัฐสร้างสุขด้วย 5 ส ส่งผลให้วัดมีการดูแลรักษาความสะอาดอยู่เป็นประจำทุกวัน และมีการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายในการจัดการขยะ แต่มีจุดอ่อน คือ ขาดการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ มีโอกาส คือ มีหน่วยงาน มีจิตอาสาเข้ามาร่วมกันจัดการขยะ แต่มีอุปสรรค คือ ประชาชนขาดความเข้าใจและให้ความร่วมมือน้อยในการจัดการขยะ
2. กระบวนการในการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า มี 4 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการวางแผน ได้แก่ วัดมีการปรึกษาหารือกับ อบต. ผู้นำชุมชน กรรมการวัด พระสงฆ์ภายในวัด และประชาชนเป็นประจำ 2) กระบวนการลงมือทำ ได้แก่ วัดได้เพิ่มจำนวนถังขยะให้มากขึ้นและประชาสัมพันธ์ให้คัดแยกขยะก่อนทิ้งในถังขยะ 3) กระบวนการตรวจสอบ ได้แก่ เจ้าอาวาสเดินตรวจสอบขยะรอบบริเวณวัดให้มีความสะอาดด้วยตนเอง มีคณะกรรมการตรวจสอบส่วนกลางจากโครงการวัด ประชา รัฐสร้างสุขด้วย 5 ส และมีประชาชนร่วมกันตรวจสอบความสะอาดภายในบริเวณวัด 4) กระบวนการแก้ไข ได้แก่ วัดมีการจัดหาอุปกรณ์ทำความสะอาดให้มากขึ้น มีการขอความร่วมมือกับหน่วยงานเข้ามาช่วยการจัดการขยะ
3. รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า มี 5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1. ด้านการลดปริมาณขยะ ได้แก่ การใช้พัดลม แทนพวงหรีด แทนดอกไม้สดในงานศพ การใช้ปิ่นโตใส่อาหารและตะกร้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น รูปแบบที่ 2. ด้านการนำมาใช้ใหม่ ได้แก่ การนำข้าวสุกภายในวัดมาตากแห้ง การนำเสื้อผ้ามือสองมาเพ้นลายใหม่แล้วนำใช้ใหม่ได้ เป็นต้น รูปแบบที่ 3. ด้านการนำขยะมาแปรรูปใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ พลาสติก โลหะ นำเข้าโครงการธนาคารขยะเพื่อจำหน่าย หรือนำกระดาษมาทำกล่องออมสินหรือกล่องใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ เป็นต้น รูปแบบที่ 4. ด้านการซ่อมแซ่มหรือแก้ไข ได้แก่ การนำโต๊ะ เตียง เก้าอี้มาซ่อมแซ่มเพื่อใช้งานและไม่ให้เกิดขยะ เป็นต้น รูปแบบที่ 5. ด้านการหลีกเลี่ยงวัสดุที่ทำลายยาก ได้แก่ การนำกระป๋องกำจัดยุง มด แมลง ขวดน้ำยาล้างห้องน้ำ บรรจุภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาด หลอดไฟ รวบรวมในถังขยะเฉพาะเพื่อนำไปกำจัด เป็นต้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research study were: 1. To study the general condition of solid waste management of monasteries in Ayutthaya Province 2. To study the solid waste management process of monasteries in Ayutthaya Province 3. To propose the solid waste management model of monasteries in Ayutthaya Province. The research is qualitative research (Qualitative Research) and field-work research (Field-work Research) applying in-depth interviewing 25 key informants and 9 participants in focus group discussions, collected data by field visit to interview and analyzed data by descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. General conditions of solid waste management of monasteries in Ayutthaya Province was found that: Strength; most of the monasteries participated in the ‘Wat Pracha Rat Sangsuk Project’(Monastery, People, State Happiness Creation Project) with 5’s principle, resulting in the monasteries maintaining cleanliness on a daily basis and collaborating with network partners in waste management. Weakness; lack of systematic waste separation. Opportunity; there were agencies and volunteers to participate in waste management. Threat; people lacked understanding and little cooperation in waste management.
2. Solid waste management process of monasteries in Ayutthaya was found that there were 4 processes: 1) the planning process,(Plan) the monasteries had regular consultations with the Local Administrative Organizations, (LAO), community leaders, monasteries committees, monks within the monasteries, and the people, 2) the process of action,(D0) the temple has increased the number of trash bins and promoted the sorting of garbage before disposing of it in the trash, 3) the inspection process,(Check) the abbot walked and inspected the garbage around the monastery area to be clean by himself. There was a central audit committee from the ‘Wat Pracha Rat Sangsuk Project’ with 5’s, and people came together to check the cleanliness inside the monastery’s grounds. 4 the improvement process, (Act), monasteries allocated cleaning equipment, collaborated with other agencies for garbage disposal help.
3. Solid waste management model of monasteries in Ayutthaya province was found that there were 5 models as follows: 1). Waste reduction, such as the use of electric fans instead of wreaths and fresh flowers at funerals. Using food carriers and baskets instead of plastic bags, 2) Reuse; Drying cooked rice left over from the monasteries, second-hand clothing could be re-painted with new designs and reused, etc. 3) Reprocessing of waste; such as paper, plastic, metal, importing into waste bank project for sale, or use paper to make savings boxes or equipment boxes, 4) Repair or fix, such as bringing tables, beds, chairs to repair for use and not to cause waste,
5) Avoiding hard-to-destroy materials, such as collecting mosquito ants, insects killing liquid cans, toilet cleaner bottles, cleaning solution packaging, light bulbs to collect them in dedicated bins for disposal, etc.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|