โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Management Model for Religious Sites of Temples in Ayutthaya province
  • ผู้วิจัยพระศิริวัฒน์ ปิยสีโล (คงศิริ)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ธิลาว
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสุธีกิตติบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา17/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50242
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 63

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มีระเบียบวิธีวิจัยเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 25 รูปหรือคน การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

              1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบว่า มีจุดแข็ง ดังนี้ คือ วัดส่วนใหญ่ มีศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีปูชนียสถานปูชนียวัตถุ เป็นโบราณ สามารถเปิดให้เป็น สถานที่เพื่อการท่องเที่ยว มีสถานที่สัปปายะ เหมาะสมกับการเจริญ ศีล เจริญจิตตภาวนา มีจุดอ่อน ดังนี้ คือ ผู้บริหารของวัดขาดวิสัยทัศน์และการสร้างภาคีเครือข่าย ขาดบุคลากรที่มีความรู้ บางวัดขาดการดูแล ความสามารถของเจ้าอาวาสและคณะกรรมการของแต่ละวัดมีความแตกต่างกัน มีโอกาส ดังนี้ คือ ประชาชนทั่วไปให้การสนับสนุนกิจกรรมในทางพระพุทธศาสนาเป็นหลัก มีการนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการมากขึ้น ในการสร้างโอกาสในการพัฒนาศาสนสถาน วัดเปิดโอกาศให้มีการท่องเที่ยวจากประชาชนที่มาเที่ยววัดเก่าแก่ มีอุปสรรค ดังนี้ คือ วัดยังขาดบุคลากรที่เป็นหลักเข้ามาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขาดงบประมาณในการสนับสนุนการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง

2. กระบวนการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามีกระบวนการ 4 ด้าน คือ 1) การวางแผน ได้แก่ มีการประชุมร่วมกันกำหนดนโยบายการดำเนินกิจกรรมอย่างชัดเจน การทำเป็นขั้นตอนมีเริ่มต้นและสิ้นสุดเชื่อมนโยบายต่อเนื่องกัน 2) การดำเนินการ ได้แก่ การลงมือปฏิบัติงานทำตามแผนที่ได้วางไว้ คำนึงถึงความคุ้มค่าเชิงทรัพยากรและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างวัดกับประชาชน 3) การประเมินผลลัพธ์ ได้แก่ ผลการปฏิบัติงานติดตามผลรับทราบการรายงานผลจากผู้ที่มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ และประเมินหาทางแก้ไขปรับปรุงเรื่องที่บกพร่องและพัฒนาสร้างสรรค์ แนวปฏิบัติที่ดีเพิ่มเติมมากขึ้น 4) ปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ นำผลประเมินมาหาทางดำเนินการใหม่ให้ได้ผลดีกว่าเดิม รวมถึงพัฒนาบุคลากรเพิ่มพูนทักษะ  การทำงานให้ทันสมัยมากขึ้นนำนวัตกรรมใหม่ๆ สอดแทรกไปในภารงานทุกเรื่อง

3. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามี 4 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1) การจัดการด้านต่างๆ ได้แก่ วัดมีการวางแผนดูแล มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ได้มีการบริหารครบทุกองค์ประกอบ รูปแบบที่ 2) การปรับปรุง ได้แก่ ได้มีการดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงศาสนสถานในวัดเป็นไปตามศักยภาพของวัดนั้นๆ มีการพัฒนาตามความเหมาะสมที่ดี รูปแบบที่ 3) การใช้ประโยชน์ ได้แก่ วัดเปิดให้ใช้ประโยชน์ในศาสนสถานให้กับ บุคคลทุกกลุ่มทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นแหล่งการเรียนรู้การศึกษาความเป็นมาของวัดและพิธีต่างๆมีการเปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจและปฏิบัติธรรม รูปแบบที่ 4) การบริหารจัดการและดูแลศาสนสถานของวัด ได้แก่ วัดได้จัดให้มีบุคลากรโดยเฉพาะพระภิกษุรับผิดชอบดูแลสถานที่ใช้สอย อาคารสถานที่ภายในวัดมีการดูแล  มีความสะดวก แข็งแรงพร้อมใช้งาน ในการจัดบุญพิธีต่างๆ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study the general condition of the religious places management of the monasteries in Ayutthaya Province 2. To study the process of religious places management of monasteries in Ayutthaya Province, and 3. To develop the religious places management model of the monasteries. in Ayutthaya Province

Methodology was the qualitative research using in-depth interviews with 25 key informants and focus group discussion with 9 participants collecting data by interviews and discussion, analyzing data by descriptive interpretation.

Findings were as follows:

1. The general condition of the religious places management of monasteries In Ayutthaya Province, was found that: Strength; most monasteries had the potentials to continuously develop human resources, had sacred places, sacred objects as antiques, and could be opened to be places for tourism, there were favorable places suitable for the growth of precepts and meditation. Weakness: lack of knowledgeable personnel, some monasteries lack maintenance. The abilities of the abbots and committees of each monastery were different. Opportunities: general public mainly supported activities in Buddhism. There was more use of technology for management to create opportunities for the development of religious places by opening monasteries for tourism for people who come to visit old monasteries. Threats: The monasteries still lacked the main personnel to develop continuously, lack of budget to support ongoing management

2. The process of religious places management of the monasteries in Ayutthaya Province was found that there were 4 aspects of the process: 1) planning,(Plan) having a joint meeting to set a clear policy for activities step by step, from beginning and ending, linking the policy continuously.2) Doing as planned, (Do), taking into account the resource worthiness and benefits that will occur between the monasteries and the people. 3) Evaluation of results, (Check), performance, follow-up, acknowledgment of reports from those who participated in all activities undertaken and evaluated to find solutions to improve defects and develop creativity for more good practices 4) Improving, (Act) use the evaluation results to find a new way of doing things to achieve better results. Including developing personnel to increase skills for the work to be more modern, bringing new innovations into every task.

3. The development of the religious places management model of the monasteries In Ayutthaya Province was found that there were 4 forms: 1) management in various areas, namely, the monasteries had a plan to take care, managed, improve and change the religious places in the monasteries systematically according to the potentials of those monasteries. developed according to good suitability;3) Usefulness;  monasteries were opened for all groups of people to use  as a learning source, to study the history of the monasteries and various ceremonies, tourist attraction, recreation and Dhamma practice, 4) Management and care of religious places of the monasteries,  the monasteries provided personnel, especially monks, to be responsible for taking care of the utilities, buildings and premises within the monasteries to be well maintained, convenient, strong and ready to use in organizing various ceremonies.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ