โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel for Religious Property Management of Temples in Ayutthaya Province
  • ผู้วิจัยพระครูสังฆรักษ์ มานพ อคฺคมาณโว (ชิตะ)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสุธีกิตติบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท, ผศ. ดร
  • วันสำเร็จการศึกษา17/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50243
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 59

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดพระนครศรียอยุธยา และ 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินที่เหมาะสมของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 25 รูปหรือคน การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

             1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านจุดแข็ง คือ ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของวัดอย่างเคร่งครัด มีเจ้าคณะปกครองคอยควบคุมดูแลสอดส่องอย่างใกล้ชิด ด้านจุดอ่อน คือ ขาดระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน การบริหารจัดการนิยมปฏิบัติตามอดีตเจ้าอาวาสที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา ขาดบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะด้าน เช่น กฎหมาย บัญชี ด้านโอกาส คือ มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการจัดการทรัพย์สินของวัดให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง จึงเป็นโอกาสในการหารายได้เข้าวัด ด้านอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือ มีการแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและคู่ขัดแย้งที่เสียผลประโยชน์ และในสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยทำให้วัดขาดรายได้จากแหล่งต่าง ๆ ส่งผลต่อการจัดการทรัพย์สินของวัด

          2. กระบวนการในการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำเป็นต้องใช้กระบวนการ คือ 1) การวางแผนจัดการทรัพย์สินวัด ได้แก่ มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ความต้องการปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทรัพย์สินของวัดได้รับการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า พัฒนาส่งเสริมบุคลากรของวัดให้มีความรู้และทักษะในการบริหาร 2) การลงมือปฏิบัติตามแผน ได้แก่ ดำเนินการจัดการทรัพย์สิน ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส โดยเป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อกฎหมายของคณะสงฆ์ ดำเนินการร่วมกันระหว่างเจ้าอาวาสและคณะกรรมการ โดยถือเอาผลประโยชน์สูงสุดของวัดเป็นหลัก 3) การตรวจสอบ การปฏิบัติงาน ได้แก่ มีคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินร่วมกัน ระหว่างเจ้าอาวาส ไวยาวัจกร และคณะกรรมการวัด มีการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และทะเบียนทรัพย์สินของวัด ส่งเจ้าคณะปกครอง เพื่อป้องกันการสูญหาย  4) การปรับปรุงแก้ไขพัฒนา ได้แก่ การประเมินผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกด้าน การปรับปรุงแก้ไข พัฒนาต่อยอดการจัดการทรัพย์สินให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายและพระธรรมวินัย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์การใช้สอยของวัดและชุมชม

            3. รูปแบบการบริหารทรัพย์สินที่เหมาะสมกับวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี 8 ด้าน คือ 1) ด้านการลงทะเบียนศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ใช้ทะเบียนทรัพย์สินของวัด (ศบว.1) ตามแบบที่สำนักงานพระพุทธศาสนากำหนด และใช้เทคโนโลยีการเก็บข้อมูล มาช่วยในการเก็บทะเบียนทรัพย์สินของวัด 2) ด้านการกันที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์ ได้แก่ จัดทำให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและไม่กระทบต่อทัศนียภาพของศาสนสถานสำคัญของวัด 3) ด้านการให้เช่าที่วัด ได้แก่ ทำสัญญาเช่า ตามอำนาจของเจ้าอาวาส และตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ให้ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ทำทะเบียนทรัพย์สินที่จัดประโยน์ ทะเบียนผู้เช่า และเก็บรักษาทะเบียนและหนังสือสัญญาเช่าไว้เป็นหลักฐาน 4) ด้านการให้เช่าที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เพื่อเป็นทางเข้าออก ได้แก่ ต้องดำเนินการเป็นภาระจำยอมเท่านั้น โดยเสนอเรื่องไปถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม 5) ด้านการเก็บรักษาเงินของวัด ได้แก่ ต้องเก็บในที่ปลอดภัย วัดสามารถเก็บเงินสดได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หากเกินกว่านั้นต้องนำฝากในธนาคาร 6) ด้านการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายเงินของวัด ได้แก่ มีการจัดทำบัญชี รายรับ รายจ่าย รายงานเจ้าคณะปกครองทุกปี โดยใช้แบบตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนากำหนด หรืออาจทำขึ้นเองได้ แต่ให้มีสาระสำคัญที่คล้ายกัน 7) ด้านการจัดการข้อพิพาท ได้แก่ ให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ย ประนีประนอมระหว่างคู่พิพาท หากเป็นข้อพิพาทที่ยังไม่ยุติให้แจ้งเจ้าคณะผู้ปกครอง และแจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดได้รับทราบ พร้อมทั้งอาจขอให้คณะกรรมการฝ่ายปกครองจังหวัดมาช่วยดูแล 8) ด้านแบบบัญชี แบบสัญญา และแบพิมพ์อื่น ๆ ใช้ตามแบบพิมพ์ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกำหนด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: 1. Analyze the general conditions of property management of temples in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. 2. Study the process of property management of temples in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, and 3. Present an appropriate model of property management of temples in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. This research used qualitative research methodology by using in-depth interviews with 25 key informants or people, focus group discussion with 9 experts or people collecting data by visiting the area for interviews. Descriptive data analysis.

             Findings were as follows:

              1. The general condition of property management of temples in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province has a strong point, namely that most regulations are followed. Strictly regarding the management of temple property The governor oversees and monitors closely. There is a weak point: management tends to follow the practice of the former abbot who has passed it down. There is a lack of personnel with specialized skills such as law and accounting. There is an opportunity: there is modern technology that can be used to help manage the temple's assets efficiently. There are obstacles as follows: there is interference from influential people and conflicting parties that are detrimental to results. Benefit

                2. Process for managing property of temples in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province It was found that there was a process as follows: 1) Planning, including setting objectives and goals. The need to improve the management of the temple's assets to be more efficient. 2) The practical side includes managing the assets. According to the authority of the abbot. 3) Inspection aspect, namely having a committee to jointly inspect assets. between Abbot Waiyavakorn and the temple committee.
4) Improvement and development, including the evaluation of operations to cover all aspects. improvement Continuing to develop correct property management Taking into account the usable benefits of the temple and community.

            3. Presenting a property management model suitable for temples in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. It was found that there were 8 aspects: 1) the aspect of registering religious property of the temple, namely using the temple property register (S.B.W. 1) according to the form of the Office of the Buddha. Religion stipulates 2) The aspect of keeping the temple as a place for use, i.e. making it in accordance with the relevant ministerial regulations. 3) The aspect of renting the temple, i.e. making a rental contract according to the authority of the abbot. and according to the steps specified by law. 4) In terms of renting a place at a temple or a monastery as an entrance or exit, it must be done as a servitude only. By submitting the matter to the National Office of Buddhism. and has been approved by the Sangha Supreme Council. 5) In terms of keeping the temple's money, namely, the temple can store cash not exceeding one hundred thousand baht. If more than that, it must be deposited in the bank. 6) Income accounting Expenses and expenses of the temple include keeping an account of income and expenses and reporting it to the governor every year. Using the form specified by the Office of Buddhism. 7) Dispute management includes negotiating and talking first. If there is a dispute, please inform the guardian. and notify the Provincial Buddhism Office 8) Accounting forms, contract forms, and other forms are used according to the forms specified by the National Office of Buddhism.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ