โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel Development for Adhikarana Management of the Sangha in Ayutthaya Province
  • ผู้วิจัยพระเมธีวราภรณ์ (เชิดชัย กตปุญฺโญ)
  • ที่ปรึกษา 1พระราชวัชรสารบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสุธีกิตติบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา17/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50244
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 26

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนำเสนอการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 25 รูปหรือคน การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

                1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบว่า มีจุดแข็ง คือ มีการแต่งตั้งฝ่ายปกครองคณะสงฆ์จังหวัด จากผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้าน
พระธรรมวินัย และกฎหมาย มาช่วยในการพิจารณาอธิกรณ์ การจัดการอธิกรณ์เป็นระบบ ดำเนินการรวดเร็ว ยึดหลักตามพระธรรมวินัยและกฎหมาย มี
จุดอ่อน คือ การจัดการอธิกรณ์ในแต่ละพื้นที่สามารถจัดการได้ดีไม่เท่ากัน จำนวนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านพระธรรมวินัย และกฎหมายยังมีน้อย มีโอกาส คือ มีเทคโนโลยี และสื่อสมัยใหม่ที่ทันสมัย ทำให้การสืบค้นข้อมูลหรือหาช่องทางในการช่วยระงับอธิกรณ์สามารถทำได้ง่ายขึ้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีมหาวิทยาลัยสงฆ์และสถาบันการศึกษา ที่เป็นโอกาสในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับคณะสงฆ์ได้ มีอุปสรรค คือ การร้องเรียนกล่าวโทษพระภิกษุในปัจจุบันสามารถทำได้ง่าย ใครสามารถกล่าวโทษก็ได้ เจ้าคณะปกครองบางรูปขาดความรู้ความสามารถ และมีทิฏฐิมานะ ในการปกครอง

               2. กระบวนการในการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามีกระบวนการตามหลักอธิกรณสมถะ 7 คือ 1) สัมมุขาวินัย คือ การพิจารณาในที่พร้อมหน้าทั้งโจทก์ จำเลย และมีการเรียกพยานหลักฐาน และผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบสวนพิจารณา 2) สติวินัย คือ ดูที่การกระทำโดยเจตนา หรือมีสติในการกระทำเป็นองค์ประกอบสำคัญ 3) อมูฬหวินัย คือ หากพบการกระทำผิดในขณะที่มีอาการผิดปกติทางจิต จะได้รับการยกเว้นความผิดให้ หรือส่งตัวไปรักษา
4) ปฏิญญาตกรณะ คือ มีการจดบันทึกคำให้การของจำเลย ตลอดจนให้ข้อคิด ข้อแนะนำ แล้วตัดสินไปตามคำรับสารภาพของจำเลย 5) ด้านเยภุยยสิกา คือ ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ ตัดสินความผิดโดยใช้ความเห็นร่วมกัน หรือเสียงข้างมากของคณะกรรมการ 6) ตัสสปาปิยสิกา คือ การตัดสินลงโทษจำเลยตามพยานหลักฐานที่ปรากฎ 7) ติณวัตถารกวินัย หาทางออกร่วมกันจนเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย ให้เลิกแล้วต่อกัน และหลักการบริหารความขัดแย้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านการปรองดอง คือ ให้คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายหันหน้ามาคุยกัน โดยใช้เหตุและผล ให้มีเมตตาต่อกันเป็นที่ตั้ง 2) ด้านการหลีกเลี่ยง คือ ให้เอาพระธรรมวินัย เป็นพื้นฐาน หลีกเลี่ยงมิให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้น 3) ด้านการประนีประนอม คือ หาจุดร่วม พบกันครึ่งทาง ถอยคนละก้าว 4) ด้านการแข่งขัน คือ มีการพิจารณาโดยนำพยานหลักฐานของแต่ละฝ่ายมาพิสูจน์หักล้างกัน 5) การให้ความร่วมมือ คือ การร่วมมือกันจากทุกฝ่าย ร่วมมือช่วยกันในการระงับอธิกรณ์

                3. นำเสนอการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามี 4 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบด้านวิวาทาธิกรณ์ หรือการวิวาทกันในเรื่องเกี่ยวกับพระวินัย 2) รูปแบบด้านอนุวาทาธิกรณ์ หรือการโจทฟ้องวิวาทกัน 3) รูปแบบด้านอาปัตตาธิกรณ์ หรือปัญหาอันเกิดจากการล่วงละเมิดข้อบัญญัติว่าด้วยศีลหรือวินัย 4) รูปแบบด้านกิจจาธิกรณ์ หรือปัญหาหรือกิจธุระที่สงฆ์พึงจะต้องร่วมกันทำให้เสร็จ เมื่อมีการร้องเรียน กล่าวหาความประพฤติ หรือการปฏิบัติหน้าที่ของสงฆ์ ให้ดำเนินการตามพระธรรมวินัย ตัดสินในที่พร้อมหน้าทั้งโจทย์และจำเลยพร้อมพยาน ให้ปฏิบัติตามมติคณะสงฆ์ ลงโทษตามพยานหลักฐานที่ปรากฎ ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา สืบไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              The objectives of this research were: 1. To Analyze the general conditions for Adhikarana Management of the Sangha in Ayutthaya Province, 2. To study the processes of the Adhikarana Management of the Sangha in Ayutthaya Province, and 3. Presenting the Model Development for Adhikarana Management of The Sangha in Ayutthaya Province. This research used qualitative research methodology by using in-depth interviews with 25 key informants or people, focus group discussion with 9 experts or people collecting data by visiting the area for interviews. Descriptive data analysis.

Findings were as follows:

             1. The general conditions in the management of the Sangha in Ayutthaya Province were found to have strong points, namely the appointment of the provincial Sangha administration department. From people who have knowledge and ability in the field The Dhamma, Vinaya, and Law come to help in considering the appeals. The weak point is that the management of the appeals in each area cannot be managed equally well. There is an opportunity: there is technology and modern media. This makes it easier to search for information or find ways to help suppress the monks. There is an obstacle, namely that it is easy to make complaints against monks these days. Anyone can blame Some administrative officials lack knowledge and ability. and have the right attitude in governing.

              2. The process of managing the rectors of the Sangha in Ayutthaya Province. It was found that there is a process according to the 7 principles of Adhikana Samatha, namely 1) Sammukha Vinaya, which is contemplating in front of each other. Evidence was called. and those involved come to investigate and consider. 2) Sati-discipline is looking at intentional actions. It is an important element. 3) Amulha Vinaya is if a wrongdoing is found while having symptoms of a mental disorder. The guilt will be exempted. 4) Declaration of guilt: the decision is based on the defendant's confession. 5) The Yephuiyasika side is to judge wrongdoing by using common opinion. or a majority vote of the committee. 6) Tasapapiyasika is the decision to punish the defendant based on the evidence that appears. 7) Tinavatthakavinaya Find a solution together until all parties are satisfied. Let's break up and continue. and principles of conflict management in 5 areas: 1) Reconciliation means having all conflicting parties turn to talk to each other. Using cause and effect. 2) The avoidance side, which is to use the Dhamma and Vinaya as the basis to avoid wrongdoing from occurring. 3) The compromise side, which is to find common ground, meet halfway, take one step at a time. 4) The competition side. That is, there is consideration by bringing evidence from each side to prove and disprove each other. 5) Cooperation is cooperation from all parties. Cooperate and help in suppressing the bishops.

             3. Presenting the development of the Adhikorn management model of the Sangha in Ayutthaya Province. It was found that there were 4 styles: 1) the Vivaadhikon model or quarreling about the Vinaya 2) Anuvādādhikon form or arguing and quarreling with each other 3) the form of apattathikon or problems arising from violations of the precepts or discipline 4) Form of activity or a problem or business that the monks should work together to complete When there is a complaint accuse behavior or the performance of monastic duties To be carried out in accordance with the Dharma and Discipline Judgment in the presence of both the prosecution and the defendant along with witnesses. Follow the resolution of the Sangha. Punish according All parties work together to solve the problem. For the continued stability of Buddhism

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ