-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Application for Political Popularity Creation of Pheu Thai Political Party in Bangkok
- ผู้วิจัยนางสาวอภิรดี โกเฮง
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50245
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 62
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของความนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร 3.เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการสร้างความนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบไปด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 8 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปของความนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 1) การติดตามรับฟังข้อมูลข่าวสารจากพรรคเพื่อไทย พบว่า ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ได้ติดตามรับฟังข้อมูลข่าวสารจากพรรคเพื่อไทย คือ ติดตามมาตั้งแต่ผลงานในอดีตตั้งแต่พรรคไทยรักไทยเรื่อยมาจนถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน เน้นในเรื่องของนโยบายของพรรคเพื่อไทยเป็นหลัก อีกทั้งความพร้อมทางด้านทรัพยากรบุคคล พรรคเพื่อไทยมีบุคลากรหลากหลายทั้งคนรุ่นเก่าที่มากไปด้วยประสบการณ์ และคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดตอบโจทย์กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงความไม่ประทับใจในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเหตุให้พรรคเพื่อไทยน่าจะขยายฐานเสียงเพิ่มขึ้นได้ในกรุงเทพ 2) การช่วยประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทย พบว่า ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ได้ช่วยประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทย โดยการปกป้อง แก้ต่างให้กับพรรคเพื่อไทย มีความจงรักภักดีต่อพรรค อีกทั้งเป็นเสรีภาพของประชาชนในการช่วยประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลที่ช่วยประชาสัมพันธ์ และความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารที่พรรคเพื่อไทยนำเสนอ
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างค่านิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยด้านการสื่อสารมีผลต่อการสร้างความนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และร่วมกันอธิบายความผันแปรของการสร้างความนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร ได้ถึงร้อยละ 39.50 ปัจจัย สังคหวัตถุ 4 มีผลต่อการสร้างความนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และร่วมกันอธิบายความผันแปรของการสร้างความนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร ได้ถึงร้อยละ 31.70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อสร้างค่านิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 นำมาประยุกต์เพื่อสร้างค่านิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร ดังนี้ ด้านทาน (การให้) ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือ การให้ความรู้ การให้โอกาส และการให้เสรีภาพ ด้านปิยวาจา (วาจาเป็นที่รัก) ได้แก่ พูดจริง ทำจริง คำพูดน่าเชื่อถือ น่าฟัง เข้าใจง่าย มีหลักฐาน ข้อมูลที่ชัดเจน ลักษณะคำพูด น่าเชื่อถือ มีเหตุมีผล มีหลักการที่ถูกต้อง ไม่พูดจาส่อเสียด ให้ร้าย ไม่เน้นการตอบโต้ พาดพิง หรือกล่าวร้ายกับพรรคการเมืองอื่น เน้นสื่อสารไปทางนโยบายของพรรคเป็นสำคัญ และมีอวัจนภาษาที่ดี การสื่อสาร ภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ น้ำเสียง ท่าทางที่เป็นมิตร มีความสุภาพ ด้านอัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ได้แก่ มีการลงพื้นที่ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชนที่มีความหลากหลาย ทำงานในลักษณะประสานประโยชน์ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีความพร้อมเสมอในการรับใช้ประชาชน และด้านสมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ได้แก่ ไม่ท้อถอยในการต่อสู้ทางการเมือง ทำตัวเสมอต้นเสมอปลายกับประชาชน ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยตลอดเวลา สานต่อและพัฒนานโยบายจากในอดีต และมีการวางตนที่ดี ทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องแก่ประชาชน โดยวางตนเสมอต้นเสมอปลาย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the general condition of politicians’ political popularity of Pheu Thai political party in Bangkok, 2. To study the
factors that promote the politicians’ political popularity of Pheu Thai political party in Bangkok, and 3. To study the application of Buddhist principles for political popularity creation of Pheu Thai political party in Bangkok. Methodology was the mixed methods: The qualitative method, data were collected from 18 key informants by in depth-interviewing and from 8 participants in focus group discussion and analyzed data by descriptive interpretation. The quantitative research, data were collected from 400 samples with Questionnaires and analyzed data with frequency, percentage, mean and standard deviation and Multiple Regression Stepwise.
Findings were as follows:
1. General condition of politicians’ political popularity towards Pheu Thai political party in Bangkok Metropolis consisted of the following aspects: 1) Follow up on news from Pheu Thai Party were found that follow up on past performances from the Thai Rak Thai political Party until Pheu Thai political Party specially the policies, readiness in human resources including dissatisfaction with the government of General Prayut Chan-o-cha 2) Public relations about Pheu Thai political Party were found that Protect and defend the Pheu Thai political Party, Loyalty to the party, People's freedom to help publicize and the credibility of the person who helps publicize and confidence in the information presented by the Pheu Thai political Party. 3) Tax donations to Pheu Thai Party were found that showing a preference for the popularity of political parties, People can express their political views, However, tax donations can only be measured by the middle class who are ready to spend money to support politics party.
2. Factors affecting people’s political popularity towards Pheu Thai political party in Bangkok Metropolis consisted of the following aspects: Communication Factors affecting Political Popularity of Pheu Thai Party in Bangkok Metropolis at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 39.50%. The factors of Sangahavatthu 4 affecting Political Popularity of Pheu Thai Party in Bangkok Metropolis at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 31.70%. The factors of communication and Sangahavatthu 4 affected to Political Popularity of Pheu Thai Party in Bangkok Metropolis at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 37.50%
3. Buddhadhamma application for political popularity creation of Pheu Thai political party in Bangkok Metropolis by Sangahavatthu 4 consisted of: Giving is Assistance, Education, Opportunity, and Freedom. Pleasant Speech is speak the truth, do the truth, believable words, do not vilify other political parties, focus on policies, and have good nonverbal language. Life of Service is field visits, participating in various activities and listening to the opinions of the public. And equality is political fight, Behave consistently with the people, Always adapt to the times develop policies from the past and have a good attitude.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|