-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดนครสวรรค์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDemocratic Political Culture Reinforcement of Undergraduate Students in Nakhonsawan Province
- ผู้วิจัยนางอัจฉราวรรณ์ ใจยะเขียว
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา12/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50247
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 28
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดนครสวรรค์ 3.เพื่อนำเสนอการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดนครสวรรค์ โดยประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีคือการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 382 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า:
1. การกล่อมเกลาเชิงประยุกต์ การขัดเกลาประยุกต์ทางการเมือง สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานหรือแหล่ง ของการเรียนรู้ทางการเมือง อันสำคัญ ได้แก่ ปลูกฝังทัศนคติทางการเมือง ความเชื่อ ตลอดจนค่านิยมที่เกี่ยวกับ การเมือง ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง รวมทั้งแสดงเหตุผล ทางการเมืองในครอบครัวได้อย่างเสรี สภาพทั่วไปวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= 4.00) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน แล้วพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษามาก คือ ด้านการยึดหลักความเสมอภาค มีค่าเฉลี่ย (x=4.31 ) รองลงมา ด้านการยึดมั่นในหลักความยุติธรรม มีค่าเฉลี่ย (x=4.14 ) และด้านที่มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด ด้านการมีศรัทธาในระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย มีค่าเฉลี่ย (x=3.59 ) ตามลำดับ
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า สถาบันการศึกษา สถาบันสื่อมวลชน สถาบันครอบครัว กลุ่มเพื่อนและสถาบันทางการเมือง โดยการกล่อมเกลาทางการเมืองส่งผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดนครสวรรค์ ได้ร้อยละ 56.9 โดยหลักสาราณียธรรม 6 ส่งผลงผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดนครสวรรค์ ได้ร้อยละ 54.2 และแสดงค่าต่างๆได้ดังนี้ การยึดหลักความเสมอภาคโดยภาพรวม ได้ร้อยละ 4.31 การยึดมั่นในหลักความยุติธรรมโดยภาพรวม ได้ร้อยละ 4.14 การมีความอดทน อดกลั้นต่อความคิดเห็นโดยภาพรวม ได้ร้อยละ 4.14 และการมีหลักนิติธรรมโดยภาพ ได้ร้อยละ 4.10
3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อนำเสนอการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้าน 1) กระทำต่อกันด้วยความเมตตา คือเมตตากายกรรม ค่าเฉลี่ย 4.27 2) การพูดจากับผู้อื่น ด้วยความรักและเมตตา เมตตาวจีกรรม ค่าเฉลี่ย 4.19 3) คิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี เมตตามโนกรรม ค่าเฉลี่ย 4.21 4) แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยให้ทั่วถึงกัน สาธารณโภคี ค่าเฉลี่ย 4.21 5) มีความ ประพฤติสุจริตดีงามรักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ศีลสามัญญตา ค่าเฉลี่ย 4.21 และ 6) เคารพรับฟังความ คิดเห็นกันมีความเห็นชอบร่วมกัน ทิฏฐิสามัญญตา มีค่าเฉลี่ย 4.21 เป็นการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมทางการเมือง โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ด้านทัศนคติทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อให้เกิดการผลักดันเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดี โดยการนำเอาหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ให้เข้ากับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองโดยมุ่งเน้นให้วัฒนธรรมทางการเมืองมีความเจริญก้าวหน้าตามหลักพุทธธรรม ยึดมั่น เชื่อถือ เคารพในศักดิ์ศรีของกันและกันที่แม้จะมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ควบคู่ไปกับการรู้จักประนีประนอม สร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน มุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เกิดความรู้ความเข้าใจวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีงามแก่สังคม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the general condition of democratic political culture among undergraduate students in Nakhon Sawan Province, 2. To study the factors affecting democratic political culture among undergraduate students. in Nakhon Sawan Province, 3. To propose the undergraduates’democratic political culture enhancement in Nakorn Sawan Province, conducted by the mixed research methods. The qualitative research collected data from 382 samples and analyzed data with frequency, percentage, mean and standard deviation. and multiple regression analysis. The qualitative research collected data by in-depth interviewing 18 key informants and 12 participants in focus group discussion, analyzed data by content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. Applied political socialization, family institutions were a fundamental institution or source of political learning such as instilling political attitudes, beliefs and values related to politics to be passed down from one generation to another and freely expressing political reasons in the family. General condition of democratic Political Culture among undergraduates in Nakhon Sawan Province, by overall, was at high level (x= 4.00). Each aspect was found that adhering to equality was at high level (x=4.31), followed by adhering to the justice (x=4.14). The aspect with the lowest average was the faith in democratic regimes (x=3.59), respectively.
2. Factors affecting the democratic political culture of undergraduates In Nakhon Sawan Province were found that educational, media, family institutions, peer groups and political institutions by political socialization affected the democratic political culture enhancement of undergraduates in Nakhon Sawan Province by 56.9 percent. The principles of Sấrấniyadhamma 6 affected the democratic political culture enhancement of undergraduates in Nakhon Sawan Province by 54.2 percent, and the values were shown as follows: Adherence to the principle of equality, by overall, was at 4.31 percent, the justice was at 4.14 percent, tolerance of opinion was at 4.14 percent, and the rule of laws by overall, was at 4.10 percent.
3. Application of Buddha-dhamma principles for proposal of democratic political culture enhancement of undergraduates. In Nakhon Sawan Province, according to the principle of Sấrấniyadhamma 6 consisted of 1) Mettấkấyakamma, acting towards each other with kindness with the average at 4.27, 2) Mettấvacikamma, speaking to others with love and kindness with the average at 4.19 3) Mettấmanokamma, thinking of each other with kindness, setting good will with the average at 4.21 4) Sấtấranabhoki, sharing the legally earned benefits evenly with the average at 4.21 5) Silasấmanyatấ, having good integrity and maintain discipline of the common good with the average at 4.21 and 6) Titthisấmanyatấ, respecting and listening to opinions with consensus and the average was at 4.21. Application of Buddha-dharma to political culture focused on political change in political attitudes and ideologies in order to push forward the creation of a good political culture by applying t Buddha-dharma to the enhancement of political culture by focusing on the political culture to progress according to Buddha- dharma by adherence, trust, respect each other's dignity despite their individual differences, coupled with knowing how to compromise, to make good feelings for each other Focusing on developing people to have knowledge and understanding of Buddhist academics in order to create the fine positive attitude for society.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|