โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวคิดเรื่องโยคะในภควัทคีตา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Concept of Yoga in Bhagavad-Gita: An Analytical Study
  • ผู้วิจัยนางสาววณิชยา ปรือปรัก
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.สมภาร พรมทา
  • วันสำเร็จการศึกษา17/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50251
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 46

บทคัดย่อภาษาไทย

                 ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวคิดเรื่องโยคะในภควัทคีตา:การศึกษาเชิงวิเคราะห์” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องโยคะในปรัชญาอินเดีย 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องโยคะในคัมภีร์ภควัทคีตา 3) เพื่อวิเคราะห์ข้อโต้แย้งแนวคิดเรื่องโยคะในคัมภีร์ภควัทคีตา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร

1) แนวคิดเรื่องโยคะในปรัชญาอินเดีย แนวคิดลัทธิโยคะมุ่งเน้นภาดปฏิบัติตามแนวทางแห่งภักดีโยคะ กรรมโยคะ และ ชญาณโยคะ ให้ความหมาย มุ่งเน้น วิธีการฝึกจิตให้บริสุทธิ์ นำไปสู่วิเวกญาณเท่านั้น จึงจะบรรลุโมกษะได้  เพราะเชื่อว่า การมีอยู่ของพระเจ้า มีคุณค่าทางปฏิบัติ มากกว่าทฤษฏี เชื่อว่า พระเจ้าทรงดำรงฐานะเป็นปุรุษะสูงสุด  และลัทธิสางขยะเน้นทฤษฏี ให้ความหมายถึงหลักความดี 2 ทาง คือชญาณโยคะและพุทธิปัญญา เพราะเชื่อว่า คัมภีร์พระเวท เป็นแหล่งความรู้ที่สมบูรณ์ นำไปสู่การพ้นทุกข์ได้จริง  มองว่าโลกนี้มีความจริง คือปุรุษะ(จิต) กับประกฤติ (รูป) เพื่อให้ปุรุษะเป็นอิสระจากประกฤติ ต้องอาศัย วิเวกญาณเท่านั้น เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด บรรลุความจริงแท้ อันติมสัจจะ 

2) เรื่องโยคะ ในคัมภีร์ภควัทคีตา  มุ่งสอนให้มนุษย์ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ แสวงหาการหลุดพ้น ในท่ามกลางความวุ่นวายในสังคม สนับสนุนการทำหน้าที่ เพื่อให้โลกดำรงอยู่ได้ เน้นเรื่องกรรม (การกระทำ) มุ่งไปที่พระเจ้า เป็นการอ้างถึงสิ่งสมบูรณ์ มากกว่าจะพิจารณาไปที่การกระทำ ดุจน้ำบนใบบัวที่บาปนั้นไม่อาจแทรกซึมในชีวาตมันได้ เพราะมนุษย์ได้ถูกกำหนดให้ทำกรรม ตามหน้าที่ อันเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ตามแนวทางปฏิบัติหลัก กรรมโยคะ และชญาณโยคะที่เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เพื่อนำชีวาตมันเป็นส่วนหนึ่งของพรหมัน

3) วิเคราะห์ข้อโต้แย้งเรื่องโยคะในคัมภีร์ภควัทคีตา เกิดจากการตีความคัมภีร์อุปนิษัท 3 ประเด็นคือ 1. ข้อโต้แย้งเรื่องหน้าที่ ศังกราจารย์มองว่าหน้าที่มาจากทางศาสนา ส่วนหน้าที่สำคัญคือการพยายามไปสู่อำนาจพระเจ้าสูงสุด รามานุชะมองว่าหน้าที่ทั้งทางศาสนากับสังคมเป็นอันเดียวกัน คือการปฏิบัติหน้าที่ในโลกเท่ากับปฏิบัติตามพระผู้เป็นเจ้าเป็นอันเดียวกัน 2. ข้อโต้แย้งเรื่องกายกับจิต ศังกราจารย์มองจิตมีมายาเป็นสาเหตุของการไม่เข้าใจความจริง ชญาณโยคะจึงเป็นการสื่อให้จิตมุ่งตรงกับพระเป็นเจ้า ขณะที่รามานุชะพิจารณาภักติโยคะ กรรมโยคะและชญาโยคะเป็นอันเดียวกัน เพราะไม่ได้แยกกายกับจิตออกจากกัน การพัฒนากายกับใจจึงควรทำร่วมกัน เป็นมรรควิธีที่จะบรรลุบรรลุโมกษะ 3. ข้อโต้แย้งเรื่องกรรมโยคะและชญาณโยคะ ศังกราจารย์มุ่งเน้นชญาณโยคะอย่างเดียว ขณะที่รามานุชะรวมเอาทั้งชญาณโยคะ กรรมโยคะและภักติโยคะไว้ในด้วยกัน

              แนวคิดเรื่องโยคะในคัมภีร์ภควัทคีตานั้นตรงกับวิธีการอธิบายโยคะของรามานุชะ มากกว่าจะเป็นไปในแบบของศังกราจารย์ เพราะชญาณโยคะเป็นสิ่งที่ปุถุชนเข้าใจได้ยาก นอกจากนักบวชเท่านั้นที่เข้าใจได้ การใช้กรรมโยคะและภักติโยคะรวมกันเพื่อเข้าถึงชญาณโยคะผ่านการทำหน้าที่ทางโลกจึงการอธิบายในรูปแบบของศาสนิกชนที่ได้ผลมากกว่าที่มีมาแต่เดิม ผู้เขียนมองว่าแนวคิดเรื่องโยคะในคัมภีร์ภควัทคีตานั้นตรงกับวิธีการอธิบายโยคะของรามานุชะ มากกว่าจะเป็นไปในแบบของศังกราจารย์ ทั้งนี้มาจากคัมภีร์ภควัทคีตานั้นได้รับแนวคิดจากคัมภีร์อุปนิษัท ที่พัฒนาแนวความคิดขึ้นมาใหม่ในเชิงปรัชญา เป็นความรู้สากล เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ปรับใช้ในชีวิตได้จริง แล้วสามารถอธิบายให้สอดรับกับวิธีการปฏิบัติตนในชีวิตจริงได้ ส่วนความรู้ที่มาจากแนวคิดปรัชญาสางขยะแม้จะมีการกล่าวถึงในคัมภีร์ภควัทคีตาก็เป็นเพียงการเสนอให้เห็นว่าชญาณโยคะ มีความสำคัญเท่านั้น แต่เนื้อหาของชญาณโยคะนั้นยังเป็นสิ่งที่ปุถุชนไม่อาจเข้าใจได้ นอกจากจะใช้วิธีการอธิบายแบบรวมกันทั้งชญาณโยคะ กรรมโยคะและภักติโยคะจึงจะชัดเจนยิ่งขึ้น และที่สำคัญการอธิบายโยคะในคัมภีร์ภควัทคีตาน่าจะมุ่งเน้นไปที่การอธิบายในรูปแบบของศาสนิกชน มากกว่าที่จะเป็นไปอธิบายของนักบวชเท่านั้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

 

This dissertation entitled ‘A concept of Yoga in Bhagavad-Gita: An Analytical Study’ has three objectives: 1) to study the concept of Yoga in Indian philosophy, 2) to the study the concept of Yoga in Bhagavad-Gita, and 3) to critically analyze the debates on the concept of Yoga in Bhagavad-Gita. This research employed the documentary research methodology.

The research findings were found that:

1) The concept of Yoga in Indian philosophy basically refers to two schools of Yoga: the school of Yoga that lays great emphasis on the practice of Yoga following the path of Bhakti-Yoga, Karma-Yoga and Jñãṇa-Yoga  whereby  purification of one’s mind is prioritized leading to Vivekañãṇa in order to attain Moksha due to the belief that the existence of God actually means the practical value more than theoretical one and such a God exists as the absolute Purusha, and the school of Saṃkhya which lays great emphasis on the theory whereby the meanings of goodness could be given by Jñãṇa-Yoga  and intellectuality due to the belief that Veda is the authentic source of perfect knowledge leading to the real liberation from suffering, this doctrine is of the view that in this world there are two realities: Purusha and Prakriti and in order to liberate Purusha from the domination of Prakriti it is necessary for one to depend on Vivekañãṇa only where the ultimate goal could be actualized respectively.

2) It is strongly believed that the concept of Yoga in Bhagavad-Gita emphasizes on the peaceful existence of human beings where seeking for salvation amongst chaotic society could be made; it supports performance of duty in order to sustain the world through Karma aiming at the God which could be regarded as the one that depends itself on perfection more than the consideration of action as if the drop of water on the lotus’s leaf is without the penetration of sin into Jĩvatman because man is predetermined to do certain act according to the given duty that would yield the benefit to human beings in accordance with the principle of Karma-Yoga and Jñãṇa-Yoga which connects the relationship between man and God where Jĩvatman could be brought to be a part of Brahman.

3) In the critically analyzing the debates over the concept of Yoga in Bhagavad-Gita, it was considerably found that the debates were precipitated by the interpretation of three meanings in Upanishadic scripture as follows: 1) the debate on duty; while this was viewed by Shankaracharya as the religious duty, the most important duty is to go to the power of the absolute God, it was viewed by Rãmãnuja that both duties, religious and social ones, are identical, which means that the performance of the worldly duty is akin to following the Ultimate God, 2) the debate on the mind and body; while this was viewed by  Shankaracharya as illusion of mind causing misunderstanding of reality and by the help of Jñãṇa-Yoga could be utilized to link one’s mind straight to the God,  in the viewpoint of Rãmãnuja, Bhakti-Yoga, Karma-Yoga and Jñãṇa-Yoga are the one and same due to indivision of mind and body, so, the development of mind and body needs the same action leading to obtain Moksha, and 3) the debate over the concept of Karma-Yoga and Jñãṇa-Yoga; on the one hand, Shankaracharya emphasized on Jñãṇa-Yoga only, on the other hand, Rãmãnuja included  Bhakti-Yoga, Karma-Yoga and Jñãṇa-Yoga together.

Therefore, it is argued that the concept of Yoga in Bhagavad-Gita accords with the explanation on Yoga of Rãmãnuja more than Shankaracharya’s one because Jñãṇa-Yoga poses the difficulty for worldly people to access; only priests could access it, so, the utilization of Karma-Yoga and Bhakti-Yoga together could lead to Jñãṇa-Yoga through performance of the worldly duty and such an explanation yield more benefit to their followers than the previous one.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ