-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe health management of Sangha in Lamae District, Chumphon Province
- ผู้วิจัยพระอนุสรณ์ อนุตฺตโร (พรหมม่วง)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสุธีกิตติบัณฑิต, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.สุภัทรชัย สีสะใบ
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50255
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 50
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 249 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 – 6 และมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 – 6 ในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ สถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิตอนุมาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.73 , S.D. =0.64) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีจิตสำนึกของความเป็นครู อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.09 , S.D. =0.70) ถัดมา คือ ด้านทักษะวิชาการ ด้านการติดตามประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และลำดับสุดท้าย คือ ด้านการใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก (x̄= 3.60 , S.D. =0.85)
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน ระดับชั้นเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ส่วนนักเรียนที่มีผลการสอบธรรมศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ พระสอนศีลธรรมมีเวลาสอนน้อย ขาดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ไม่ค่อยมีกิจกรรมนันทนาการ นักเรียนมีความรู้ทางธรรมค่อนข้างต่ำ ขาดการฝึกฝนอบรมจิตใจ ไม่มีสมาธิ ไม่ค่อยตั้งใจเรียน เน้นวิชาการมากเกินไป มีพฤติกรรมในเชิงลบ มีปัญหาการปรับตัวอยู่ร่วมกัน เนื้อหาวิชาขาดความน่าสนใจ ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการประชุม จัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการวางแผนร่วมกัน วิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้เรียนในพื้นที่ หาจุดเด่น จุดด้อย และแก้ไขร่วมกัน ตามมาตรฐานตัวชี้วัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องลดบทบาทการควบคุม เน้นการสร้างทัศนคติในเชิงบวก ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียน ยึดหลักไตรสิกขา มุ่งเน้นความรู้คู่คุณธรรม ควรบูรณาการให้เข้ากับสังคมและสถานการณ์ในปัจจุบัน ให้เกิดความน่าสนใจ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research paper were: 1. To study the students’ level of opinions on Buddhism teaching and learning management effectiveness of morality teaching monks in schools at Ban Ta Khun District, Surat Thani Province. 2. To comparatively study the students' opinions on the Buddhism learning and teaching management effectiveness of the morality teaching monks in schools at Ban Ta Khun District Surat Thani Province, classified by personal factors.and 3. To study the problems, obstacles, and suggestions for the development of Buddhism learning and teaching management effectiveness of morality teaching monks in schools at Ban Ta Khun District Surat Thani Province.
Methodology was the mixed methods. The quantitative research, the researcher studied from 249 samples who were students studying in elementary school grades 4-6 and secondary education grades 1-6 in schools at Ban Ta Khun District. Surat Thani Province.The tools used in the research were questionnaires with a 5-level rating scale. The data were analyzed using descriptive statistics, percentage, mean, standard deviation, inferential statistics. The qualitative research had the documentary analysis and in-depth-interview script as the tool to collect the data in the field study from 10 key informants and analyzed the data through the content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1.The level of students' opinions on Buddhism teaching and learning management effectiveness of morality teaching monks in schools at Ban Ta Khun District Surat Thani Province, by overall, was at high level (x̄= 3.73, S.D. = 0.64) and when considering each aspect, it was found that all aspects were at high level In order from high to low. they were: The aspect of having a consciousness of being a teacher was at high level ( = 4.09, S.D. = 0.70). Monitoring and evaluation teaching management, Environmental management for learners to learn and the last one was the use of teaching media and information technology. Were at high level ( x̄= 3.60, S.D. = 0.85)
2. To compare the students' opinions on the Buddhism learning and teaching management effectiveness of morality teaching monks in schools at Ban Ta Khun District Surat Thani Province, classified by personal factors, it was found that students with different genders, ages, grade levels had the different opinions on the Buddhism learning and teaching management effectiveness of morality teaching monks in schools at Ban Ta Khun District Surat Thani Province, by overall with statistically significant value at 0.05 level, thus the set research hypothesis were accepted. As for the students with different Dhamma Examination results, did not have different opinions, therefore, the set research hypothesis was rejected.
3. Problems, obstacles, and recommendations for the development of Buddhism learning and teaching management effectiveness of the morality teaching monks in schools at Ban Ta Khun District Surat Thani Province were that; Monks had little time to teach, lacked knowledge, skills, experience, rarely had recreational activities. The students had quite low moral knowledge, lack of mind training, lack of concentration, not paying attention to study, too much emphasis on academics, had negative behavior, adaptation problems for coexistence. The Course content lacked interesting points. Recommendation: Development guidelines should have a meeting to set up a committee to carry out joint planning, to analyze the problems of students in the area, to find strengths and weaknesses, and solve them together. according to learning indicators standards. Instructors must reduce their control role. But focus on building a positive attitude, to promote good relationships in class, to adhere to the threefold principle, to focus on knowledge coupled with virtue. It should be integrated with society and the current situation to make it interesting.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|