-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการด้านศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAdministration of The Monk's Welfare Education in Chaloem Phrakiat District, Saraburi Province
- ผู้วิจัยพระครูใบฎีกาสมยศ ปสนฺโน (จันทรวิเชียร)
- ที่ปรึกษา 1พระอุดมสิทธินายก, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50258
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 76
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการด้านศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการด้านศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอที่มีต่อการบริหารจัดการด้านศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง และการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.962 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 1 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 368 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
1. ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการด้านศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=3.83, S.D.=0.642) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้งสองด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการงานศึกษาสงเคราะห์ และด้านทรัพยากรในการบริหาร ตามลำดับ
2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า นักเรียนที่มีเพศ มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการงานศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนผู้ปกครองนักเรียนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการงานศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรคที่มีต่อการบริหารจัดการงานศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พบว่า 1. การบริหารงบประมาณของโรงเรียนการกุศลในปัจจุบันยังขาดความเชื่อมโยงในการวางแผนงบประมาณ และประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ ยังไม่มีการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีบทบาทในการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่ มีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถรับนักเรียนได้เต็มที่ โดยเฉพาะเณรที่ไม่สามารถเข้าร่วมการเรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไปได้ 2. พระสังฆาธิการ ไม่ค่อยให้ความสนใจในการสงเคราะห์เด็กนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือมากนัก เพราะเห็นว่าเป็นภาระที่ผูกพันระยะยาว ถ้าจะส่งเสียแล้วก็ต้องส่งเสียจนกว่าเด็กจะเรียนจบ ระบบการสงเคราะห์เด็กยากจน กำพร้าขาดที่พึ่งของคณะสงฆ์ ยังไม่เป็นระบบ ต่างคนต่างทำ ขาดการช่วยเหลือกันและกันในคณะสงฆ์ 3. พระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสทำงานตามคำสั่ง ไม่เปิดโอกาสให้เจ้าอาวาสได้มีส่วนร่วมในการวางกรอบการตั้งทุน เพิ่มทุน แจกทุนการศึกษา ทั้งที่เจ้าอาววาสเป็นกำลังหลักในการหาทุน ขาดการติดตามผลการเรียน การประเมินผลการให้ทุน ของนักเรียนผู้ได้รับทุนการศึกษา ข้อเสนอแนะ คือ 1. ควรนำระบบการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ของภาครัฐมาปรับปรุงใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารงบประมาณของโรงเรียนการกุศล เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้าร่วมการประชุมเพื่อรับทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน และให้เจ้าอาวาสหรือครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนเป็นกรรมการสถานศึกษาเพื่อทำงานร่วมกับโรงเรียน และมีการประชุมวางแผนการร่วมกับ สพป. สพฐ. เพื่อให้โอกาสสามเณรได้เรียนร่วมด้วย 2. พระสังฆาธิการควรให้ความสนใจในการสงเคราะห์เด็กนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือมากๆ ควรจัดระบบการสงเคราะห์เด็กยากจนให้เป็นระบบที่ชัดเจนและมีความมั่นคง ควรมีครูที่รับต่อการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ ประสานการทำงานที่เกี่ยวข้องกับพระสังฆาธิ และ3. ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีส่วนรวมในการวางกรอบการเพิ่มทุนและตั้งทุนร่วมกัน มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านศึกษาสงเคราะห์อย่างชัดเจน มีการประเมินผลการให้ทุนแก่นักเรียนและนักศึกษา เพื่อติดตามผลประเมินผลของผู้ที่รับทุน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are 1. To investigate the opinions of the local population towards the management of welfare education of monks in Chaloem Phrakiat District, Saraburi Province. 2. To compare the opinions of individuals towards the management of welfare education of monks in Chaloem Phrakiat District, Saraburi Province based on different factors. 3. To identify the challenges and potential solutions related to the management of welfare education of monks in Chaloem Phrakiat District, Saraburi Province.
This research adopts an integrated methodology that combines qualitative and quantitative approaches. Qualitative data were collected through in-depth interviews with 8 key informants, and descriptive content analysis techniques were used to summarize the findings. Quantitative data were collected through a questionnaire survey administered to a sample group of 368 parents of students in schools under the Office of Saraburi Primary Educational Service Area 1, Chaloem Phrakiat District, and parents of students at Debsirin Pukhae School, Chaloem Phrakiat District. The confidence value for the survey was 0.962. Data analysis was conducted using social science software, and statistical techniques such as frequency, percentage, mean, and standard deviation were employed. T-tests and one-way analysis of variance (ANOVA) were also conducted to examine the significance of differences between groups.
The findings indicate that.
1. the parents of students hold a positive opinion towards the management of welfare education for monks in Chaloem Phrakiat District, Saraburi Province, with an overall mean score of 3.83 (SD=0.642). Specifically, both aspects of management, namely educational assistance and administrative resources, received high mean scores indicating positive views from the parents.
2. The results of the hypothesis test showed that there were no significant differences in the opinions on the management of educational assistance of monks in Chaloem Phrakiat District, Saraburi Province among students with different levels of education. Thus, the research hypothesis was rejected. However, there were significant differences in the opinions among parents of students of different ages. This finding supports the research hypothesis.
3. The study identified several problems and obstacles to the management of educational assistance for monks in Chaloem Phrakiat District, Saraburi Province, including 1) The budget management of charitable schools currently lacks linkage with budget planning and efficiency in asset management. There is no opportunity for the community to play a full role in education management, making it difficult to accept students fully, especially novices who cannot attend classes with other students.2) Phra Sanghathikan is not very interested in helping students in need because he sees it as a long-term obligation. If you want to support a student, you have to support them until they graduate. There is a poor child welfare system, and orphans lack the refuge of the clergy. It is not yet a system, and different people manage it, leading to a lack of mutual assistance in the Sangha. 3) Monks at the abbot level work as instructed and do not allow the abbot to participate in setting up a framework for setting up capital, increasing capital, or giving out scholarships, even though the abbot is the main force in fundraising. There is also a lack of tracking results and evaluation of grants for students receiving scholarships. Here are the recommendations. 1. The government should implement a performance-oriented budget management system that is suitable for the budget management of charity schools. Parents should be given the opportunity to attend meetings to track their students' progress. The abbot or moral teacher in the school should be part of the school committee to work with the school. Planning meetings with the Office of the Basic Education Commission (OBEC) should be held to provide novices with the opportunity to study with other students.
2. The Sangha Administrator should focus on helping students in great need. A clear and stable welfare system for poor children should be established. Teachers should be systematically trained to accept help. Coordination should be established between those working with the Sangha.
3. Opportunities should be given to everyone involved in setting up a framework for capital increase and funding jointly. A clear action plan for welfare education should be created. Evaluation of grants for students should be conducted, and the results of the scholarship recipients' evaluations should be tracked.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|