-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้า
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhistInnovationoftheCommunicationabout the Buddha’s Kamma
- ผู้วิจัยพล.อส. อภิชาติ พรมจันทร์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร. บุญเลิศ โอฐสู
- ที่ปรึกษา 2ดร. กนกวรรณ กรุณาฤทธิโยธิน
- วันสำเร็จการศึกษา19/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาธรรมนิเทศ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50264
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 78
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์หลักคำสอนเรื่องกรรมที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อวิเคราะห์พุทธวิธีการสื่อสารเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (3) เพื่อนำเสนอพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้า โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสารคือทำการสืบค้นจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท แล้ววิเคราะห์ ตีความหมาย สังเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และนำเสนอรูปแบบพุทธนวัตกรรรมการสื่อสาร
ผลการวิจัยพบว่าหลักคำสอนเรื่องกรรมที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท จำแนกกรรมออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) กรรม จำแนกตามคุณภาพตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ 2) กรรมจำแนกตามทวาร คือทางที่ทำกรรมหรือทางแสดงออก 3) กรรม จำแนกตามลักษณะและการให้ผล รวมเรียกว่า “กรรม 12” เป็นกรรมที่จำแนกตามหลักเกณฑ์การให้ผลแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายกรรมดีและฝ่ายกรรมชั่ว และมีเจ้าลัทธิหลายลัทธิที่สอนเรื่องกรรมและผลของกรรม แต่คำสอนนั้นได้ขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น เช่น ปูรณกัสสปะ มักขลิโคศาล และอชิตเกสกัมพล เป็นต้น
สำหรับพุทธวิธีการสื่อสารเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเรื่องกรรมและผลของกรรมอย่างละเอียด ประกอบด้วยเหตุและผล มีอุทาหรณ์และบุรพกรรมมาประกอบ โดยมิได้แบ่งชั้นวรรณะของผู้ฟัง ซึ่งพระพุทธองค์จะตรวจสอบอุปนิสัยของผู้ฟังที่จะบรรลุธรรมได้ก่อนแล้วจึงสื่อสารเรื่องกรรมดี กรรมชั่ว และผลแห่งกรรม โดยทรงใช้หลักเทศนา 4 และหลักเทศนา 9 เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเรื่องกรรมและผลของกรรม จึงทำให้ทรงประสบกับความสำเร็จทุกครั้งที่สื่อสารออกไป
ส่วนพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้านั้น ถือได้ว่า พระพุทธองค์เป็นนักสื่อสารที่เป็นต้นแบบ พร้อมทั้งมีเนื้อหาพุทธธรรมคือเรื่องกรรมเป็นสาร ช่องทางที่พระทรงใช้ในการสื่อสารคือตัวพระองค์เองเป็นสื่อบุคคลที่มีทั้งอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ อนุศาสนีปาฏิหาริย์ และกลุ่มเป้าหมายที่รับการสื่อสารเรื่องกรรมจากพระพุทธองค์ล้วนเป็นบุคคลที่ทรงตรวจสอบด้วยพระทศพลญาณ 10 จึงเป็นกระบวนการพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่สมบูรณ์แบบที่สุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis has three objectives: 1) to analyze the doctrine of Kamma as found in the scriptures of Theravada Buddhism, 2) to investigate the communicative methods used by the Buddha to teach the doctrine of Kamma, and 3) to show the Buddhist communicative technology. The present work is a qualitative research. Information was obtained from the texts of Theravada Buddhism, analyzed, interpreted and synthesized. After that, the Buddhist communicative methods were presented.
The research findings were as follows. The doctrine of Kamma found in the scriptures of Theravada Buddhism can be categorized as follows: 1) Kamma categorized according to the causes and effects, 2) Kamma categorized according to the door of action, 3) Kamma categorized according to its characteristics collectively known as ‘twelve Kamma’. Based on the results, Kamma can be divided into two: wholesome actions and unwholesome actions.
The Buddhist method in teaching the doctrine of Kamma considered, it was found that the Buddha had taught the doctrine of Kamma or actions and their results in details. He also preached the principle of causes and effects, and demonstrated the concreate examples. As far as his teaching method was concerned, the Buddha did not make any discrimination. Rather, he would consider the listener’s characters, and then proceeded to teach the doctrine deemed suitable to the listener. His teaching doctrine varied depending on the individuals and contexts. As a result, his communication was always successful.
Considering the communicative innovation employed the Buddha, the best channel of a communication was the Buddha himself. In other words, he was the communication. The targets of the communicative goals were the individuals the Buddha had thoroughly examined with the ten supra-mundane powers. This method could be counted as the most perfect one.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|