-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง ในเรือนจำจังหวัดน่าน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษIntegrating the Trisikkha Principles for Restoring the Quality of Life in Nan Prison Inmates
- ผู้วิจัยนางธารารัตน์ วงค์เทพ
- ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา16/07/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50268
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 113
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังของเรือนจำจังหวัดน่าน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังของเรือนจำจังหวัดน่าน 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังของเรือนจำจังหวัดน่าน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป หรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังของเรือนจำจังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ( = 3.77) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการศึกษา ( = 3.85) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาจิตใจ ( = 3.77) ด้านการฝึกอาชีพ ( = 3.73) และด้านการจัดสวัสดิการและนันทนาการ ( = 3.71) เรียงตามลำดับ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดน่าน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง (r=.798**) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังของเรือนจำจังหวัดน่าน โดยปัญหา อุปสรรคพบว่า 1) จำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในเรือนจำไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ต้องขังที่มีจำนวนมาก ส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ มีทักษะ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 3) ปัญหาด้านอาคารและสถานที่ปฏิบัติงานมีพื้นที่คับแคบและจำกัด ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดน่าน ข้อเสนอแนะมีดังนี้ 1) เรือนจำควรพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้ต้องขังให้เพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนผู้ต้องขัง 2) กรมราชทัณฑ์ควรจัดสรรอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง และฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรเจ้าหน้าที่ 3) กรมราชทัณฑ์ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารจัดการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังในเรือนจำให้เพียงพอ และการบริหารจัดการพื้นที่ในเรือนจำให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) ควรพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพตามความต้องการของผู้ต้องขัง และตามความต้องการของสังคมภายนอก 5) ควรส่งเสริมและประสานงานสร้างเครือข่ายความร่วมมือหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐภาคเอกชนเข้ามาทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังในเรือนจำ ส่วนแนวทางการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังของเรือนจำจังหวัดน่าน คือ เรือนจำควรส่งเสริมการให้ความรู้ทางด้านพุทธศาสนา ศีลธรรม การฝึกวิปัสสนา ฝึกสมาธิ เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เกิดปัญญา เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำอย่างปกติสุข ลดความเครียดและความวิตกกังวล อันจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ต้องขังดีขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this thesis were 1) to study the Restoring the Quality of Life in Nan Prison Inmates. 2) to study the relationship between the Trisikkha Principles for Restoring the Quality of Life in Nan Prison Inmates 3) problems, obstacles, and recommendations related to the Integrating the Trisikkha Principles for Restoring the Quality of Life in Nan Prison Inmates the research was conducted by using mixed method research. The quantitative research used a questionnaire to collect the data from 300 samples and analyzed data by using social science application. The qualitative research was conducted by using in-depth interviews with 9 key informants. The data were analyzed by using descriptive analysis and content analysis
The research findings were as follow;
1. Overall, the Restoring the Quality of Life in Nan Prison Inmates was at a high
Level ( = 3.77) When considering each aspect, When considering each aspect, it was aspect with the highest average was education management, followed by When considering each aspect, it was aspect with the highest average was education management ( = 3.85), followed by Mental development ( = 3.77), vocational training ( = 3.73), and welfare and recreation ( = 3.71) in order
2. The overall relationship between the Trisikkha Principles for Restoring the Quality of Life in Nan Prison Inmates had the positive relationship in quite high degree of positive correlation (R = .915**) The hypothesis testing found the Restoring the Quality of Life in Nan Prison Inmates had a statistically significant positive correlation at the level of 0.01; thus, the hypothesis was accepted.
3. The problems, obstacles and suggestion for the Integrating the Trisikkha Principles for Restoring the Quality of Life in Nan Prison Inmates: 1) The number of prison staff is inadequate and inconsistent with the large number of inmates. As a result, they are unable to perform their duties efficiently; 2) The problem of the lack of knowledgeable, skilled and specialized staff; 3) The problem of buildings and workplaces that are confined and limited. not enough for the number of inmates in the Nan Provincial Prison and recommendation is as follows; 1) Prisons should develop utilities necessary for the living of inmates sufficiently and appropriately with the number of inmates 3) The Department of Corrections should allocate sufficient budgets for the management of improving the quality of life of inmates in prisons 4) Vocational training courses should be developed according to the needs of inmates. 5) Should promote and coordinate the creation of a network of cooperation between government agencies or private sector organizations to work in an integrated manner in improving the quality of life of prisoners. The guideline for Integrating the Trisikkha Principles for Restoring the Quality of Life in Nan Prison Inmates is that the prison should promote knowledge of Buddhism, Dhamma, ethics, morality, Vipassana training, and meditation in order to refine the mind to create wisdom for the inmates to have a better life Staying in prison happily, reducing stress and anxiety, resulting in inmates having a better quality of life enabling the inmates to live in the prison happily Reduce stress and anxiety This will result in a better quality of life for the inmates.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|