โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    วิพากษ์ข้อถกเถียงเรื่องพระเทวทัตในฐานะคู่ปรับพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Critical Study of Controversy about Devadatta as the Buddha’s Rival in Theravāda and Mahāyāna Scriptures
  • ผู้วิจัยพระณัฐภัทร กิจฺจกาโร (เจริญรักษ์)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาอดิเดช สติวโร, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา25/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50269
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 147

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสำรวจข้อถกเถียงเรื่องพระเทวทัตในฐานะคู่ปรับพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน 2) เพื่อวิเคราะห์บริบทข้อถกเถียงเรื่องพระเทวทัตในฐานะคู่ปรับพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน 3) เพื่อวิพากษ์ข้อถกเถียงเรื่องพระเทวทัตในฐานะคู่ปรับพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ด้วยการวิจัยทางด้านเอกสาร (Documentary Research) ผลการวิจัยพบว่า

คัมภีร์ฝ่ายเถรวาทเริ่มบันทึกประวัติพระเทวทัตในทางบาปอกุศลในคัมภีร์วินัยปิฎก-วิภังค์ ต่อมาคัมภีร์วิภังค์ฝ่ายนิกายที่แตกออกมาจากเถรวาท คือ ธัมมคุตติกะ มหิสาสกะ สัพพัตถิกวาทะ     ก็รักษาแนวทางเหล่านี้ไว้ โดยบันทึกประวัติพระเทวทัตในจำนวนที่ไม่ต่างกันประมาณ 14-16 เรื่อง แต่ละเรื่องก็เหมือนกันในเนื้อหาสาระ แต่นิกายมูลสัพพัตถิกวาทะได้ขยายเรื่องพระเทวทัตถึง        26 เรื่อง ส่วนคัมภีร์ฝ่ายมหายาน ได้แก่ มหาสังฆิกวินัย-วิภังค์ มี 2 เรื่อง, เอโกตตราคม มี 11 เรื่อง ส่วนคัมภีร์ชั้นรองอย่างลลิตวิสตระ มี 2 เรื่อง, พุทธจริต มี 4 เรื่อง, มหาวัสตุอวทาน มี 4 เรื่อง และสัทธรรมบุณฑริกสูตรไม่มีกล่าวไว้ สรุปว่าพุทธศาสนานิกายเถรวาทและนิกายที่แตกแยกออกมา       มีพัฒนาการเรื่องประวัติของพระเทวทัตมากกว่าคัมภีร์ฝ่ายมหายาน ดังนั้น ทำให้แบ่งสายคัมภีร์ออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเถรวาทและที่ได้รับอิทธิพลจากเถรวาทและกลุ่มมหายาน

การตีความเรื่องพระเทวทัตกระทำได้ 2 แบบ คือ การตีความตามตัวบทที่ปรากฏตามคัมภีร์อย่างเคร่งครัดโดยมิได้คำนึงถึงวิวัฒนาการของเรื่องในคัมภีร์หรือนำข้อมูลจากภายนอกมาประกอบการตีความ ส่วนฝ่ายที่โต้แย้งต่อการตีความพระเทวทัตอาศัยข้อมูลจากพระไตรปิฎกทั้งฝ่ายเถรวาทและที่แตกออกมาจากเถรวาท รวมถึงการพิจารณาข้อมูลคัมภีร์ฝ่ายมหายาน บันทึกของภิกษุจีน และบริบทของสังคมอินเดีย ทั้งนี้เรื่องพระเทวทัตกระทำสังฆเภทมีจุดเริ่มต้นจากวัตถุ 5 ประการ มีการตีความใหม่ว่าพระเทวทัตมิได้เป็นคนบาปดังที่เข้าใจกันแต่เป็นเพียงภิกษุที่เคร่งครัดในธุดงควัตร คัมภีร์พระพุทธศาสนาในระยะต่อมาจึงตีความพระเทวทัตในแนวทางใหม่คือการเข้าถึงพุทธภาวะในอนาคต อันเป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ของคัมภีร์ที่ว่า การตีความพระเทวทัตแบบเดิมน่าจะไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจพระเทวทัตในฐานะคู่ปรับของพระพุทธเจ้า

ผู้บันทึกคัมภีร์มีแนวทางเพื่อมิให้ภิกษุอื่นนำพระเทวทัตมาเป็นต้นแบบ ลัทธิพระเทวทัตยังคงมีผู้สืบทอดตามบันทึกของภิกษุจีน แสดงว่าเนื้อหาในคัมภีร์ไม่ว่าจะนิกายใดที่ได้บรรยายเรื่องพระเทวทัตว่าถูกธรณีสูบลงนรกอาจจะเป็นไปในเชิงเปรียบเทียบหรือเชิงสัญลักษณ์ เพราะพระศาสนาจำเป็นต้องประดิษฐานมั่นคงด้วยคณะสงฆ์ที่ประกอบด้วยสีลสามัญญตาและทิฏฐิสามัญญตา สังฆเภทจึงเป็นภัยร้ายต่อส่วนรวม ส่วนการตีความพระเทวทัตทางประวัติศาสตร์ใช้การตีความแบบ         ฆราวาสวิสัยประกอบกับบันทึกของภิกษุจีน พบว่า พระเทวทัตอาจจะมิได้เป็นคนบาปแต่เป็นผู้ที่เคร่งครัดในข้อธุดงค์ การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมกำลังมีอิทธิพลต่อข้อวัตรของคณะสงฆ์ พระเทวทัตกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงจึงเสนอวัตถุ 5 ประการ แต่เมื่อข้อเสนอไม่ผ่านการเห็นชอบ ทำให้พระเทวทัตและพวกที่เห็นด้วยแยกคณะของตน ทั้งนี้พระเทวทัตมิได้ดำรงอยู่ในฐานะศาสดาแห่งลัทธิใหม่แต่ยังคงสถานะภิกษุที่นับถือพระพุทธเจ้าในอดีต 3 พระองค์

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation has three objectives: 1) to explore the debate on Devadatta as the Buddha's rival in Theravāda and Mahāyāna scriptures, 2) to analyze the context of the debate about Devadatta as the Buddha’s rival in Theravāda and Mahāyāna scriptures, 3) to criticize the debate about Devadatta as the Buddha's rival in Theravāda and Mahāyāna. This research is made by a qualitative method applying particularly on documentary research. The results found that

Theravāda scriptures began to record the history of Devadatta in the way of evil in the Vinayapiaka-Vibhaga. Subsequently, the sectarian Vibhaga that were splitted from Theravāda – Dhammaguttika, Mahisāsaka and Sabbatthikavāda - continue this tradition. By recording the history of Devadatta in the amount that is not different, about 14-16 stories, each story is similar. But the Mūlasabbatthikavāda has expanded to 26 stories. The Mahāyāna scriptures like Mahā Saghika Vinayapiaka-Vibhaga has 2 stories, the Ekottara Āgama has 11 stories, the Lalitavistara has 2 stories, the Buddhacarita has four stories, the Mahāvastu Avadāna has four stories, and none is mentioned in the Lotus Sutra. In conclusion, Theravāda Buddhism and its offshoots have more development in the Devadatta history than the Mahāyāna scriptures. Therefore, the scriptures can be divided into 2 groups: Theravāda and its offshoots group and the Mahāyāna group.

The interpretation of the Devadatta can be done in two ways: the strickly textual interpretation according to the scriptures without taking into account the evolution of the text in the scriptures or using information from the outside to interpret. On the other hand, those who argue against the interpretation of the Devadatta relies on information from both Theravāda scriptures and its offshoots including Mahayana scripture and survey records of Chinese monks and the context of Indian society. In this regard, the story of Devadatta doing Saṅghabheda originated from the five proposals. There is a new interpretation that Devadatta was not a sinner as understood, but was just a strict ascetic. Later Buddhist scriptures therefore interpreted Devadatta in a new way, that is, attaining Buddhahood in the future. This reflects the scriptures’ intention that conventional interpretation is likely to be insufficient to understand Devadatta as the Buddha's rival.

The scripture recorder had a way to prevent other monks from using Devadatta as a model. Devadatta still has successors according to the records of Chinese monks. It shows that the text of any scripture that describes Devadatta as being pumped into hell by the earth may be allegorical or symbolic. Because the religion needs to be firmly enshrined with a group of monks consisting of Sīlasāmaññatā and Diṭṭhisāmaññatā. The Saṅghabheda is therefore a threat to the community. As for the historical interpretation of Devadatta, using a secular interpretation combined with the records of Chinese monks, it was found that Devadatta may not have been a sinner, but a strict ascetic. Economic and social developments are influencing on the community precepts. Devadatta was concerned about the change, so he later proposed the five dhutaṅgas. But when the proposals was not approved, it caused Devadatta and his followers to separate the group. In this regard, Devadatta did not exist as a master of the new cult, but retained the status of a monk who respected the past three Buddhas.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ