-
ชื่อเรื่องภาษาไทยกระบวนการพัฒนามาตรการพิเศษ แทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัว โดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณี ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Developing Special Measures Instead of Processing Youth and Families by Buddhist Peaceful Means: A Case Study Ofthe Juvenile Family Court in Chonburi Province
- ผู้วิจัยนายสมเกียรติ รัตนโอภาส
- ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2อาจารย์อดุลย์ ขันทอง
- วันสำเร็จการศึกษา18/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50273
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 65
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหาปัจจุบันของกระบวนการพัฒนาและแนวคิดทฤษฎีในการพัฒนามาตรพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชและครอบครัวตามแนวทางตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธี กระบวนการพัฒนามาตรพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัวโดยพุทธสันติวิธี 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนามาตรพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัวโดยพุทธสันติวิธี ในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และได้พัฒนาเครื่องมือวิจัยตามแบบอริยสัจ โมเดล โดยเดินตามบันได 9 ขั้น
ผลการวิจัยพบว่า
๑) สภาพของปัญหาในการใช้มาตรการพิเศษ แทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัวยังมีบางส่วนที่ควรพัฒนาให้ดีขึ้นเนื่องจาก มาตรการพิเศษโดย เฉพาะก่อนการพิจารณาคดี ที่จะนำ มาตรา 90 มาใช้ มักจะไม่ได้ผล เพราะ มาตรานี้ ผู้เสียหายต้องให้ความยินยอมในการทำแผนบำบัดฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนและเด็กหรือเยาวชนต้องมีสำนึกในการกระทำความผิดก่อนจึงจะเริ่มกระบวนการได้ ในทางปฎิบัติแล้ว ผู้เสียหาย มักไม่มีโอกาสได้เข้ามาเจรจาพูดคุยกับเด็กหรือเยาวชน ผู้เสียหายบางคนเห็นว่าเป็นคดีเล็กน้อย ผู้เสียหายบางท่านเป็นเอกชนที่เป็น นิติบุคคล เช่น ห้างสรรพสินค้าฯ ต่างๆ มักจะไม่ยอมเจรจา ผู้เสียหายอยู่ต่างถิ่นฐาน ในบางครั้งเมื่อเจรจาสำเร็จ ผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชนยอมทำแผนบำบัดฟื้นฟูแต่ไม่มีผู้ประสานการประชุมเข้าเวรในวันนั้น การบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนทำให้มีสำนึกในการกระทำผิดต้องใช้เวลาในการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ช่วงระยะเวลาที่แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เป็นช่วงที่สั้นจึงยากแก่การบรรลุผลในการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู อย่างแท้จริง
2) หลักพุทธสันติวิธีที่นำมาใช้ในกระบวนการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัว โดยพุทธสันติวิธี พบว่า ใช้หลัก ภาวนา 4 ในการพัฒนาคนด้านต่างๆของเด็กและเยาวชนให้ กายภาวนา นอกจากการพัฒนาทางร่างกายแล้วยังต้องพัฒนาอาชีพให้เด็กหรือเยาวชนให้มีวินัยในการอยู่ร่วมกันกับสังคม ศีลภาวนาโดยให้เด็กหรือเยาวชนเข้าค่ายคุณธรรมหรือบวชเพื่อให้เด็กหรือเยาวชนได้เข้าใจและพัฒนาตนเองให้รู้จักการให้ทาน รู้จักการช่วยเหลือเกื้อกูล จิตภาวนาเป็นการพัฒนาเด็กหรือเยาวชนควบคุมอารมณ์ตนเองและผู้อื่นได้รู้จักมีเมตตา กรุณา ปํญญาภาวนา รู้จักการแก้ปัญหารู้จักสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัวหาทางแก้ปัญหาด้วยปัญญาไม่ใช่อารมณ์
3) กระบวนการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัวโดยพุทธสันติวิธีของศาลเยาวชนและครอบครัว ประกอบด้วยกระบวนการการพัฒนาเด็กหรือเยาวชนไม่ให้หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำ พร้อมทั้งในภาคการปฎิบัติในเรื่องการดูแลผู้เสียหายที่ใช้มาตรพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชนบางมาตราเช่น มาตรา 90 จะพัฒนาให้ดีขึ้นโดยให้ผู้ประสานการประชุมที่เป็นผู้พิพากษาสมทบได้เข้ามาดูแลคดีเด็กหรือเยาวชนให้รวดเร็วขึ้น เมื่อมีคดีที่เป็นคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและมีผู้เสียหายเป็นเอกชน สามารถจะประสานการประชุมได้โดยเด็กหรือเยาวชนสำนึกผิดก่อนวันนัดพิจารณาคดี ให้ผู้ประสานการประชุมเตรียมการโดยนัดผู้เสียหายมาพูดคุยเพื่อเตรียมการ เพราะต้องการให้ผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการทำแผนบำบัดฟื้นฟูเยาวชนได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเด็กหรือเยาวชนได้เข้ามาสู่แผนบำบัดฟื้นฟูของศาล ผู้พิพากษาสมทบได้ทำแผนและพัฒนาแผนต่างๆให้เด็กหรือเยาวชนได้แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู โดยนำเด็กหรือเยาวชนเข้าโครงการต่างๆ เช่น พัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว เข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม บรรพชา ฝึกวินัย ให้การศึกษา กศน ฝึกอาชีพ เป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนไม่เพียงแต่แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ฟื้นสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เสียหายแล้ว ยังพัฒนาต่อยอดให้เด็กหรือเยาวชนมีที่ยืนในสังคมที่ดีโดยหาอาชีพให้เด็กหรือเยาวชนหลังจากสิ้นสุดคดี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to analyze context, current problems of a development process, and concepts in the development of special measures in place of juvenile and family prosecution according to the modern science; 2) to analyze the Buddhist peaceful means for developing special measures in place of juvenile and family prosecution; and 3) to present a development process of special measures in place of juvenile and family prosecution by Buddhist peaceful means at Chonburi Juvenile and Family Court. The study employed an action research. The tools were developed based on Ariyasacca (the four noble truths) model under 9-step framework.
From the study, the following results are found:
1) Problems of using special measures include the following: some aspects of special measures in place of juvenile and family prosecution still need to be improved as the special measures taken prior to the trial where Section 90 will be used are still frequently ineffective because victims must agree to a rehabilitation program for juvenile offenders, in which the juvenile offenders must feel guilty before the process can start. In practice, victims do not have the opportunity to negotiate or speak with the juveniles, or some victims believe it is a minor case, or some victims are private individuals, such as department stores, who do not want to negotiate, or some victims live in other cities. After the negotiation is finished, victims and juveniles accept to participate in the rehabilitation program, but there is no coordinator on duty that day. Although the rehabilitation period is typically short, it takes a long time for juvenile offenders to feel guilty, making it difficult to achieve significant correction, healing, and rehabilitation results.
2) The Buddhist peaceful means used in a development process of special measures in place of juvenile and family prosecution include Bhāvanā (the four development), which is the development of juveniles in various aspects. This includes Kāya-bhāvanā, a physical development as well as occupational development, so that juveniles can coexist in society with discipline; Sīla-bhāvanā, a moral development through attending morality camp or ordination in order for juveniles to develop themselves and start dāna (giving) and helping others; Citta-bhāvanā, an emotional development for juveniles to control their emotions and those of others, as well as to cultivate loving-kindness and compassion; Paññā-bhāvanā, an intellectual development so that juveniles can solve problems using wisdom instead of emotions, as well as forming positive relationships with family.
3) The special measures in place of juvenile and family prosecution by Buddhist peaceful means at Chonburi Juvenile and Family Court includes a process that prevents juveniles from repeating the same offence. Regarding the treatment of victims through special measures in place of juvenile prosecution, some sections such as section 90, should be improved by allowing the coordinator, who is an associate judge, to handle the juvenile cases more quickly. When there are cases that juvenile offenders feel guilty prior to trial, the coordinator should speak with victims, as victims must participate in the planning of the juvenile rehabilitation program. When juveniles enter the court-arranged rehabilitation program, the associate judge should develop plans and allow juvenile offenders to participate in various programs such as family relationship development, morality camp, ordination, receiving education, practicing discipline, vocational training, etc. All of these programs not only correct, heal, and rehabilitate juveniles, but also help victims rebuild a positive relationship and provide juveniles with another opportunity in society by finding them a job after the case is finished.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|