โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาความเชื่อพิธีกรรมเเละคุณค่าทางไสยศาสตร์ของวัดเขาอ้อ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStudy the Beliefs, rituals and superstitious values of Wat Khao Or, Makok Nuea Sub-District, Khuan Khanun District, Phatthalung Province
  • ผู้วิจัยนายอุดมศิลป์ หวังปาน
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ดิเรก นุ่นกล่ำ
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว
  • วันสำเร็จการศึกษา09/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50280
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 38

บทคัดย่อภาษาไทย

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษา ความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของวัดเขาอ้อ 3) เพื่อศึกษาคุณค่าความเชื่อและพิธีกรรมทางไสย ศาสตร์ของวัดเขาอ้อที่มีผลกระทบต่อสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การ วิจัยเอกสารเพื่อประมวลองค์ความรู้โดยศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อ แนวคิดเกี่ยวกับพิธีกรรม แนวคิดเกี่ยวกับไสยศาสตร์ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งงานวิจัยที่มีผู้รู้ได้ศึกษาไว้ ผู้วิจัยได้เก็บ ข้อมูลภาคสนามโดยวิธีการการสัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่มชน จำนวน 25 รูป/ คน แล้วนำเสนอด้วยวิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์เป็นเครื่องสะท้อนบทบาทของสมาชิกในชุมชน ความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สังคมหรือประเทศชาติ นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งอยู่คู่กับ สังคมมาช้านาน ผ่านการผลิตซ้ำจนกลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน 2) พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของวัดเขาอ้อ ประกอบด้วย พิธีกรรมรับศิษย์ พิธีกรรมทำน้ำพระ พุทธมนต์ พิธีกรรมสะเดาะ พิธีกรรมกินว่านยา พิธีกรรมแช่ว่านยา พิธีกรรมกินข้าวเหนียวดำ พิธีกรรม กินน้ำมันงาดิบ พิธีกรรมการสร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ความเชื่อเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ สังคมและเศรษฐกิจ และวัตรปฏิบัติของพระอาจารย์ผู้สืบทอด 3) ความเชื่อและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของวัดเขาอ้อมีผลกระทบต่อสังคมในคุณค่าด้านจิตใจ คุณค่าด้านสังคม คุณค่าด้านเศรษฐกิจ คุณค่าด้านวัฒนธรรม คุณค่าด้านการบำรุงพระพุทธศาสนา คุณค่าด้านการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมตราบใดที่ผู้ถือปฏิบัติยังคงยึดตาม หลักพิธีกรรมนั้นอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่ต่อการพัฒนาพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ท้องถิ่นต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were as follows: 1) to study superstitious beliefs and rituals 2) to study superstitious beliefs and rituals of Khao Or Temple 3) to study the value of beliefs and rituals the superstition of Wat Khao Or that affects society in various aspects. Research results: 1) Superstition beliefs and rituals reflect the roles of members in the community, feeling of being part of the community. society or nation lead to the strength of the community which has been with society for a long time though reproduction until it becomes the identity of the community as the cultural heritage of the community. 2) The superstitious rituals of Khoa Or Temple consist of accepting disciple rituals. Holly water ceremony Neem Ritual the ritual of eating aloe vera Wan Ya Ritual. Ritual to eat black glutinous rice Ritual of eating raw sesame oil Ceremony of making amulets and amulets. Beliefs change according to social and economic conditions and the practices of the successor monks. 3) The superstitious beliefs and rituals of Wat Khao Or had an impact on society in various values, spiritual values. social value economic value cultural the value of the maintenance of Buddhism, the value of tourism Various values lead to peaceful coexistence insociety. As long as the practitioner continues to adhere to the principles of that ritual. Which will be beneficial to the development of Buddhism and local culture

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ