-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทไทยนิตโชอิ จำกัด เชิงพุทธบูรณาการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Buddhist Integrated Enhancement of Employees’ Motivation in Performing Duty of Thainitshoei. Co., Ltd.
- ผู้วิจัยนางอนัญญา นิตย์โชติ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ตวงเพชร สมศรี
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ประพันธ์ ศุภษร
- วันสำเร็จการศึกษา30/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50285
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 34
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทต้นแบบในสังคมไทย (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทไทยนิตโชอิจำกัด และ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทไทยนิตโชอิจำกัด เชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและทฤษฎีการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทต้นแบบในสังคมไทย ใช้หลักทฤษฎี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ซึ่ง 2 ปัจจัยนี้ มีความเชื่อมโยงกันทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เกิดการจูงใจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นสุข ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน คือ ปัญหาด้านบุคลากร ค่าตอบแทน สภาวะเศรษฐกิจ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หลักพุทธธรรมที่นำมาบูรณาการในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน คือ อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 และสังคหวัตถุ 4
รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทไทยนิตโชอิ จำกัด เชิงพุทธบูรณาการ คือ โมเดล “BMW” ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้านคือ (1) ด้านหลักธรรมะของพระพุทธเจ้า (B) (2) ด้านการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร (M) (3) ด้านการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท (W) ที่ส่งผลต่อการทำงานของผู้ปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลต่อเป้าหมายของการใช้ต้นทุนอย่างคุ้มค่า ทั้งบุคลากร เงินทุน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการที่มีคุณภาพโมเดล “BMW” นี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานให้เกิดความศรัทธาเชื่อมั่นในการดำเนินงานขององค์กรเกิดความประทับใจ เกิดการปฏิบัติงานอยู่กับองค์กรได้แบบมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
In this research, three objectives were purposely made: 1) to study the concepts and principles on the enhancement of the ideal employees’ impulsion in performing duty in Thai society, 2) to study the Buddhist principles for being enhanced Thainitshoei. Co., Ltd.’s employees’ impulsion in performing duty, and 3) to propose the Buddhist integrated model on the enhancement of Thainitshoei. Co., Ltd.’s employees’ impulsion in performing duty. This research employed the qualitative research methodology done by studying documents and interview of eighteen key informants. In this research, the research tool was of forms of in-depth interview and then contents analysis was also done through the descriptive analysis respectively.
The research results were found that the concepts and theories on the enhancement of the ideal company employees’ motivation basically refer to the encouragement in performing the assigned duty starting from management, coordination and participation in various activities of staffs while working where in theories two factors, motivation and maintenance factors are practically implemented as they are internally and externally bound to one another that give rise to the impulsion in working effectively. Furthermore, the cultivation of certain culture for happily working or what is called the happy organization, no more tension is added to bring about stress, good environment and incentive to challenge new things or technology including appropriate payment and various welfares are provided. In this situation, it could be said that the encouragement leading participation is actively actualized. As regards the problems and obstacles in enhancing the impulsion while working, they point to the problem on personnel, payment and states on the high costs of economic production. In this respect, the Buddhist principles introduced in by a researcher in order to be integrated to enhance the motivation in working consist of the followings, four paths for accomplishment, four sublime states of mind and four bases of social solidarity.
As far as the Buddhist integrated model on the enhancement of Thainitshoei. Co., Ltd.’s employees’ impulsion in performing duty, it is called ‘BMW’ embracing three important aspects: 1) it principally concerns with the Buddhist principles (Buddhadhamma), 2) it needs administrators’ management, and 3) it needs workers of company. All of them are the factors that empower both internal and external factors leading to the effective and successful performance of duty and thereby being conducive to the goal in fairly utilizing the low costs of production while dealing with staff, capital, equipment and qualitative management. It could be claimed that such a model named ‘BMW’ could be applied to the enhancement of the employees’ impulsion in working so as to provide the faith in believing the organization's operations where impression and working in such an organization would be securely and sustainably done.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|