-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิเคราะห์อุบาสกผู้เป็นเอตทัคคะตามหลักจัณฑาลสูตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn analytical study of Etadagga Upāsakas according to the Caṇḍāla Sutta
- ผู้วิจัยนายพงษ์เดช ลิมบานเย็น
- ที่ปรึกษา 1พระมหาอดิเดช สติวโร, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุเทพ พรมเลิศ
- วันสำเร็จการศึกษา02/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50286
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 53
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฏีนิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาอุบาสกผู้เป็นเอตทัคคะในพระไตรปิฏก 2) เพื่อศึกษาอุบาสกเอตทัคคะตามหลักจัณฑาลสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นอุบาสกเอตทัคคะตามหลักจัณฑาลสูตร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบวิจัยเป็นแบบวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research)
ผลการวิจัยพบว่า อุบาสกผู้เป็นเอตทัคคะมีจำนวน 10 ท่าน ที่ได้รับยกย่องให้เป็นเลิศในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ โดยการแต่งตั้งเป็นพระวินิจฉัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น และ พระพุทธเจ้าประทานแต่งตั้งเพียง รูปเดียว ท่านเดียว ซึ่งการได้รับตำแหน่งเอตทัคคะเป็นไปด้วยเหตุ 4 ประการ คือ 1) ด้วยการเกิดเรื่องขึ้น 2) ด้วยการมาก่อน 3) ด้วยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ 4) ด้วยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ
จัณฑาลสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึงคุณสมบัติของอุบาสกสองด้านหรือสองขั้ว คือ อุบาสกจัณฑาล หรือ อุบาสกที่ไม่พึงประสงค์ในองค์กรของพระพุทธศาสนา ที่สามารถทำให้อุบาสกในพระพุทธศาสนาต่ำช้า ถดถอย หาความก้าวหน้าไม่ได้ ขาดความเป็นปึกแผ่น ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ให้หลักธรรมที่ตรงข้ามไว้ในพระสูตรเดียวกัน คือ อุบาสกแก้ว ที่จะกลายเป็นอุบาสกธรรมที่ควรนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็นอุบาสกที่ทำให้เป็นต้นบุญต้นแบบขององค์กรพระพุทธศาสนาก้าวหน้าสืบไป
ผลการวิเคราะห์ความเป็นอุบาสกเอตทัคคะตามหลักอุบาสกแก้วในจัณฑาลสูตร พบว่าอุบาสกเอตทัคคะทั้ง 10 ท่าน ไม่มีท่านใดเข้าหลักเกณฑ์ของอุบาสกจัณฑาล แต่อุบาสกเอตทัคคะทั้ง 10 ท่านเข้าหลักเกณฑ์ของอุบาสกแก้ว ที่ประกอบไปด้วย 1) เป็นผู้มีศรัทธา 2) เป็นผู้มีศีล 3) เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล 4) ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ และ 5) ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน เพราะอุบาสกเอตทัคคะเมื่อฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าก็สามารถสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล เกิดปัญญาเห็นแจ้งในโลกุตตรธรรม มีอุบาสกเอตทัคคะจำนวน 7 ท่านอยู่ในขั้นพระโสดาบัน และ 3 ท่านอยู่ในขั้นพระอนาคามี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This Dissertion has three objectives: 1) to study the Etadagga Upāsakas in the Tipitaka, 2) to study the Upāsakas according to Caṇḍāla Sutta, and 3) to analyze of being Upāsaka according to Caṇḍāla Sutta. This study is of qualitative research. The research type is a documentary research. The data source is a collection of data from Tipitaka, commentary, academic texts on Buddhism, articles, journals and the related researches.
The results of the study were as follows:
There are ten Upāsakas who are Etadagga, have been praised as being excellent in some special ways, appointed as a judgment only by the Buddha, and the the Buddha appointed only one person in one excellent way. They are four reasons of obtaining the Etadagga: 1) by the occurrence of the matter, 2) by the preceding matter, 3) by being experienced person, and 4) by being a good person.
The Caṇḍāla Sutta is a sutra that discusses the qualities of two-sided or two-fold Upāsakas, namely, Caṇḍāla Upāsaka or those who are undesirable in the organization of Buddhism that can cause Upāsaka in Buddhism wicked, deteriorate, progressless, and lacking of solidarity, In which the Buddha gave the opposite principle in the same sutra, that is, a Jewel Upāsaka who would become a Dhamma-Upāsaka that should be put into practice for being Upāsaka who will be a prototype of merit for Buddhist organization progressively.
The results of the analysis of being Etadagga Upāsaka according to the principles of Jewel Upāsaka in the the Caṇḍāla Sutta. It was found that of the ten Etadagga Upāsakas, none met the criteria for Caṇḍāla Upāsaka. But all ten Upāsakas met the criteria of Jewel Upasaka, consisting of: 1) being a believer, 2) being a person with morality, 3) being a person who does not believe in the gossip news, believes in karma, does not believe in the gossip news, 4) does not seek one who receives donation (Dakshinã) outside of this religion, and 5) being a person who makes contribution to this religion first. Because Etadagga Upāsakas while listening the Buddha's sermons can become the noble persons, wisdom arises and sees clearly in the supramundane states (Lokuttara Dhamma). In the end of this Sutta, there were seven Etadagga Upāsakas held in the Sotāpanna stage and three in the Anagāmi stage.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|