โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง เรือนจำอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษIntegrating Buddhist Psychology Principles to Solve Recidivism of Prisoners in Thanyaburi District Prison Pathum Thani Province
  • ผู้วิจัยนายพิชิต ชัยมาลา
  • ที่ปรึกษา 1ดร.สัญญา สดประเสริฐ
  • ที่ปรึกษา 2พระปลัดประพจน์ สุปภาโต, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา02/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50287
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 51

บทคัดย่อภาษาไทย

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอธัญบุรี 2) เพื่อบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยาในการแก้ไขผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง เรือนจำอำเภอธัญบุรี 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการป้องกันในการแก้ไขผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอธัญบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยศึกษาเอกสารและเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้ต้องขังที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำอำเภอธัญบุรี จำนวน 100 คน และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเชิงพรรณนา

                  ผลการศึกษาพบว่า

              1. ปัจจัยในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอธัญบุรี พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดซ้ำมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านตนเอง รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสภาวะสังคม ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านเพื่อน ตามลำดับ

                   2. บูรณาการหลักพุทธจิตวิทยาในการแก้ไขผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง เรือนจำอำเภอธัญบุรี พบว่า การพัฒนากิจกรรมแก้ไขผู้ต้องขังให้เกิดความเหมาะสม โดยได้นำแนวคิดการป้องกันการกระทำผิดซ้ำตามหลักพุทธจิตวิทยา (ภาวนา 4) มาเป็นกระบวนการสร้างจริยธรรมเชิงพุทธบูรณาการสำหรับผู้ต้องขัง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ต้องขังได้มีเครื่องเตือนสติในการยับยั้งตนเอง ควบคุมและการพัฒนาพฤตินิสัย และนำหลักธรรมพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คือ หลักเบญจศีล เบญจธรรม ที่เป็นกระบวนการสำคัญในการปฏิบัติตนในสังคม การปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาประจำวันและวันสำคัญทางศาสนาการพัฒนาพฤตินิสัยให้ผู้ต้องขังได้มีการพัฒนาทางด้านจิตใจนั้น จึงต้องเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังใกล้ชิดพระพุทธศาสนาเกิดความคุ้นเคยน้อมรับในการประกอบศาสนกิจทั้งการรับฟังพระธรรมคำสั่งสอน และบำเพ็ญบุญกุศลตามโอกาสอันเหมาะสม เห็นประโยชน์ในการทำความดีละเว้นความชั่วทั้งปวง ดังนั้นจากการศึกษาจึงเป็นประโยชน์ เพื่อการนำไปปรับใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องของเนื้อหาเพื่อเป็นปัจจัยและแนวทางการแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง เพื่อนำพาไปสู่แนวทางการมีจิตสำนึกดี มีทัศนคติตลอดจนค่านิยมในทางที่ดีงามและถูกต้อง การป้องกันกระทำผิดซ้ำตามหลักพุทธจิตวิทยา (ภาวนา 4) ถือเป็นมนุษยธรรม คือธรรมของมนุษย์ที่มีความตั้งใจที่จะงดเว้นจากความชั่ว เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม

                3. แนวทางการป้องกันในการแก้ไขผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอธัญบุรี พบว่า 1) กระบวนการพัฒนากาย เป็นการให้ความรู้ในด้านการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะชีวิต เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน และยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักธรรม ขั้นแรกของความเป็นมนุษย์คือ กายภาวนา การพัฒนากายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอก 2) กระบวนการสร้างระเบียบวินัยความประพฤติ โดยนำหลักสีลภาวนา คือ การพัฒนาความประพฤติการฝึกอบรมศีลให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียน หรือก่อความเดือดร้อนเสียหายให้กับตนเอง และผู้อื่น 3) กระบวนการขัดเกลาจิตใจ เห็นประโยชน์ของกิจกรรมที่ส่งผลทั้งด้านจิตภาวนา คือ การพัฒนาจิตให้สมบูรณ์พร้อม เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงาม ด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตา กรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ เป็นต้น 4) กระบวนการสร้างปัญญา การสนับสนุน สงเคราะห์ แนะนำเนวทางการใช้ชีวิตให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติ คือ ปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญาให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลก และชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลส และปลอดพ้นจากความทุกข์ เป็นการใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีความเข้าใจชีวิตและโลกอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง

         ทั้งนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องมีการนำหลักพุทธจิตวิทยา (ภาวนา 4) มาจัดเป็นกิจกรรมในการพัฒนาผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำโดยการพัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา เพื่อพัฒนาความพร้อมกับการกลับคืนสู่สังคม และการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัว จนเกิดเป็นการยอมรับอย่างเป็นรูปธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  The objectives of this research are 1) to study factors in recidivism among inmates at Thanyaburi District Prison; 2) to integrate the principles of Buddhist psychology in resolving inmates' recidivism. Thanyaburi District Prison 3) To present prevention guidelines for correcting repeat offenders of Thanyaburi District Prison prisoners. It is a combined method research. By studying documents and collecting data from questionnaires, including 100 inmates detained at Thanyaburi District Prison, and in-depth interviews with 15 key informants, data were analyzed using statistics used in data analysis, including the hundreds. each mean and standard deviation and descriptive content analysis

                   The results of the study found that

                   1. Factors in recidivism among inmates at Thanyaburi District Prison. It was found that the factors most related to recidivism were self-factors, followed by social factors. Family factors and friend factors, respectively

                    2. Integrate the principles of Buddhist psychology in correcting prisoners' recidivism. Thanyaburi District Prison found that the development of activities to correct inmates was appropriate. By using the concept of preventing recidivism based on the principles of Buddhist psychology (Phāna 4) as a process for creating integrated Buddhist ethics for prisoners. The aim is to give prisoners a reminder to restrain themselves. Control and development of behavior and apply the basic principles of humanity, namely the five precepts, the five principles, which are important processes for conducting oneself in society. Practicing daily Buddhist activities and important religious days develops behavior for inmates to develop psychologically. Therefore, there must be an opportunity for inmates to get close to Buddhism and become familiar with and accept it in performing religious duties, including listening to Dhamma teachings. and perform merit-making on appropriate occasions See the benefits in doing good and refraining from all bad. Therefore, studying from it is beneficial. For use in studies and analysis of the consistency of the content as factors and guidelines for resolving prisoners' recidivism. To lead you to the path of having good conscience. Have an attitude and values that are good and correct. Preventing repeat offenses according to the principles of Buddhist psychology (Phāna 4) is considered humane. It is the Dhamma of human beings who intend to abstain from evil. It is a practice for living together peacefully in society.

                3. Prevention guidelines for correcting repeat offenders of Thanyaburi District Prison prisoners found that: 1) Physical development process It provides knowledge in the area of preventing repeat offenses. Providing knowledge about life skills In order to build immunity And there is also knowledge about Dhamma principles. The first step of being human is body meditation, developing the body to know how to communicate with external things. 2) The process of creating disciplined behavior. By applying the principles of Sila Bhavana, which is the development of behavior and training in precepts to be established in discipline. Don't harass or causing trouble and damage to oneself and others. 3) The process of refining the mind. See the benefits of activities that affect both the mental aspect, which is the development of the mind to perfection. Be strong, stable, and prosper with all virtues such as kindness, kindness, diligence, patience, concentration, etc. 4) The process of building wisdom, support, assistance, and guidance on how to live a normal life in society, namely panya-bhavana, developing wisdom to know and understand things. As a matter of fact knowing how to see the world and life according to conditions Able to free the mind Purify yourself from defilements. and free from suffering It is the use of intelligence to solve problems that arise. Have a true understanding of life and the world.

              In this regard, the knowledge gained from research The knowledge gained can be applied to benefit. By those involved, the principles of Buddhist psychology (Phāna 4) have been organized as activities to develop repeat offenders through physical development, moral development, mental development, and intellectual development. To develop readiness for reintegration into society and building relationships with family until it becomes a concrete acceptance.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ