-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Application of Buddhist Principles for Improving the Quality of Life of the Elderly of Thung Chang Subdistrict Administrative Organization Thung Chang District, Nan Province
- ผู้วิจัยนายระพีพัฒน์ กิตติภิรมย์สันต์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วรปรัชญ์ คำพงษ์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา16/07/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50289
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 136
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดยการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง 176 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิเคราะห์โดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง อำเภอ ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมากทุกด้าน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ กายภาวนา สีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้างได้มีการประยุกต์นำภาวนา 4 กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ก็จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น จึงยอมรับสมมติฐาน
3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ด้านกายภาวนา โดยการส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกาย โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์เหมาะสมกับร่างกายและวัย และหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอๆ ด้านสีลภาวนา โดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข เป็นผู้ที่มีจิตใจแจ่มใส อยู่ร่วมในสังคมด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ด้านจิตตภาวนา มุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตที่ดี มีจิตใจเบิกบานจิตใจเบิกบาน แจ่มใส มีความสุขุม รอบคอบ ด้วยการฝึกปฏิบัติสมาธิอย่างสม่ำเสมอ ยึดมั่นและศรัทธาในความดีตามหลักพระพุทธศาสนา และด้านปัญญาภาวนา ส่งเสริมภูมิปัญญาด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มพูนความรู้ แก้ปัญหาด้วยสติรวมไปถึงการใช้ปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตน รู้จักใช้ปัญญาในการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ในการเพิ่มช่องทางในการสื่อสารให้เป็นประโยชน์ เมื่อต้องการความช่วยเหลือจึงจะสามารถแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the quality of life development for the elderly of Thung Chang Subdistrict Administrative Organization. Thung Chang District, Nan Province. 2. To study the relationship between the Four Bhavana Principles and the quality of life development for the elderly of Thung Chang Subdistrict Administrative Organization. Thung Chang District, Nan Province. 3. To study the problems, obstacles, and guidelines for improving the quality of life of the elderly according to the four meditation principles of Thung Chang Subdistrict Administrative Organization. Thung Chang District, Nan Province. The research was a combined method consisting of quantitative research. There was a sample of 176 people using a questionnaire. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation. and used for analysis using Pearson correlation coefficient and qualitative research by in-depth interviews with 11 key informants or persons using the interview form and descriptive content analysis..
Findings were as follows:
1. The level of quality of life development for the elderly of Thung Chang Subdistrict Administrative Organization, Thung Chang District, Nan Province was at a high level overall ( = 4.09) when considering each aspect, ie physical, mental, social relations. and environment at a high level in every aspect and the development of the quality of life of the elderly according to the four principles of the Thung Chang Subdistrict Administrative Organization Overall, it was at a high level (
= 4.28) when considering each aspect, namely physical body, silapa, mental and panna. at a high level in every aspect. 2. The relationship between the four principles of Bhawana and the quality of life development for the elderly of Thung Chang Subdistrict Administrative Organization Thung Chang District, Nan Province as a whole had a very high positive relationship. There was a statistical significance at the 0.01 level when the Thung Chang Subdistrict Administrative Organization applied the 4 prayers to the development of the elderly's quality of life. It will result in the elderly have a better quality of life. therefore accepted the hypothesis.
3. Guidelines for improving the quality of life of the elderly according to the four principles of the Thung Chang Subdistrict Administrative Organization Thung Chang District, Nan Province, in terms of physical meditation by promoting physical health care By choosing foods that are beneficial to the body and age. and keep exercising regularly in Silapavana by encouraging the elderly to live happily in society a person with a clear mind live in society by helping each other spiritual aspect focusing on activities that promote good mental health Have a joyful mind, cheerful mind, clear mind, prudence by practicing meditation regularly. adhere to and believe in goodness according to Buddhist principles and wisdom Promote wisdom by exchanging information to increase knowledge solve problems with consciousness, including using wisdom to maintain one's health know how to use wisdom in daily life Learning to add useful communication channels When they need help, they will be able to solve problems in their lives by themselves.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|