โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThai Restorative Justice in Criminal Cases of Appeal Court by Buddhist Peaceful Means
  • ผู้วิจัยนายสุนทร ทิมจ้อย
  • ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2อาจารย์อดุลย์ ขันทอง
  • วันสำเร็จการศึกษา27/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50291
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 52

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยในรูปแบบ Research and Development หรือ (R and D) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1)  เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา สาเหตุ ความต้องการจำเป็น ด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี 2) เพื่อบูรณาการกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี

ผลการวิจัยพบว่า :

1) สภาพปัญหาของกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท

แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี ในศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในปัจจุบันพบว่า ยังมิได้กำหนดนโยบายในการนำคดีอาญาให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนการพิจารณาคดี และขั้นตอนในการปฏิบัติงานของผู้ประนีประนอมยังไม่ชัดเจน รวมทั้งผู้ประนีประนอมยังไม่เข้าใจเป้าหมายในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา และขาดความรู้ด้านกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา เช่น ป.อ.มาตรา 56, ป.วิ อ. มาตรา 35 และ มาตรา 39(2) เป็นต้น

2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา

โดยพุทธสันติวิธี พบว่า การพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาโดยพุทธสันติวิธี ซึ่งเกิดจากการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยด้วยหลักอริยสัจสี่ ประกอบไปด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดังนั้น เมื่อคู่ความมีทุกข์ ผู้ประนีประนอมต้องค้นหาว่าโจทก์มีทุกข์อย่างไร จำเลยมีทุกข์อย่างไร และช่วยคู่ความหาสาเหตุของทุกข์นั้น และช่วยชี้แนะหาทางออกแห่งทุกข์ เพื่อให้คู่ความบรรลุแห่งการดับทุกข์และหลุดพ้นจากทุกข์ ในการควบคุมกระบวนการไกล่เกลี่ยให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธผล ผู้ประนีประนอมต้องมีพรหมวิหารสี่ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เป็นธรรมประจำใจ และต้องควบคุมกระบวนการด้วยการมีสติ มีขันติ เพื่อให้เกิดสันติ เกิดสันติภาพภายใน สันติภาพภายนอก และเกิดสังคมสันติสุข

นำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี ประกอบไปด้วย การไกล่เกลี่ยฟื้นสัมพันธ์เพื่อสันติภาพ (Peace Restorative justice) 6 ด้านคือ 1) ให้โอกาสจำเลยและผู้เสียหายบอกเล่าความจริงที่เกิดขึ้น (Opportunity) 2) ให้จำเลยได้รู้สึกสำนึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดของตน (Remorse) 3) จำเลยหามาตรการเยียวยา แก้ไข ฟื้นฟู ผู้เสียหาย (Healing Solution) 4) ให้จำเลยได้มีโอกาสแสดงความรับผิดชอบและแก้ไขพฤติกรรม (Responsibility) 5) สามารถสานสัมพันธ์กันต่อไปได้ และจำเลยไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก (Relationship) 6) ผู้เสียหายได้ให้อภัย และถอนคำร้องทุกข์-จำหน่ายคดี (Forgiveness) และรอการลงโทษ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research, Restorative justice Process of Criminal Cases Involving Compoundable Offence by Buddhist Peaceful Means, is developed in the form of Research and Development (R and D), including 3 objectives as follows: 1. To study contexts, problems, causes, and needs of the restorative justice process of criminal cases of Appeal court involving compoundable offence of Appeal Court 2. To improve the restorative justice process of criminal cases involving compoundable offence by applied Buddhist Peaceful Means 3. To demonstrate the restorative justice process of criminal cases involving compoundable offence by applied Buddhist Peaceful Means with The Appeal Court.

The results of this research indicate as follows:

1. The researcher found several problems in the restorative justice process of criminal cases involving compoundable offence of The Appeal Court occurring in nowadays. The first issue, there is no rule and regulation of bringing the compoundable offence criminal cases into the restorative justice process before the first hearing. Also, the working procedure of a conciliator is ambiguous. Moreover, some of the conciliators do not clearly understand the purposes of the restorative justice process of criminal cases involving compoundable offence, and they are also lack of law and regulation knowledge involved with the restorative justice process of compoundable offence criminal cases, such as the Criminal Code section 56, the Criminal procedure Code section 35, and Criminal procedure Code section 39(2)

2. The results of this paper show that the restorative justice process of criminal cases involving compoundable offence is supported and associated with the Buddhist Peaceful Means. This restorative justice process is developed and driven by the Four Noble Truths, consisting of the truth of suffering, the truth of the origin of suffering, the truth of the cessation of suffering, and the truth of the path to cessation of suffering. Therefore, when the parties in a lawsuit are suffering, the conciliators have to investigate how they suffer, and find the cause or origin of suffering, then help them to be released from the suffering or relieve the suffering by guiding solutions. It is also important for the conciliators to apply the Four Sublime States of Mind as a Buddhist morality regularly in order to control and make the restorative justice process efficient and effective. In addition, the conciliators have to manage the restorative justice process with awareness and patient in order to build both inner peace, outer peace, and also a peaceful society.

3. The demonstration of the restorative justice process of criminal cases involving compoundable offence by applied Buddhist Peaceful Means with Criminal cases of The Appeal Court includes the Peace Restorative justice process, which consists of 6 steps as follows:

      1.1 Give an opportunity to a defendant and a victim to inform the matters of fact.

      1.2 Let the defendant realize and feel remorse about the consequences and impacts of his/her offence.

      1.3 The defendant finds and offers the healing solutions to the victim for relieving suffers, rectifying the situation, and healing the victim. 

      1.4 Let the defendant have a chance to take a responsibility of his/her fault, and improve his/her behavior.

      1.5 Be able to maintain the relationship between the defendant and the victim, and do not reoffence.

      1.6 The victim forgives the defendant, then withdraws and disposes of the case.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ