-
ชื่อเรื่องภาษาไทยโมเดลเชิงสาเหตุการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากจิตที่งอกงามของนักศึกษาครูสมาธิตามแนวพุทธจิตวิทยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Causal Model for Improving the Quality of Life from the Mental Growth of Meditation Master Students Based on Buddhist Psychology
- ผู้วิจัยนางขวัญใจ ทองศรี
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50292
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 59
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตและจิตที่งอกงามของนักศึกษาครูสมาธิ 2) เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากจิตที่งอกงามตามแนวพุทธจิตวิทยาของนักศึกษาครูสมาธิ 3) เพื่อตรวจสอบความตรงและนำเสนอโมเดลเชิงสาเหตุของการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากจิตที่งอกงามของนักศึกษาครูสมาธิตามแนวพุทธจิตวิทยาการวิจัยนี้เป็นแบบผสมวิธี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการสังเคราะห์องค์ความรู้ โดยการนำกรอบแนวคิด เชิงทฤษฎีจากทฤษฎีฐานรากไปสร้างเป็นโมเดลเชิงสาเหตุ และตรวจสอบโมเดลด้วยวิธีการเชิงปริมาณ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน และใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาครูสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ จำนวน 410 รูปหรือคน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป การวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล ทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบคุณภาพชีวิตจากจิตที่งอกงามตามแนวพุทธจิตวิทยา ควรประกอบด้วย คุณภาพทางกาย คือ มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เกื้อกูลและมีคุณภาพ คุณภาพทางศีล คือ การมีพฤติกรรมทางสังคมที่มีคุณภาพ คุณภาพทางจิตใจ คือ มีจิตใจที่ฝึกฝนมาดีแล้ว และ คุณภาพทางปัญญา คือ มีปัญญารู้จัดคิด รู้จักพิจารณา จากการพัฒนาองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตส่งผลให้เกิดคุณลักษณะของจิตที่งอกงาม 4 คุณลักษณะ คือ มีจิตสงบ จิตสะอาด จิตสว่าง และจิตเป็นสุขในที่สุด
2. รูปแบบการสร้างโมเดลการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากจิตที่งอกงามตามแนวพุทธจิตวิทยา ควรเริ่มการพัฒนาในทุก ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กัน เริ่มจากการพัฒนาด้านองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะด้านปัญญาให้มาก เพราะปัญญาจะเป็นตัวนำ ซึ่งกระบวนการพัฒนาปัญญาก็ต้องมาจากพื้นฐานของสภาพของจิตที่เอื้อและพร้อมต่อการพัฒนา หากจิตได้รับการพัฒนาให้เจริญ งอกงาม เป็นจิตที่มีความพร้อม เหมาะแก่การงาน ส่งผลต่อการพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้นเพราะจิตเป็นตัวสั่งการนั่นเอง ดังนั้นพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกมาทางกาย วาจา จึงล้วนเป็นสิ่งที่เหมาะสม ควรแก่การดำเนินชีวิต การพัฒนาองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตยังมีผลต่อการพัฒนาด้านปัจจัยจิตวิทยาเชิงบวกตามหลักจิตวิทยาเชิงบวกของ PERMA มี 5 ด้าน คือ การมีอารมณ์เชิงบวก การมีความผูกพันและส่วนร่วม การมีสัมพันธภาพ การมีคุณค่าและความหมาย และการมีความสำเร็จในชีวิต ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตครบองค์ประกอบตามแนวพุทธจิตวิทยา คือ ใจสุข กายสุข สังคมสุข ตามมา
3. ผลการนำเสนอโมเดลการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากจิตที่งอกงามของนักศึกษาครูสมาธิตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า องค์ประกอบของคุณภาพชีวิต ปัจจัยจิตวิทยาเชิงบวก และ คุณลักษณะของจิตที่งอกงาม ส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตจากจิตที่งอกงามตามแนวพุทธจิตวิทยา ร้อยละ 90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ มีความถูกต้องในเชิงทฤษฎี มีความเป็นไปได้และมีความเหมาะสมในเชิงปฏิบัติ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to study the components of quality of life from mental growth; 2) to build a causal relationship model for improving quality of life from mental growth based on Buddhist Psychology of meditation master students; and 3) to examine the validity and present a causal relationship model for improving quality of life from mental growth based on Buddhist Psychology of meditation master students. The causal aspect of improving the quality of life from mindfulness of meditation master students based on Buddhist Psychology
This research was a mixed method, using a quantitative research method to expand the results of a qualitative research method in the knowledge synthesis by adopting the conceptual framework from the basic theory to construct a causal model and verify the model with a quantitative method. The qualitative data collection tool was an in-depth interview with 17 key informants and a questionnaire was used to collect quantitative data from a sample group of 410 meditation master students of
the Institute of Willpower. A content analysis and inductive conclusion were employed for qualitative data analysis and for analyzing quantitative data descriptive statistics, Correlation analysis with ready program analysis to verify the model’s consistency with empirical data and effect size analysis and Direct and indirect with the LISREL program were employed.
The research findings were as follows.
1. The components of quality of life from mental growth based on Buddhist Psychology consisted of bodily quality referring to having a supportive and physical quality of environment, a moral quality referring to having quality social behavior,
a mental quality referring to having a well-trained mind, and intellectual quality referring to having wisdom to know and think about how to consider from
the development of the components of quality of life resulted in the four characteristics of a thriving mind, namely a calm mind, a clean mind, a bright mind, and finally a happy mind.
2. A causal relationship model for improving quality of life from mental growth based on Buddhist Psychology of meditation master students should start developing in all aspects at the same time, starting from the development of
the components of quality of life, especially the intellectual aspect because of wisdom leading to knowing what is good and what should be done, and what should be said as the process of developing wisdom coming from the basis of a state of mind to be conducive and ready for development resulted in thriving development in other areas considered to be easier because of the mind as the commander affecting various behaviors in terms of physical and verbal expressions appropriate for the life style and affecting the development of positive psychological factors according to 5 aspects of PERMA's positive psychology principles including Positive emotion, engagement and involvement relationship having value and meaning and having success in life resulting in a complete quality of life based on Buddhist Psychology including a happy mind,
a happy body, and a happy society.
3. The results of the presentation of the quality of life development model from the mental growth of the meditation master students based on Buddhist Psychology revealed that the components of the quality of life, the positive psychological factors and the characteristics of the mental growth resulted in
the quality of life from the mental growth based on Buddhist Psychology at 90 percent with statistical significance at the .05 level, with the mean at the high level in all items, being theoretically correct, feasible and appropriate in practice.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|