โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาธนาคารโค-กระบือ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุข โดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณี อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of the Cattle Buffalo Bank to Encourage Peaceful Society by the Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Prangku District, Srisaket
  • ผู้วิจัยนางเพลินพิศ สืบพานิช
  • ที่ปรึกษา 1พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺเวที, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา28/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50297
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 31

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการของคนและชุมชนในอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ และแนวคิด ทฤษฏีธนาคารโค-กระบือในสังคมไทยยุคปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาธนาคารโค-กระบือ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุขในชุมชน 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาธนาคารโค-กระบือ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีในอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบปฏิบัติการ (Action Research) ตามหลักอริยสัจจ์โมเดล 9 ขั้นตอน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากสมาชิกโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร โคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล จ.ศรีสะเกษ จำนวน 30 คน และผู้เกี่ยวข้องอีก 10 รูป/คน รวม 40 รูป/คน

ผลการวิจัย พบว่า

1. บริบท สภาพปัญหา ความต้องการของคนและชุมชน อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ในอดีตเคยเป็นพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งมากที่สุดในจังหวัด และแห้งแล้งในลำดับต้น ๆ ของประเทศ ปัจจุบันมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ ทำนา 90% ทำสวนและทำไร่ 4% รับจ้าง 4% ค้าขายและอื่น ๆ 2%  ประชากรในพื้นที่ประสบสภาพปัญหาการว่างงาน ไม่มีอาชีพที่มั่นคง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีเงินทุนประกอบอาชีพ ปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน ขาดทุนทรัพย์ประกอบอาชีพ และขาดแหล่งน้ำในการทำการเกษตร คนในชุมชนมีความต้องการอาชีพเสริมให้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว ต้องการที่ดินทำกิน และทุนทรัพย์ในการประกอบอาชีพที่มั่นคง ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐด้านการศึกษาของนักเรียน

2. หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาธนาคารโค-กระบือ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของชุมชนคือ “อิทธิบาท 4” และ "หัวใจเศรษฐี" คือ "อุ"= ขยันหา "อา" = รักษาดี "กะ"= มีกัลยาณมิตร "สะ"= เลี้ยงชีวิตเหมาะสม เมื่อนำมาบูรณาการกับหลักชุมชนสันติสุข “สันติภาพ 4” ในบริบทของธนาคารโค-กระบือ ซึ่งเป็นการพัฒนาด้านกายภาพ (Physical Development) คือ พัฒนาสิ่งแวดล้อม พัฒนาสัมมาอาชีพ เพื่อการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น จะทำให้ครอบครัวและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เกิดเป็นหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข

3. กระบวนการพัฒนาธนาคารโค-กระบือ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีของอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ หรือ หลักการ SDM Model ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลักคือ  1). การจัดการด้านอุปทาน (Supply Management : S) ของผู้บริจาคมอบโค-กระบือ ได้แก่ การเลือกแหล่งโค-กระบือที่ไปไถ่ชีวิต การฉีดวัคซีนและจัดทำใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ฯ การทำพิธีทางศาสนาเพื่อปลดปล่อยและการส่งมอบในเวลาที่เหมาะสม  2).การจัดการด้านอุปสงค์ (Demand Management : D) ของผู้รับมอบโค-กระบือ มีเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ดำเนินงานด้วยความเอื้ออาทร ความรับผิดชอบ ด้วยหลักเมตตาธรรม  3).การบริหารการจัดการ (Managerial Management : M) การเตรียมความพร้อมอย่างมีประสิทธิภาพของหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องเข้ามารับผิดชอบบริหารโครงการฯ คือ คณะกรรมการโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร โคกหนองนาสันติศึกษาโมเดลศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ

เงื่อนไขความสำเร็จของโครงการขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ในการบริหารจัดการ ความพร้อมด้านอัตรากำลัง ความรับผิดชอบ และความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่โครงการฯ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research has 3 main objectives: 1) To study and analyze the context, the problem situation, and the needs of people and community in Prang Ku District, Srisaket Province, and to explore the current theoretical concept of the “Cattle Buffalo Bank” - a local initiative- in the present Thai society era;  2) To study the Buddhist Peace Principles that contribute to the development of the Cattle Buffalo Bank and its role in fostering a harmonious community; and  3) To develop and present a process for the development of the Cattle Buffalo Bank to strengthen community peace and happiness based on the principles of Buddhist peace methodology in Prang Ku District, Srisaket Province. This is a qualitative research study conducted as an action research, following the 9 steps of ariyasacca model. It involves in-depth interviews with 30 members of the Cattle Buffalo Bank project for farmers in Khok Nong Na Santisuksa Model, Srisaket Province, and 10 other relevant individuals, totaling 40 participants.

The research findings are as follows:

1. Context, Problem situation, the people and community needs in the past, Prang Ku District, Srisaket Province, was known for severe drought, ranking among the driest areas in the province and the country. However, it has since become fertile with drought-resistant crops and a source of local wisdom. The majority of the population are engaged in agriculture, with 90% in rice farming, 4% in gardening and orchards, 4% in wage labor, and 2% in trade and other occupations. The community faces problems such as unemployment, unstable livelihoods, insufficient income, land shortages for farming, lack of capital for sustainable livelihoods, difficulty accessing funding, and a lack of water resources for agriculture. People in the community are seeking supplementary livelihoods to support their families, access to farmland, and capital for stable occupations. They also desire educational support for students.

2. The fundamental of Buddhist principles that support the development of the Cattle Buffalo Bank to foster a harmonious community in Prang Ku District, Srisaket Province are “The Iddhipada” (the four paths of accomplishment) and “The Millionnaire’s heart” which the abbreviated are "Uh" = Hard to find, "Ah"=treat well, "Ka" = have kalyanamitta -bond with good friends, "Sa"=live sufficiently. When integrated with the "Four Peaceful States of Mind" in the context of the Cattle Buffalo Bank, they contribute to physical development, environmental improvement, vocational development, to strengthening a harmonious community, having enough to live on, enough to eat, enough to use, enough shade, coolness, it will have positive effects on families and the community. This integration forms the foundation for Buddhist peace methodology in strengthening a harmonious community peace.

3. The development process of the Cattle Buffalo Bank for enhancing community peace and happiness in Prang Ku District, Srisaket Province, follows the SDM (Supply-Demand-Managerial) Model. It includes three main processes:  1) Supply Management (S): Involves selecting appropriate sources for the donation of cows and buffaloes, administering vaccinations, obtaining transportation permits, conducting religious ceremonies for their release, and timing delivery,  2) Demand Management (D): Establishes clear criteria and conditions for recipients, emphasizing diligence, responsibility, and ethical behavior, and 3) Managerial Management (M): Ensures the efficient readiness of organizations or agencies responsible for managing the project. This includes the Cattle Buffalo Bank Committee for Farmers in Khok Nong Na Santisuksa Model, Srisaket Province.

The key success of the project depends on full participation in management, readiness in terms of resources, responsibility, and dedication of project staff.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ