โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิผลการให้บริการประชาชนตามหลักพุทธธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPublic Service Effectiveness According to Buddhadhamma of Pak Chong Sub-District Administrative Organization, Lom Sak District in Phetchabun Province
  • ผู้วิจัยพระมหาวิทยา ธีรปญฺโญ (แพงศรี)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ประสิทธิ์ พุทธศาสน์ศรัทธา
  • วันสำเร็จการศึกษา22/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50298
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 183

บทคัดย่อภาษาไทย

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้1)เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับประสิทธิผลการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 3)เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อประสิทธิผลการให้บริการประชาชนตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากการแจกแบบสอบถามและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 382 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรม และหลักประสิทธิผลการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสังคหวัตถุธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.67, S.D. = 0.470) พิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านทาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.65, S.D. = 0.485) ด้านปิยวาจา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.64, S.D. = 0.571) ด้านอัตถจริยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.71, S.D. = 0.531) ด้านสมานัตตตา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.67, S.D. = 0.642) เกี่ยวกับประสิทธิผลการให้บริการประชาชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.68, S.D. = 0.491) พิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านการผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.61, S.D. = 0.617) ด้านประสิทธิภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.76, S.D. = 0.509) ด้านความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.62, S.D. = 0.613) ด้านการปรับเปลี่ยน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.71, S.D. = 0.588) ด้านการพัฒนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.72, S.D. = 0.502)

2.ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า หลักสังคหวัตถุธรรมมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีระดับความสัมพันธ์สูงมาก (R = 0.904**) กล่าวคือ เมื่อมีการใช้หลักธรรมมากขึ้น ก็จะส่งผลให้มีประสิทธิผลการในการให้บริการประชาชนมากขึ้น จึงยอมรับสมมติฐาน

3.ปัญหาและอุปสรรคด้านหลักสังคหวัตถุธรรม พบว่า เจ้าหน้าที่มีจำนวนจำกัดและเครื่องมือเครื่องใช้มีไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ขาดการแนะนำขั้นตอนต่าง ๆ แก่ประชาชนที่มาขอรับบริการ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโดยขาดความเสมอภาค ข้อเสนอแนะ พบว่า เจ้าหน้าที่ควรให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละเวลาในการให้บริการ มีความเป็นกัลยาณมิตร พูดจาทักทายด้วยน้ำเสียงที่จริงใจและให้บริการทุกคนอย่างเท่าเทียม ควรลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานให้น้อยลงเพื่อให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับประสิทธิผลการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ประชาชนไม่ทราบระเบียบและขั้นตอน จึงทำให้เตรียมเอกสารมาไม่ครบ การให้บริการยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่ห่างไกล ข้อเสนอแนะ พบว่า รับบุคลากรเพิ่ม อาจเป็นคนในพื้นที่ เพื่อให้คนเหล่านั้นได้รับผลประโยชน์และรู้สึกมีส่วนร่วมจริง ใช้ช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research paper were 1. to study the level of public service effectiveness of Pak Chong Sub-District Administrative Organization, Lom Sak District, Phetchabun Province, 2. To study relationship between Saṅgahavatthu-dhamma and public service effectiveness of Pak Chong Sub-District Administrative Organization, Lom Sak District, Phetchabun Province, 3. to study the problems, obstacles and Suggestions of Public Service Effectiveness according to Buddha-dhamma of Pak Chong Sub-District Administrative Organization, Lom Sak District, Phetchabun Province.

This research study was conducted be the mixed research methods. The quantitative research used survey methods by distributing questionnaires and the qualitative research by means of in-depth interviewing 9 key informants and analyzed data by descriptive interpretation, presented in an essay with a frequency distribution table of key informants. to support quantitative data. The sample group used in the research was people living at Pak Chong Sub-District, Lom Sak District, Phetchabun Province by the simple random sampling method. The sample size used Taro Yamane's formula, resulting in 382 samples. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation. and analyzed the relationship between Buddha-dhamma and the public services effectiveness providing of the Pak Chong Sub-District Administrative Organization, Lom Sak District, Phetchabun Province Analyzes were performed by finding the relationship between the variables to see if they were related or not using the method of finding the Pearson’s correlation coefficient.

               Findings were as follows:

1. Results of data analysis on the principles of Saṅgahavatthu-dhamma. of Pak Chong Sub-District Administrative Organization, Lom Sak District, Phetchabun Province, by overall, was at a high level ( = 3.67, S.D. = 0.470). Considering each aspect, that was, Dana, charity aspect, by overall, was at a high level ( = 3.65, S.D. = 0.485). Piyavaca, lovely speech aspect, by overall, was at a high level ( = 3.64, S.D. = 0.571). Atthacariya, beneficial treatment aspect, by overall, was at a high level ( = 3.71, S.D. = 0.642).  Samanattata, even and equal treatment aspect, by overall, was at a high level ( = 3.71, S.D. = 0.531). Regarding the public service effectiveness of Pak Chong Sub-District Administrative Organization, Lom Sak District, Phetchabun Province by overall, at a high level ( = 3.68, S.D. = 0.491). Considering each aspect; the production, by overall, was at a high level ( = 3.61, S.D. = 0.617). Efficiency, by overall, was at a high level ( = 3.76, S.D. = 0.509). Satisfaction, by overall, was at a high level (= 3.62, S.D. = 0.613). Adjustment, by overall, was at a high level ( = 3.71, S.D. = 0.588). Development, by overall, was at a high level ( = 3.72, S.D. = 0.502).

2. The results of the hypothesis testing were found that the principles of Saṅgahavatthu-dhamma were related to the public services effectiveness of Pak Chong Sub-District Administrative Organization, Lom Sak District, Phetchabun Province positively, with statistically significant value at 0.01 level, with a very high level of relationship (R = 0.904**), indicating that the more Dhamma principles were used, the more It resulted in greater efficiency in providing public services. Therefore, the set hypothesis was accepted.

3. Problems and obstacles regarding the principles of Saṅgahavatthu-dhamma were found to be limited in number of officials and insufficient equipment. Officials lacked guidance on various procedures for people who came to request services. Officials perform their duties without equality. Suggestions were found that officials should show generosity, sacrificing time to provide service, being friendly by greeting in a sincere tone and served everyone equally. Work steps should be reduced to make it more expeditious. Problems and obstacles regarding the public services effectiveness of the Pak Chong Sub-District Administrative Organization, Lom Sak District, Phetchabun Province were found that people did not know the regulations and procedures. As a result, the documents were not completely prepared. The service did not yet cover remote areas. Suggestions were found that hiring additional personnel. May be a local person so that those people would receive benefits and felt truly involved by using variety of public relations channels.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ