-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Buddhism Dissemination Model Based on Buddhist Psychology of Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto)
- ผู้วิจัยพระโสภณวชิรวาที (อาทิตย์ ชองดี)
- ที่ปรึกษา 1ศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 3ผศ. ดร.วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
- วันสำเร็จการศึกษา02/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50299
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 79
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดการเผยแผ่พุทธศาสนาและองค์ประกอบเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) 3) เพื่อศึกษาผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) 4) เพื่อเสนอรูปแบบการเผยแผ่พุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods research) ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และออกแบบการสังเกตวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และการวิจัยเชิงสืบย้อน (Ex post facto Research) ผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับฟังเทศนาธรรมจากพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) จำนวน 359 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ประกอบด้วยหลักการ 3 และวิธีการ 4 คือ
หลักการเตรียมความพร้อมของผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา 3 ประการ 1) คันถธุระ การศึกษา เรียนรู้หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎก ให้แตกฉาน 2) วิปัสสนาธุระ การฝึกปฏิบัติให้เห็นแจ้งในหลักธรรมที่ศึกษามา และ 3) สังคหธุระ การวางแผนช่วยเหลือเกื้อกูลมนุษย์และสังคม
วิธีการเผยแผ่ 4 คือ
1) พุทธจิตวิทยาการเผยแผ่ 4 ประการ (1) สันทัสสนา ชัดเจน แจ่มแจ้งในหลักธรรม (2) สมาทปนา จูงใจให้ศรัทธา (3) สมุตเตชนา แกล้วกล้าที่จะปฏิบัติตาม และ (4) สัมปหังสนา เกิดความร่าเริงเบิกบานใจ
2) การจัดการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน (1) อุเทศ (2) นิเทศ (3) ปฏินิเทศ
3) กระบวนการพัฒนาผู้ฟัง 3 ขั้น (1) ปริยัติ ได้ความรู้ (2) ปฏิบัติ ได้ฝึกปฏิบัติ (3)ปัญญา เกิดการประยุกต์ใช้
4) การเข้าถึงจุดมุ่งหมายการเผยแผ่ 3 ประการ (1) ส่งเสริมให้คนพัฒนากาย จิต อารมณ์ (2) ส่งเสริมให้คนเกื้อกูลต่อสังคม (3) ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
2 รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมของผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา 3 ประการ
ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติการเผยแผ่ โดยอาศัยหลักพระอภิธรรมที่เอื้อและสอดคล้องกับหลักจิตวิทยา และหลักการจัดการเรียนรู้ และ
ขั้นตอนที่ 3 การหวังผลด้านสังคหธุระ คือ ผลประโยชน์ต่อประชาชน ผลประโยชน์ต่อสังคม และผลประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
3. ผลการของเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) พบว่า ประชากรที่ติดตามรับฟังการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอน มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีการนำหลักคำสอนไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต และมีความเปลี่ยนแปลงในทุกด้านไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยในระดับที่สูงกว่า ก่อนการรับฟังการเทศนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. รูปแบบการเผยแผ่พุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นไปตามโมเดลรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร.(ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The dissertation consisted of the following objectives: 1) to investigate the concepts of Buddhism dissemination and the components of Buddhism dissemi- nation by Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto); 2) to explore a model of the dissemination of Buddhism based on Buddhist psychology by Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto); 3) to examine the consequences of Buddhism dissemination based on Buddhist psychology by Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto); and 4) to propose the dissemination of Buddhism based on Buddhist psychology by Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto). The study used a mixed-methods research that included qualitative and quantitative methods. Qualitative method was used as the first stage to collect data through content analysis of 30 publications by Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dham- macitto) dating from B.E. 2532 to 2564. Subsequently, the quantitative method was used to collect data by developing instruments to observe the techniques of disseminating Buddhism based on Buddhist psychology by Prof. Dr. Phra Brahma- pundit (Prayoon Dhammacitto). An ex-post facto research method was also used to explore the consequences of the spread of Buddhism dissemination based on the Buddhist psychology of Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto) with a sample group of 359 people who listened to the Dhamma talks of Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto).
From the study, the following results were found:
1. The concepts for disseminating Buddhism based on the Buddhist psychology of Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto), comprise three principles and four methods. The three principles for preparing those who disseminate Buddhism are: 1) Ganthadhura, referring to the burden of studying the scriptures or the Tipitaka; 2) Vipassanādhura, referring to the burden of insight development or practice in order to enlighten what one has studied; and 3) Saṅgahadhura, referring to the burden of service to help others and the society. The four methods for disseminating Buddhism include: 1) The Buddhist psychology for dissemination consists of four components including (1) Sandassanā, referring to elucidation and verification in the Dhamma, (2) Samādapanā, referring to inspiration for faith-building, (3) Samuttejanā, referring to filling with enthusiasm to practice, and (4) Sampahaṃsanā, referring to filling with delight and joy; 2) Learning management consists of three steps consisting of (1) Uddesa, referring to utterance, (2) Niddesa, referring to explanation, and (3) Paṭiniddēsa, referring to summary that leads to action; 3) The processes for developing audiences consist of three steps encompassing (1) Pariyatti, referring to gaining knowledge, (2) Paṭipatti, referring to getting to practice, and (3) Paṭivedha, referring to application and implementation; and 4) The goals of dissemination consist of three aspects comprising (1) encouraging people to develop their bodies, minds, and emotions, (2) promoting people to help one another in society, and (3) promoting sustainable environmental development.
2. A model for the dissemination of Buddhism by Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto) includes the following steps: 1) Step 1 refers to the preparation of those who disseminate Buddhism based on the aforementioned three principles; 2) Step 2 refers to the implementation of dissemination based on the Abhidhamma (the analytical doctrine of the Buddhist canon), conducive to and in accordance with psychology; and 3) Step 3 refers to expecting Saṅgahadhura results that are intended to benefit people and the environment.
3. The consequences of Buddhism dissemination based on Buddhist psychology by Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto) showed that the audiences who listened to the dissemination of Buddhism had more knowledge and understanding of the Buddha's teachings, have grown in their faith, have put these teachings into practice in their daily lives, and have changed in every aspect of their lives, with a post-test higher than a pre-test with statistical significance at 0.01.
4. A Buddhism dissemination model based on Buddhist psychology of Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto) is according to a Buddhism dissemi- nation model of Prof. Dr. Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto).
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|