โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษElderly Health Promotion of Tamakham Sub-District Municipality in Muang District, Kanchanaburi Province
  • ผู้วิจัยพระมหาสมคิด กมโล (มีสี)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อนุวัต กระสังข์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา19/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/503
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 250
  • จำนวนผู้เข้าชม 406

บทคัดย่อภาษาไทย

                 การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ  1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการเสริมสร้างสุขภาวะ
ของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของผู้สูงอายุกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบล
ท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

                  การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.982 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา 

                  ผลการวิจัยพบว่า

                  1. ผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีความต้องการในการเสริมสร้างสุขภาวะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.37, S.D. = 0.163) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านที่อยู่อาศัย ( = 3.63, S.D. = 0.404) ด้านความปลอดภัย ( = 3.71, S.D. = 0.391) และทางด้านร่างกาย ( = 2.96, S.D. = 0.302) ด้านการศึกษา ( = 3.37, S.D. = 0.324) ด้านนันทนาการ ( = 3.17, S.D. = 0.282) อยู่ในระดับปานกลาง และการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.31, S.D. = 0.246) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ( = 3.40, S.D. = 0.425) ด้านการออกกำลังกาย ( = 3.25, S.D. = 0.365) ด้านโภชนาการ ( = 3.32, S.D. = 0.402) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( = 3.32, S.D. = 0.423) ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ ( = 3.29, S.D. = 0.426) ด้านการจัดการความเครียด ( = 3.31, S.D. = 0.407) 

                  2. ความต้องการของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (R = .476**) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ความต้องการของผู้สูงอายุไม่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุอยู่ในระดับต่ำ คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (r = .109) ด้านการออกกำลังกาย (r = -.029) ด้านโภชนาการ (r = -.014) และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (r = -.034) ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ (r = -.043) ด้านการจัดการกับความเครียด (r = -.028) อยู่ในระดับสูง 

                  3. ปัญหา อุปสรรค การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คือ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยผู้สูงอายุไม่ไปพบแพทย์ในทันทีรอจนอาการรุนแรงมากจึงมาพบแพทย์ ทำให้การรักษาช่วยเหลือของแพทย์นั้นไม่ทันท่วงที การให้คำปรึกษาด้านสุขภาวะจึงไม่เกิดผล การออกกำลังกายขาดความรู้ในการเตรียมพร้อมของร่างกายเพื่อให้ออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย ขาดนักวิชาการในการให้ความรู้และตรวจสุขภาพก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย ขาดความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารและประโยชน์จากการดื่มน้ำที่สะอาด หรือผลไม้ที่เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย โดยแบ่งตามกลุ่มโรคประจำตัวผู้ป่วย ขาดการให้คำปรึกษาถึงแนวทางในการให้กำลังใจของคน ในครอบครัวหรือคนรอบข้างจากนักจิตวิทยา และข้อเสนอแนะการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คือ ให้ความรู้ถึงโทษของการใช้ยาชุดในการรักษา และจัดทีมเข้าตรวจสุขภาพลงสู่หมู่บ้านมากยิ่งขึ้น เช่น ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพเดือนละ ๔ วัน โดยการลงในวันหยุดเสาร์ หรืออาทิตย์ เพื่อจะได้พบปะอย่างทั่วถึง ในการออกกำลังกายควรให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมของร่างกาย เพื่อให้การออกกำลังกายเหมาะสมกับสภาพของร่ากาย เช่น ผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการปวดข้อเข่า ควรออกกำลังในลักษณะใดและควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังลักษณะใด ให้ความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร เช่น อาหารสำหรับ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแบบใด รวมถึงประโยชน์จากการดื่มน้ำที่สะอาดและผู้สูงอายุที่ป่วยโรคใดควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ โดยแบ่งกลุ่มโรคประจำตัวผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน ให้คำปรึกษาถึงแนวทางในการให้กำลังใจจากคนในครอบครัว เช่น การนำผู้สูงอายุไปทำบุญ การพูดคุยพบปะสนทนาในบ้าน หรือการพูดคุยพบปะกับเพื่อนบ้าน และหน่วยงานต่างๆ ร่วมจัดกิจกรรมลงในชุมชนให้มากขึ้น 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              The objectives of this research were: 1. to study the general state towards  elderly health promotion of Tamakham sub-district municipality in Muang district, Kanchanaburi, 2. to study the demand relationship of elderly health promotion of Tamakham sub-district municipality, 3. to study the problems, obstacles and suggestions on the elderly health promotion of Tamakham sub-district municipality.

               The research methodology was the mixed methods research by quantitative research with the sample group as the 296 elderly persons in Tamakham sub-district municipality. The tool for data collection was the questionnaires that had the reliability test at 0.982. The statistics for data analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation,  with one-way analysis of variance, t-test and F-test, tested the Pearson’s correlations coefficient and qualitative research was in depth interview from 12 key informants. The data analysis was by the descriptive content analysis.

               The findings of research were as follows: 

            1.  The elderly health promotion of Tamakham sub-district municipality had the demand in health  promotion in overall was at the middle level ( = 3.37, S.D. = 0.163) and when considered in each aspect, it found that it was at a high level in all aspects as following, 1) Housing aspect   ( = 3.63, S.D. = 0.404), 2) Safety aspect  ( = 3.71, S.D. = 0.391), but, 3) Physical aspect   ( = 2.96, S.D. = 0.302), 4) Educational aspect ( = 3.37, S.D. = 0.324), 5) Recreation aspect ( = 3.17, S.D. = 0.282) were at the middle levels and elderly health promotion of Tamakham sub-district municipality in overall was at the middle level ( = 3.31, S.D. = 0.246), when considered in each aspect, it  found that it was at the middle level as following,  the Health responsibility aspect ( = 3.40, S.D. = 0.425), Exercising aspect ( = 3.25, S.D. = 0.365), Nutrition aspect ( = 3.32, S.D. = 0.402), Interpersonal relationship aspect ( = 3.32,S.D. = 0.423), Spiritual development aspect ( = 3.29, S.D. = 0.426), Stress management aspect ( = 3.31, S.D. = 0.407).

            2. The  demand of elderly has the positive relationship with elderly health promotion in overall was at the middle level (R = .476**), when considered in each aspect, it found that demand of elderly health promotion was low level as following the Health responsibility aspect (r = .109), Exercising aspect (r = -.029), Nutrition aspect (r = -.014), Interpersonal relationship aspect (r = -.034), Spiritual development aspect (r = -.043) , Stress management aspect (r = -.028) were high levels.                                                                                                                                                                      3. Problems and obstacles to elderly health promotion of Tamakham sub-district municipality province are when the elderly have the fever, they do not go to see the doctor immediately. They will wait until they are very serious condition to meet the doctor that the doctors can not help them in the proper time and advising will be effect. The exercise, lack of knowledge for readiness of physics to exercise safely, lack of academicians to give the knowledge and examine the health before exercising activity, lack of knowledge of safety eating and pure water or fruits for the health benefit by classifying the disease group of patients, lack of advise about the suggestion for giving the support to elderly from family, neighbors and psychologists.

                The suggestions to elderly health promotion, should give the knowledge about the disadvantage of medicine and to set up the team of health check in the village such as to have monthly health check for four times especially on Saturday and Sunday for contacting properly. To exercise, should give the knowledge for physical preparation for proper exercise with physical state such as joint pain of elderly that should exercise properly and avoid from the dangerous exercise, should give the knowledge for nutrition such as set food that the heart attack patients should avoid some food including advantage of pure water and some disease of elderly that should avoid drinking much water by classifying the disease group of patients to have the knowledge on the same direction and to give the advise about the guideline for incentive or support from the members of family such as to take the elderly to go for making merit, dialogue with family members or talking with the neighbours and government agencies should set up more activities in the community.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 13.99 MiB 250 4 มิ.ย. 2564 เวลา 23:39 น. ดาวน์โหลด