-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Learning Management Based on Tisikkhā in the Learning Strand of Social Studies, Religion, and Culture at Wat Sai Yai School, Nonthaburi Province
- ผู้วิจัยนางผกามาศ จันทร์แก้ว
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สายน้ำผึ้ง รัตนงาม
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อุบล วุฒิพรโสภณ
- วันสำเร็จการศึกษา05/10/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50313
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 102
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ในการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ในการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ในการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับประชากรกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูโรงเรียนวัดไทรใหญ่ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา นำประเด็นการสัมภาษณ์วิเคราะห์เนื้อหาเชิงประจักษ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ในการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน เพราะการสอนตามหลักไตรสิกขาเป็นกระบวนการปฏิบัติฝึกหัดตนเองเป็นขั้นตอน สืบเนื่องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก ส่งผลให้ผู้เรียนมีสมาธิ มีความเข้าใจเนื้อหาสาระที่เรียน และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระอื่น ๆ ได้ด้วย
2. การพัฒนาการจัดการเรียนด้วยการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนตามหลักไตรสิกขา ในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นการสอนตามวิธีสอนแบบไตรสิกขา เป็นการสอนที่เน้นศีล สมาธิ ปัญญา โดยเริ่มขั้นต้น คือ ศีลสิกขา คือ การประพฤติปฏิบัติตน สำรวมกายวาจา ให้เกิดความมีระเบียบวินัย ในขั้นสมาธิสิกขา เป็นการฝึกให้มีสติ จิตมีความตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน มีระเบียบการคิด ซึ่งจะช่วยให้เกิดความตั้งใจเรียน โดยในขั้นนี้ผู้วิจัยฝึกสมาธิให้นักเรียน ก่อนการเรียนการสอน และในขั้นปัญญา เป็นขั้นพิจารณาสภาพปัญหานั้นจนเกิดความรู้ความเข้าใจ อีกทั้งกระบวนการของไตรสิกขานี้ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องเป็นเหตุเป็นผลกันตลอดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า เมื่อเจริญศีลภาวนาแล้ว สมาธิจะมีผลมากมีอานิสงส์มาก เมื่อเจริญภาวนาแล้วปัญญาจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เมื่อเจริญปัญญาภาวนาแล้วจิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ
3. เสนอแนวทางการยกระดับความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ในโรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มีการบูรณาการกับชีวิตประจำวันของนักเรียน และการเรียนรู้ในกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมในภาพรวมดีมากขึ้น
การศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขา ใช้การบูรณาการกับชีวิตประจำวันของนักเรียนได้ การจัดการเรียนการสอนควรจัดให้เหมาะสมกับวัย ไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to investigate the learning management Based on Tisikkhā in the Learning Strand of Social Studies, Religion, and Culture at Wat Sai Yai School, Nonthaburi Province. 2) to develop learning management Based on Tisikkhā in the Learning Strand of Social Studies, Religion, and Culture at Wat Sai Yai School, Nonthaburi Province. 3) to present the learning management Based on Tisikkhā in the Learning Strand of Social Studies, Religion, and Culture at Wat Sai Yai School, Nonthaburi Province. The study applied qualitative research method with data being collected via in-depth interview and focus group discussion. A three-question interview was done with a target group of 9 teachers from Wat Sai Yai School. The obtained data were analyzed by percentage, mean, and standard deviation.
The research findings revealed that:
1) The learning management based on Tisikkhā in the learning strand of social studies, religion, and culture at Wat Sai Yai School, Nonthaburi Province is important for teaching and learning management as Tisikkhā-based learning is a self-practice process that progresses from simple to difficult tasks. As a consequence, students are more concentrated, grasp the learning content, and can practice effectively. Students can also use it to other learning contents.
2) Learning management through the development of learning management based on Tisikkhā in the learning strand of social studies, religion, and culture at Wat Sai Yai School, Nonthaburi Province emphasizes Sīla (morality), Samadhi (concentration), and Paññā (wisdom), starting from: Sīla-sikkhā (training in morality) is to restrain oneself both physically and verbally in order to maintain discipline; Samadhi-sikkhā (training in concentration) is to train for a mind that is concentrated and one-pointed without distraction in order to be attentive when studying. Students are taught to be mindful before starting the lesson; Paññā-sikkhā (training in wisdom) is the contemplation of the problem's conditions until one obtains understanding. Tisikkhā, or threefold training, is a continuous process of causation that is consistent with the Buddha's statement that if a person cultivates morality, it would result in concentration with many advantages, leading to great wisdom and many blessings. Once wisdom has been attained, the mind will be free of mental intoxication or defilement.
3) The guidelines for enhancing knowledge and ability for managing learning based on Tisikkhā at Wat Sai Yai School, Nonthaburi Province have been incorporated into students' everyday lives, and overall achievement in the learning strand of social studies, religion, and culture has improved.
The development of the learning management based on Tisikkhā in the learning strand of social studies, religion, and culture at Wat Sai Yai School, Nonthaburi Province allows students to integrate in their daily lives. The teaching and learning management should be age-appropriate in order to avoid boredom and to foster positive attitudes of students toward the teaching and learning in the learning strand of social studies, religion, and culture.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|