โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตงานศิลปะรุ่นใหม่เพื่อสร้างอาชีพผู้ประกอบการด้านงานศิลปะในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กรณีศึกษางานปั้นและออกแบบเรซิ่น
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Potential Development of A New Generation of Art Producers to Create a Career in Art Entrepreneurs in Mueang District Lampang Province Case Study of Resin Sculpture and Design
  • ผู้วิจัยนางสาวณัฐวรรณกร แก้วด้วง
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาประกาศิต สิริเมโธ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.สัญญา สดประเสริฐ
  • วันสำเร็จการศึกษา05/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50314
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 81

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณค่าและอัตลักษณ์ในผลงานศิลปะของผู้ผลิตงานศิลปะรุ่นใหม่ใน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กรณีศึกษางานปั้นและออกแบบเรซิ่น 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตงานศิลปะรุ่นใหม่ในการเป็นผู้ประกอบการด้านงานศิลปะใน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กรณีคึกษางานปั้นและออกแบบเรซิ่น 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตงานศิลปะรุ่นใหม่ในการเป็นผู้ประกอบการด้านงานศิลปะใน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กรณีศึกษางานปั้นและออกแบบเรซิ่น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการสนทนากลุ่มเฉพาะ ที่ได้คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 13 คน ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และอรรถาธิบายเชิงพรรณาความ

                       ผลการวิจัยพบว่า

                    1. คุณค่าและอัตลักษณ์ในผลงานศิลปะของผู้ผลิตงานศิลปะรุ่นใหม่มีความสอดคล้องกับประสบการ์การเรียนรู้ การอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเยาว์ สถานภาพการเอาใจใส่จากครอบครัว บริบททางสังคม ความสามารถพิเศษเฉพาะตนและการได้รับการสนับสนุนจากผู้แวดล้อมตั้งแต่เด็กถึงปัจจุบันจะสื่อออกมาทางผลงานที่นำเสนอมีความเป็นอัตลักษณ์พาะตนในตัวชิ้นงาน การสื่ออารมณ์ และการให้ความหมายของผลงานแตกต่างกัน

              2. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตงานศิลปะรุ่นใหม่ในการเป็นผู้ประกอบการด้านงานศิลปะผ่านการออกแบบกิจกรรมการอบรมองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการยกระดับจากผู้ผลิตงานขึ้นเป็นผู้ประกอบการพบว่ากรณีศึกษาทั้ง 2 กรณีมีความจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถให้เข้าถึงแหล่งข้อมูล ความร่วมมือที่จำเป็นในการยกระดับการขึ้นเป็นผู้ประกอบการ

           3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตงานศิลปะรุ่นใหม่ในการเป็นผู้ประกอบการด้านงานศิลปะกรณีศึกษางานปั้นและออกแบบเรซิ่น สำหรับกระบวนการพัฒนาเป็นการรวมกลุ่มและพลักดันให้เกิดการจัดตั้งสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ตรงกันเพื่อแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นการประสานความร่วมมือจากองค์กรที่มีศักยภาพในแต่ละด้านนำมาบูรณาการณ์ร่วมกันเป็นการใช้ทรัพยาการของแต่ละองค์กรที่มีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านนำมาประสานประโยนช์ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้นั้นในรูปแบบใหม่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการเป็นผู้ประกอบการด้านงานศิลปะต่อไป

                องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้สามาถรนำแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตงานศิลปะรุ่นใหม่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในโดยนำเอาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างอาชีพผู้ประกอบเป็นเครื่องมือในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ผลิตและสร้างงานด้านศิลปะขึ้นเป็นผู้ประกอบการและสามารถนำความรู้ที่ด้านคุณค่าและอัตลักษณ์ในผลงานด้านศิลปะไปใช้ในเชิงวัฒนธรรมศานา การเรียนรู้บริบททางสังคม และการนำเอาอัตลักษณ์พื้นถิ่นมาสร้างสรรค์ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติไว้ได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  The purposes of this research were 1) to study the value and identity in art works of new generation art makers in Mueang District, Lampang Province, a case study of resin sculpture 2) to develop the potential of a new generation of art makers in being an art entrepreneur in Muang District, Lampang Province in the case of a study of resin sculpture and design 3) to propose a process for developing the potential of a new generation of art producers in being an art entrepreneur in in Muang District, Lampang Province in the case of a study of resin sculpture and design. A case study of resin molding and design, is a participatory action research. The researchers collected data by a qualitative process with in-depth interviews with 3 groups of key informants who were selected specifically: 1) new generation of art makers 2) art and design professionals 3) a group of art and design enthusiasts, 10 people and collect data from the target group that has been selected specifically to participate in training activities to develop the potential of new generation art makers to create a career in art entrepreneurs, 2 people using content analysis explanation and description. 

                  The results of the research were sa follows :

              1. The value and identity in the works of art of the new generation of art producers are consistent with the learning experience. Parenting from an early age family caring status social context Individual talents and the support from those around him from childhood to the present will be reflected in the works presented that are unique in the works. communication and the meaning of the works are different.

               2. The model for developing the potential of a new generation of art producers to become art entrepreneurs through the design of training activities that are necessary to raise the level from art producers to entrepreneurs. study both 2. In cases where it is necessary to have tools that can provide access to data sources Partnerships needed to raise the bar on entrepreneurship.

               3. Proposal to develop the potential of a new generation of art producers to become art entrepreneurs. The researcher proposed this process by combining groups and pushing for the establishment of an association with the same objectives to seek cooperation from all sectors involved. Integration is the use of the resources of each organization with experts in each field to bring them together for the benefit and application of that knowledge in new ways. for sustainable development in the field of art entrepreneurship.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ