โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนากระบวนการสร้างความสุขในครอบครัวตามหลักพุทธสันติวิธี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of the Process of Promoting Happiness in the Family Through the Principles of Buddhist Peaceful Means
  • ผู้วิจัยนายอุดมวิชณ์ ทองเจือ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อุทัย สติมั่น
  • วันสำเร็จการศึกษา28/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50315
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 110

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์ เรื่องการพัฒนากระบวนการสร้างความสุขในครอบครัวด้วยหลักพุทธสันติวิธี        มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบท สภาพทั่วไป ของครอบครัวในชุมชนแขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานครและหลักการ แนวคิดทฤษฎี วิธีการร่วมสมัยที่สร้างความสุขในครอบครัว 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธี ที่เอื้อต่อการพัฒนาการสร้างความสุขในครอบครัว ชุมชนแขวงลำผักชี 3) เพื่อพัฒนาและทดสอบกระบวนสร้างความสุขในครอบครัวตามหลักพุทธสันติวิธีสำหรับชุมชนแขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมวิธี โดยเริ่มต้นจากการลงพื้นที่สังเกต สนทนาแบบมีส่วนร่วมกับครอบครัวในชุมชนเพื่อศึกษาบริบทและสภาพทั่วไปของชุมชนการวิจัยเอกสาร ตำรา วารสาร บทความ พระไตรปิฎก งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนากระบวนการสร้างความสุขในครอบครัวตามหลักพุทธสันติวิธี และการสร้างโปรแกรมอบรมฝึกการใช้กระบวนการสร้างความสุขในครอบครัว ใช้การสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโปรแกรม และทำการอบรมสมาชิกในครอบครัวตามโปรแกรมที่สร้างขึ้นให้สามารถปฏิบัติตามกระบวนการได้ จากนั้นทำการทดสอบกระบวนการสร้างความสุขในครอบครัวตามหลักพุทธสันติวิธี และสร้างรูปแบบกระบวนการสร้างความสุขในครอบครัวตามหลักพุทธสันติวิธี ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

1. สภาพปัญหาครอบครัวของชุมชนแขวงลำผักชี คล้ายคลึงกับชุมชนอื่น ๆในกรุงเทพมหานคร คือ สภาพครอบครัว ขาดความอบอุ่นเพราะสมาชิกในครอบครัวใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวจนไม่มีเวลาให้แก่กัน เท่าที่ควร ทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินจากกันและกัน บุตรหลานหันไปคบสมาคมกับเพื่อนนอกบ้านแทน บทบาทหน้าที่ที่มีต่อครอบครัวลดความสำคัญลง จนกลายเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อกิจการในบ้านเรือนตนเอง

2. หลักพุทธธรรมที่พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย การพัฒนาคุณลักษณะเบญจธรรมด้วยการสังวรระวังใน ศีล 5 การพัฒนาสติสัมปชัญญะที่มั่นคงด้วยการสวดมนต์ปฏิบัติสมาธิภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ส่งเสริมให้เกิดความมีเมตตา ความคิดสร้างสรรค์ สังควัตถุ 4 และการพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตร

3. กระบวนการสร้างความสุขในครอบครัวตามหลักพุทธสันติวิธี มี 4 ขั้นตอนประกอบด้วย

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างข้อตกลงร่วมกัน ให้เป็นกฏ ระเบียบปฏิบัติของครอบครัว นำมาบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ให้รับทราบร่วมกัน และใช้ปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบตามบทบาทของสมาชิกแต่ละคนอย่างเคร่งครัด บนพื้นฐานของหลักธรรมตาม ทิศ 6 เป็นเบื้องต้น

ขั้นตอนที่ 3 การทำกิจกรรมต่าง ๆร่วมกัน ที่เสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง สานสัมพันธ์ให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน โดยเฉพาะการปฏิบัติกิจกรรมวิถีพุทธร่วมกันเช่น การสมาทานศีล 5 การสวดมนต์เช้า เย็น การปฏิบัติสมาธิ

ขั้นตอนที่ 4 การปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจการในครอบครัว ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจมีขึ้นในครอบครัว หรือมีเกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation on the development of the process of promoting happiness in the family through the principles of Buddhist peaceful means has three objectives namely 1.) to study the general and social aspects of Thai families in Lam Phak Chi Sub-District Community, Nong Chok District, Bangkok and modernised theory in creating happiness within a family  2.) to search for Buddhist peace principles that are beneficial to promoting happiness within Lam Phak Chi Sub-District Community 3.) to develop and test the process in accordance with the Buddhist peace principles for Lam Phak Chi Sub-District Community, Nong Chok District, Bangkok. This dissertation uses combined qualitative methods by examining the area, interviewing local people and their families, extracting crucial information from various documents including past research, dissertations, books and Buddhist bibles. In the end, an informative program on the topic will be arranged, examined and defended. The result can be summarised as follows;

1) The main problem Lam Phak Chi Sub-District Community faces is similar to what other communities face - that is the limited amount of time a member employs in a day. A member does not have enough time for his or her family as they have to focus on earning a living. Furthermore, children socialise with their peers and give their priority to their friends more than their family. In the end, this problem could create disturbance within a family and result in a family row.

2) The Buddhist principles of peaceful means that is developed desirable characteristics of family members consist of Developing Benjadhamma characteristics through vigilance in the Five Precepts, developing stable consciousness through praying and meditation according to the Buddhist principles of Satipatthana. In the end, these principles foster compassion, creativity, Sangkhavatthu 4 and friendship.

3) The process of promoting happiness within a family consists of four steps as follows;

Step 1: to form an agreement as a family rule and write it on paper so that all members are informed.

Step 2: to strictly perform duties and responsibilities according to the roles and rules that each member is assigned to based on the principles of Direction Six as a preliminary.

Step 3: to engage in various activities that promote unity in order to create a harmonious relationship especially the practice of Buddhist activities such as a meditation on the 5 precepts.

Step 4: to discuss family affairs, problems and obstacles that may arise in the family or has happened to a family member with vicinity and truthfulness.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ